สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)กับการดนตรีไทย
Item
ชื่อเรื่อง
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)กับการดนตรีไทย
ประเภท
บทความ
ผู้แต่ง
ถาวร สิกขโกศล
สุดารัตน์ ชาญเลขา
วันที่
2565-06-08
รายละเอียด
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นบุตรชายคนโตของ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค ดังนั้นหลังจากที่บิดา สิ้นชีวิตไปแล้ว สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์จึง เป็นผู้นำของครอบครัวมีข้าทาสบริวารมากมายรวมทั้งนักดนตรีและนักร้องที่เก่งกาจสามารถเสมือนรวมดาวทางการดนตรีไทยมาไว้ที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยาฯท่านนี้
เริ่มจากครูทัด คนปี่พาทย์ที่เก่งที่สุดในต้นรัตนโกสินทร์เป็นผู้ประพันธ์เพลง บุหลัน สุรินทราหู โครงสร้างเพลงของครูทัดเป็นกลบท เพราะครูทัดเป็นลูกกวี เพลงของครูทัดจึงเป็นเพลงที่ยอดเยี่ยม ครูดนตรี ที่เก่งมากอีกท่านหนึ่งคือครูมี แขกหรือพระประดิษฐ์ไพเราะ ผมได้ทราบข้อมูลมาจากลูกหลานของท่านว่าจริง ๆ แล้วตระกูลครูมีแขกคือ ปี่พาทย์หลวงของเจ้าคุณ แต่เมื่อมีการเปลี่ยนราชวงศ์ ครูมีแขกก็อยู่อย่างสงบเสงี่ยม จนกระทั่งได้ขึ้นทูลเกล้าฯ เพลงเชิดจีนสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวและยังมีเพลงอื่นๆอีกมากมาย จนกระทั่ง สิ้นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ครูมีแขกก็ได้มาอยู่กับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์และได้ ประพันธ์เพลงพระอาทิตย์ชิงดวง ซึ่งเป็นเพลงลา ไว้ให้กับวงสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์และในบรรดาเพลงลาทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นเพลงอกทะเล หรือเพลงลาอื่นๆ เพลงพระอาทิตย์ชิงดวงถือเป็นเพลงยอด ฮิตเหนือกว่าเพลงลาทั้งปวง และจะมีทางร้องของแต่ละบ้านไม่เหมือนกัน แสดงว่าเพลงนี้ได้รับความนิยมมาก จึงมีการแต่งทางร้องของใครของมัน ผมได้มีโอกาสไปดูหนังสือที่กรมไปรษณีย์ว่าใครอยู่ ที่ไหนบ้าง ก็ได้พบว่ามีชื่อวงปี่พาทย์สมเด็จเจ้าพระยาฯ แต่ที่น่าขนลูกคือ นายร้อย วงปีพาทย์บ้านอยู่ช่างพลอย ครูช้อยเดิมอยู่ถนนช่างพลอย วัดบุปผาราม ครูช้อยอยู่กับตระกูลบุนนาค ครูแช่มก็คือชุนอินทร์ในภาพยนตร์เรื่องโหมโรง เป็นคนเก่งมาก แต่ไม่ได้ร้ายอย่างในเรื่องโหมโรง ท่านเก่งมากจนเจ้าพระยาเทเวศร์นำตัวไป ให้ออกจากไพร่สมมาเป็นไพร่หลวงเป็นคนของพระเจ้าอยู่หัว แต่ครูช้อยก็ยังคงเป็นไพร่สม ขึ้นอยู่กับตระกูลบุนนาคตลอดมา เพราะฉะนั้นสำนักดนตรีใหญ่ 6 สำนักคือ สำนักประดิษฐ์ไพเราะกับสำนักเสนาะดุริยางค์ ล้วนมาจากบ้านสมเด็จเจ้าพระยาฯ ทั้งหมด งแต่เดิมทางเพลงของพระประดิษฐ์ไพเราะจะมีลีลาเป็นแบบบ้านนอก เพราะฉะนั้น เวลาที่จะต้องขึ้นประชันก็จะให้พระยาประสานดุริยศัพท์ซึ่งเป็นศิษย์เอกของครูช้อย เป็นคนปรับ ครูมีแขกหรือพระประดิษฐ์ไพเราะผู้นี้คือพระอภัยมณีตัวจริงของสุนทรภู่ ครูมีแขกหรือพระประดิษฐ์ไพเราะผู้นี้ ได้ทำให้ปีของพระอภัยมณีหมดความนิยม ไปเลย เพราะในยุคนั้นพระอภัยมณีจะเปาปี่นอก แต่ครูมีแขกเริ่มใช้ปี่ในดังนั้นเมื่อ ปี่นอกของพระอภัยมณีมาเจอปีในของครูมีแขกจึงทำให้หมดความนิยมไปเลย
เริ่มจากครูทัด คนปี่พาทย์ที่เก่งที่สุดในต้นรัตนโกสินทร์เป็นผู้ประพันธ์เพลง บุหลัน สุรินทราหู โครงสร้างเพลงของครูทัดเป็นกลบท เพราะครูทัดเป็นลูกกวี เพลงของครูทัดจึงเป็นเพลงที่ยอดเยี่ยม ครูดนตรี ที่เก่งมากอีกท่านหนึ่งคือครูมี แขกหรือพระประดิษฐ์ไพเราะ ผมได้ทราบข้อมูลมาจากลูกหลานของท่านว่าจริง ๆ แล้วตระกูลครูมีแขกคือ ปี่พาทย์หลวงของเจ้าคุณ แต่เมื่อมีการเปลี่ยนราชวงศ์ ครูมีแขกก็อยู่อย่างสงบเสงี่ยม จนกระทั่งได้ขึ้นทูลเกล้าฯ เพลงเชิดจีนสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวและยังมีเพลงอื่นๆอีกมากมาย จนกระทั่ง สิ้นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ครูมีแขกก็ได้มาอยู่กับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์และได้ ประพันธ์เพลงพระอาทิตย์ชิงดวง ซึ่งเป็นเพลงลา ไว้ให้กับวงสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์และในบรรดาเพลงลาทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นเพลงอกทะเล หรือเพลงลาอื่นๆ เพลงพระอาทิตย์ชิงดวงถือเป็นเพลงยอด ฮิตเหนือกว่าเพลงลาทั้งปวง และจะมีทางร้องของแต่ละบ้านไม่เหมือนกัน แสดงว่าเพลงนี้ได้รับความนิยมมาก จึงมีการแต่งทางร้องของใครของมัน ผมได้มีโอกาสไปดูหนังสือที่กรมไปรษณีย์ว่าใครอยู่ ที่ไหนบ้าง ก็ได้พบว่ามีชื่อวงปี่พาทย์สมเด็จเจ้าพระยาฯ แต่ที่น่าขนลูกคือ นายร้อย วงปีพาทย์บ้านอยู่ช่างพลอย ครูช้อยเดิมอยู่ถนนช่างพลอย วัดบุปผาราม ครูช้อยอยู่กับตระกูลบุนนาค ครูแช่มก็คือชุนอินทร์ในภาพยนตร์เรื่องโหมโรง เป็นคนเก่งมาก แต่ไม่ได้ร้ายอย่างในเรื่องโหมโรง ท่านเก่งมากจนเจ้าพระยาเทเวศร์นำตัวไป ให้ออกจากไพร่สมมาเป็นไพร่หลวงเป็นคนของพระเจ้าอยู่หัว แต่ครูช้อยก็ยังคงเป็นไพร่สม ขึ้นอยู่กับตระกูลบุนนาคตลอดมา เพราะฉะนั้นสำนักดนตรีใหญ่ 6 สำนักคือ สำนักประดิษฐ์ไพเราะกับสำนักเสนาะดุริยางค์ ล้วนมาจากบ้านสมเด็จเจ้าพระยาฯ ทั้งหมด งแต่เดิมทางเพลงของพระประดิษฐ์ไพเราะจะมีลีลาเป็นแบบบ้านนอก เพราะฉะนั้น เวลาที่จะต้องขึ้นประชันก็จะให้พระยาประสานดุริยศัพท์ซึ่งเป็นศิษย์เอกของครูช้อย เป็นคนปรับ ครูมีแขกหรือพระประดิษฐ์ไพเราะผู้นี้คือพระอภัยมณีตัวจริงของสุนทรภู่ ครูมีแขกหรือพระประดิษฐ์ไพเราะผู้นี้ ได้ทำให้ปีของพระอภัยมณีหมดความนิยม ไปเลย เพราะในยุคนั้นพระอภัยมณีจะเปาปี่นอก แต่ครูมีแขกเริ่มใช้ปี่ในดังนั้นเมื่อ ปี่นอกของพระอภัยมณีมาเจอปีในของครูมีแขกจึงทำให้หมดความนิยมไปเลย
รูปแบบ
application/pdf
ภาษา
tha
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
หัวเรื่อง
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
ดนตรีไทย
บุคคลสำคัญ
คอลเลกชั่น
ถาวร สิกขโกศล and สุดารัตน์ ชาญเลขา, “สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)กับการดนตรีไทย”, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, 2565-06-08, คลังข้อมูลประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, accessed November 27, 2024, http://202.29.54.157/s/information/item/2313