เขต(พี่)ธนบุรี เขต(น้อง)คลองสาน
Item
ชื่อเรื่อง
เขต(พี่)ธนบุรี เขต(น้อง)คลองสาน
ประเภท
บทความ
ผู้แต่ง
บัณฑิต จุลาสัย
รัชดา โชติพานิช
วันที่
2565-06-09
รายละเอียด
เป็นเรื่องแปลกที่ในกรุงเทพฯ ไม่มีนามเขตกรุงเทพ มีแต่เขตพระนคร ซึ่งเป็นที่ตั้งของพระบรมมหาราชวัง พระราชวัง และพระอารามหลวงต่างๆ ในขณะที่กรุงธนบุรีมีนามเขตธนบุรี แต่ก็ไม่ได้เป็นที่ตั้งของพระราชวังเดิม ที่ปัจจุบันอยู่ในเขตบางกอกใหญ่ เขตธนบุรีตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเขตบางกอกใหญ่ และอยู่ติดกับเขตคลองสาน ที่อยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาเหมือนกัน และมีประวัติความเป็นมาเกี่ยวเนื่องกัน ด้วยพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยานั้น นอกจากพระราชวังเดิม ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จะมีชุมชนโบราณอยู่บ้าง เช่น บ้านกุฎีจีน ที่มีมาตั้งแต่ครั้งที่บางกอกเป็นเพียงเมืองท่าหน้าด่านของกรุงศรีอยุธยา ที่สำคัญ เป็นถิ่นที่พำนักของข้าราชการสกุลบุนนาค ที่ยิ่งใหญ่และมีอิทธิพลอย่างมาก ในช่วงเวลาแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ การเดินทางมายังพระบรมมหาราชวัง ต้องใช้ทางเรือข้ามแม่น้ำ จึงมีคำกล่าวว่า หากเป็นคนสกุลบุนนาคแล้ว จะเป็นคนก๊กฟากขะโน้น หรือฟากข้างโน้น ด้วยสกุลบุนนาคนั้น ถ้าสืบเชื้อสายจะย้อนกลับไปได้ถึงสมัยอยุธยา ตั้งแต่เจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด) สมุหนายกชาวเปอร์เซีย ในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม และสืบเนื่องเรื่อยมาหลายชั้นจนถึงนายบุนนาค ที่เข้ารับราชการใน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ และเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย จนได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ให้สมรสกับคุณหญิงนวล น้องสาวของสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ พระอัครมเหสี จนได้รับตำแหน่งสุดท้ายคือ เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา
เดิมทีเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา พำนักอยู่ข้างกำแพงพระบรมมหาราชวังทางทิศใต้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯให้ขยายเขตพระบรมมหาราชวัง พ.ศ.2361 จึงต้องโยกย้ายข้ามแม่น้ำมาพำนักทางทิศใต้ของพระราชวังเดิม เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา มีบุตรชาย คือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ) ผู้พี่ ที่คนขานนามท่านว่า สมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต) ผู้น้องว่า สมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ เป็นอัครมหาเสนาบดีกลาโหม และเสนาบดีคลัง ในสมัยรัชกาลที่ 4 พำนักอยู่ในสวนริมแม่น้ำเจ้าพระยา ใกล้บ้านกุฎีจีน เมื่อครั้งดำรตำแหน่ง พระยาสุริยวงศ์โกษา ได้อุทิศที่ดินริมคลองสาน สร้างวัดถวายเป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามว่า วัดประยูรวงศาวาส ส่วนสมเด็จพระเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ เป็นเสนาบดีกรมพระคลังสินค้า ในสมัยรัชกาลที่ 4 พำนักอยู่ทางวัดอนงคาราม เมื่อครั้งที่ดำรงตำแหน่ง พระยาศรีพิพัฒน์ราชโกษา เจ้ากรมพระคลังสินค้าในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดร้าง น้อมเกล้าฯ ถวาย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้รับพระราชทานนามว่า วัดพระยาญาติการาม ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้เปลี่ยนเป็น วัดพิชยญาติการาม (คนทั่วไปเรียกวัดพิชัยญาติ) ด้วยสมเด็จพระเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ มีหน้าที่ดูแลการค้ากับจีน สถาปัตยกรรมวัดนี้ จึงมีรูปแบบไทยผสมจีน ซึ่งเป็นแบบพระราชนิยม และตกแต่ง ด้วยอับเฉาเรือ กระเบื้อง และหิน จากประเทศจีน นอกจากสมเด็จเจ้าพระยาพี่น้องนี้แล้ว บุตรชายของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ คือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง) ยังได้เป็นเสนาบดีกลาโหม และผู้สำเร็จราชการ ในช่วงต้นรัชกาลที่ 5 และเจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ) ผู้ว่าราชการกรมท่า ในรัชกาลที่ 4 และสำเร็จราชการต่างประเทศ ในรัชกาลที่ 5 และยังมีลูกหลานอีกมากมาย ที่สนองราชการเป็นขุนนางชั้นสูงในอดีต และข้าราชการระดับสูง ในปัจจุบัน จึงเป็นที่มาของนาม คลอง ถนน แขวง และสถานที่ต่างๆ อีกมากมาย ในเขตธนบุรี และคลองสาน อย่างเช่น ในปี พ.ศ.2432 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้ตั้งโรงพยาบาลคนเสียจริต โรงพยาบาลจิตเวชแห่งแรกของประเทศไทย ตรงบริเวณใกล้ปากคลองสาน เมื่อการรักษาผู้ป่วยได้ผลดี เจริญก้าวหน้า ทำให้ที่ตั้งเดิมคับแคบ จึงได้ย้ายมายังพื้นที่ใหม่ ไม่ไกลจากที่เดิมมากนัก ด้วยเป็นที่ดินและบ้านเดิมของ เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร) หรือเจ้าคุณทหาร ซึ่งมีพื้นที่กว้างขวาง สามารถสร้างสภาพแวดล้อมของโรงพยาบาลให้ร่มรื่น เหมาะแก่การรักษาผู้ป่วยตามแบบตะวันตก รวมทั้งมีการมุงหลังคาอาคารต่างๆ ด้วยวัสดุสมัยใหม่ในตอนนั้น คือ แผ่นสังกะสีที่ทาสีแดง จนเกิดคำว่าหลังคาแดง ที่หมายถึงโรงพยาบาลคนเสียจริต ปากคลองสานนั่นเอง เช่นเดียวกัน ในปี 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ให้ตั้งโรงเรียนกินนอน แบบ Public school ของอังกฤษ เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) เสนาบดีกระทรวงธรรมการ ได้เสนอให้ใช้จวนของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง) ที่ว่างอยู่ หลังการถึงแก่พิราลัย ในปี พ.ศ.2425 ซึ่งมีพื้นที่มากพอสร้างโรงเรียนได้ โรงเรียนราชวิทยาลัย เปิดทำการครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2439 เป็นที่รู้จักของชาวบ้านในนาม โรงเรียนฟากขะโน้น หรือโรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ต่อมาเมื่อโรงเรียนราชวิทยาลัย ย้ายไปอยู่ที่คลองไผ่สิงโต ปทุมวัน กระทรวงธรรมการมีนโยบายเพิ่มการผลิตครู เพื่อออกไปสอนตามหัวเมือง จึงขอใช้อาคารและบริเวณเป็นโรงเรียนฝึกหัดครู เรียกว่า โรงเรียนฝึกหัดครูฝั่งตะวันตก เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2446 เมื่อมีการย้ายโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์เทพศิรินทร์มารวมอยู่ด้วย จึงเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ฝั่งตะวันตก และเป็นโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์บ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในเวลาต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์บ้านสมเด็จเจ้าพระยา ไปสังกัดเป็นแผนกหนึ่งของโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ที่วังใหม่ปทุมวัน เมื่อปี พ.ศ.2458 จึงเปลี่ยนมาใช้เป็น โรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เพื่อเตรียมนักเรียนเข้าเรียนระดับมหาวิทยาลัย จนกระทั่งปี พ.ศ.2473 ที่ดินโรงเรียนบางส่วน ถูกเวนคืนเพื่อสร้าง สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ จึงต้องขอใช้ที่ดินของโรงเรียนศึกษานารีเดิม และได้รับมอบที่ดินเพิ่มจากกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ สร้างอาคารเรียนและหอนอนเพิ่มขึ้น เปิดเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูอีกครั้ง โดยเปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในปี พ.ศ.2538 เขตธนบุรี นามเดิมคือ อำเภอราชคฤห์ เรียกขานตามนามของวัดราชคฤห์ เป็นหนึ่งในสิบเอ็ดอำเภอของจังหวัดธนบุรี ตามพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้แบ่งพระนคร ออกเป็นสองจังหวัด โดยฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นจังหวัดธนบุรี ส่วนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเป็น จังหวัดพระนคร เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2458 ในปีต่อมา ทรงมีพระราชดำริว่า นามอำเภอหลายแห่งไม่เหมาะ ไม่เป็นไปตามหลักฐานมาแต่โบราณ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามอำเภอราชคฤห์ เป็นอำเภอบางยี่เรือ ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนาม อำเภอบางยี่เรือ เป็นอำเภอธนบุรี เพื่อให้สอดคล้องกับพื้นที่และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และกลายเป็น เขตธนบุรี ตามประกาศของคณะปฏิวัติ โดยมีประกาศให้เรียกอำเภอเป็นเขต เมื่อ พ.ศ.2515 ด้วยจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตามความเจริญของบ้านเมือง จึงมีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ในเขตธนบุรี อีกหลายครั้ง ปัจจุบัน เขตธนบุรี มีพื้นที่ 8.551 ตารางกิโลเมตร อยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ทิศเหนือติดกับเขตบางกอกใหญ่ มีคลองบางกอกใหญ่และแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันออกติดกับเขตคลองสาน ทิศใต้ติดกับเขตบางคอแหลมและเขตราษฎร์บูรณะ ทิศตะวันตกติดกับเขตจอมทองและเขตภาษีเจริญ ประกอบด้วย 7 แขวง ได้แก่ แขวงหิรัญรูจี แขวงตลาดพลู แขวงวัดกัลยาณ์ แขวงบางยี่เรือ แขวงบุคคโล แขวงดาวคะนอง และแขวงสำเหร่
เขตคลองสาน เดิมเคยเรียกว่าอำเภอบางลำภูล่าง ต่อมาเปลี่ยนเป็นอำเภอบุปผาราม ในแผนที่กรุงเทพฯ ร.ศ.129 พบว่ามีการระบุนามเดิม คือ อำเภอบุบผาราม (อยู่ในวงเล็บ) และนามใหม่คือ อำเภอคลองสาร เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนาม เพื่อให้พ้องต่อประวัติศาสตร์พื้นที่ จึงพระราชทานนามว่า อำเภอคลองสาร (สะกดด้วย ร เรือ) เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2459 ในสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม มีการพิจารณาว่าอำเภอคลองสาร มีขนาดเล็ก ปริมาณงานไม่มาก และการคมนาคมสะดวกขึ้น จึงให้ยุบลงเป็นกิ่งอำเภอ ขึ้นกับอำเภอบางยี่เรือ ที่ต่อมาเปลี่ยนนามเป็นอำเภอธนบุรี ในปี พ.ศ.2481 ต่อมา มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอคลองสาน ขึ้นใหม่อีกครั้ง เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ.2500 และมาเป็นเขตคลองสาน หลังจากคณะปฏิวัติมีประกาศ ให้รวมจังหวัดพระนครกับจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกัน เรียกว่า กรุงเทพมหานคร ปัจจุบัน เขตคลองสานมีพื้นที่ 6.87 ตารางกิโลเมตร ทิศเหนือติดกับเขตพระนครและเขตสัมพันธวงศ์ มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันออกติดกับเขตบางรักและเขตสาทร ทิศใต้ติดกับเขตบางคอแหลม และทิศตะวันตกติดกับเขตธนบุรี ประกอบด้วย 4 แขวง คือ แขวงสมเด็จเจ้าพระยา แขวงคลองสาน แขวงต้นไทร และแขวงบางลำพูล่าง ถ้าเปิดพจนานุกรมฉบับมติชน พ.ศ.2547 จะพบคำว่า สาน คือการใช้เส้น ขัดเป็นลาย เป็นผืน หรือเป็นรูปร่างต่างๆ ขณะเดียวกันมีคำอีกคำที่ออกเสียงใกล้เคียงกัน สาร คือ แก่นสำคัญ ช้างใหญ่ ถ้อยคำ หนังสือ หรือข้าวที่เอาเปลือกออกแล้ว ถ้ารวมกับเรื่องราวความเป็นมาของทั้งสองเขต ที่มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติ ทางพื้นที่ และทางการบริหาร จะเห็นได้ว่าเขตธนบุรี และเขตคลองสาน สองเขตเล็กๆ ทางฝั่งธนบุรีนั้น น่าสนใจจริงๆ
ที่มา : บัณฑิต จุลาสัย. (21 มีนาคม 2564). เขต(พี่)ธนบุรี เขต(น้อง)คลองสาน. มติชน.12.
เดิมทีเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา พำนักอยู่ข้างกำแพงพระบรมมหาราชวังทางทิศใต้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯให้ขยายเขตพระบรมมหาราชวัง พ.ศ.2361 จึงต้องโยกย้ายข้ามแม่น้ำมาพำนักทางทิศใต้ของพระราชวังเดิม เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา มีบุตรชาย คือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ) ผู้พี่ ที่คนขานนามท่านว่า สมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต) ผู้น้องว่า สมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ เป็นอัครมหาเสนาบดีกลาโหม และเสนาบดีคลัง ในสมัยรัชกาลที่ 4 พำนักอยู่ในสวนริมแม่น้ำเจ้าพระยา ใกล้บ้านกุฎีจีน เมื่อครั้งดำรตำแหน่ง พระยาสุริยวงศ์โกษา ได้อุทิศที่ดินริมคลองสาน สร้างวัดถวายเป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามว่า วัดประยูรวงศาวาส ส่วนสมเด็จพระเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ เป็นเสนาบดีกรมพระคลังสินค้า ในสมัยรัชกาลที่ 4 พำนักอยู่ทางวัดอนงคาราม เมื่อครั้งที่ดำรงตำแหน่ง พระยาศรีพิพัฒน์ราชโกษา เจ้ากรมพระคลังสินค้าในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดร้าง น้อมเกล้าฯ ถวาย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้รับพระราชทานนามว่า วัดพระยาญาติการาม ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้เปลี่ยนเป็น วัดพิชยญาติการาม (คนทั่วไปเรียกวัดพิชัยญาติ) ด้วยสมเด็จพระเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ มีหน้าที่ดูแลการค้ากับจีน สถาปัตยกรรมวัดนี้ จึงมีรูปแบบไทยผสมจีน ซึ่งเป็นแบบพระราชนิยม และตกแต่ง ด้วยอับเฉาเรือ กระเบื้อง และหิน จากประเทศจีน นอกจากสมเด็จเจ้าพระยาพี่น้องนี้แล้ว บุตรชายของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ คือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง) ยังได้เป็นเสนาบดีกลาโหม และผู้สำเร็จราชการ ในช่วงต้นรัชกาลที่ 5 และเจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ) ผู้ว่าราชการกรมท่า ในรัชกาลที่ 4 และสำเร็จราชการต่างประเทศ ในรัชกาลที่ 5 และยังมีลูกหลานอีกมากมาย ที่สนองราชการเป็นขุนนางชั้นสูงในอดีต และข้าราชการระดับสูง ในปัจจุบัน จึงเป็นที่มาของนาม คลอง ถนน แขวง และสถานที่ต่างๆ อีกมากมาย ในเขตธนบุรี และคลองสาน อย่างเช่น ในปี พ.ศ.2432 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้ตั้งโรงพยาบาลคนเสียจริต โรงพยาบาลจิตเวชแห่งแรกของประเทศไทย ตรงบริเวณใกล้ปากคลองสาน เมื่อการรักษาผู้ป่วยได้ผลดี เจริญก้าวหน้า ทำให้ที่ตั้งเดิมคับแคบ จึงได้ย้ายมายังพื้นที่ใหม่ ไม่ไกลจากที่เดิมมากนัก ด้วยเป็นที่ดินและบ้านเดิมของ เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร) หรือเจ้าคุณทหาร ซึ่งมีพื้นที่กว้างขวาง สามารถสร้างสภาพแวดล้อมของโรงพยาบาลให้ร่มรื่น เหมาะแก่การรักษาผู้ป่วยตามแบบตะวันตก รวมทั้งมีการมุงหลังคาอาคารต่างๆ ด้วยวัสดุสมัยใหม่ในตอนนั้น คือ แผ่นสังกะสีที่ทาสีแดง จนเกิดคำว่าหลังคาแดง ที่หมายถึงโรงพยาบาลคนเสียจริต ปากคลองสานนั่นเอง เช่นเดียวกัน ในปี 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ให้ตั้งโรงเรียนกินนอน แบบ Public school ของอังกฤษ เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) เสนาบดีกระทรวงธรรมการ ได้เสนอให้ใช้จวนของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง) ที่ว่างอยู่ หลังการถึงแก่พิราลัย ในปี พ.ศ.2425 ซึ่งมีพื้นที่มากพอสร้างโรงเรียนได้ โรงเรียนราชวิทยาลัย เปิดทำการครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2439 เป็นที่รู้จักของชาวบ้านในนาม โรงเรียนฟากขะโน้น หรือโรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ต่อมาเมื่อโรงเรียนราชวิทยาลัย ย้ายไปอยู่ที่คลองไผ่สิงโต ปทุมวัน กระทรวงธรรมการมีนโยบายเพิ่มการผลิตครู เพื่อออกไปสอนตามหัวเมือง จึงขอใช้อาคารและบริเวณเป็นโรงเรียนฝึกหัดครู เรียกว่า โรงเรียนฝึกหัดครูฝั่งตะวันตก เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2446 เมื่อมีการย้ายโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์เทพศิรินทร์มารวมอยู่ด้วย จึงเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ฝั่งตะวันตก และเป็นโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์บ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในเวลาต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์บ้านสมเด็จเจ้าพระยา ไปสังกัดเป็นแผนกหนึ่งของโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ที่วังใหม่ปทุมวัน เมื่อปี พ.ศ.2458 จึงเปลี่ยนมาใช้เป็น โรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เพื่อเตรียมนักเรียนเข้าเรียนระดับมหาวิทยาลัย จนกระทั่งปี พ.ศ.2473 ที่ดินโรงเรียนบางส่วน ถูกเวนคืนเพื่อสร้าง สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ จึงต้องขอใช้ที่ดินของโรงเรียนศึกษานารีเดิม และได้รับมอบที่ดินเพิ่มจากกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ สร้างอาคารเรียนและหอนอนเพิ่มขึ้น เปิดเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูอีกครั้ง โดยเปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในปี พ.ศ.2538 เขตธนบุรี นามเดิมคือ อำเภอราชคฤห์ เรียกขานตามนามของวัดราชคฤห์ เป็นหนึ่งในสิบเอ็ดอำเภอของจังหวัดธนบุรี ตามพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้แบ่งพระนคร ออกเป็นสองจังหวัด โดยฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นจังหวัดธนบุรี ส่วนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเป็น จังหวัดพระนคร เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2458 ในปีต่อมา ทรงมีพระราชดำริว่า นามอำเภอหลายแห่งไม่เหมาะ ไม่เป็นไปตามหลักฐานมาแต่โบราณ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามอำเภอราชคฤห์ เป็นอำเภอบางยี่เรือ ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนาม อำเภอบางยี่เรือ เป็นอำเภอธนบุรี เพื่อให้สอดคล้องกับพื้นที่และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และกลายเป็น เขตธนบุรี ตามประกาศของคณะปฏิวัติ โดยมีประกาศให้เรียกอำเภอเป็นเขต เมื่อ พ.ศ.2515 ด้วยจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตามความเจริญของบ้านเมือง จึงมีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ในเขตธนบุรี อีกหลายครั้ง ปัจจุบัน เขตธนบุรี มีพื้นที่ 8.551 ตารางกิโลเมตร อยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ทิศเหนือติดกับเขตบางกอกใหญ่ มีคลองบางกอกใหญ่และแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันออกติดกับเขตคลองสาน ทิศใต้ติดกับเขตบางคอแหลมและเขตราษฎร์บูรณะ ทิศตะวันตกติดกับเขตจอมทองและเขตภาษีเจริญ ประกอบด้วย 7 แขวง ได้แก่ แขวงหิรัญรูจี แขวงตลาดพลู แขวงวัดกัลยาณ์ แขวงบางยี่เรือ แขวงบุคคโล แขวงดาวคะนอง และแขวงสำเหร่
เขตคลองสาน เดิมเคยเรียกว่าอำเภอบางลำภูล่าง ต่อมาเปลี่ยนเป็นอำเภอบุปผาราม ในแผนที่กรุงเทพฯ ร.ศ.129 พบว่ามีการระบุนามเดิม คือ อำเภอบุบผาราม (อยู่ในวงเล็บ) และนามใหม่คือ อำเภอคลองสาร เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนาม เพื่อให้พ้องต่อประวัติศาสตร์พื้นที่ จึงพระราชทานนามว่า อำเภอคลองสาร (สะกดด้วย ร เรือ) เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2459 ในสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม มีการพิจารณาว่าอำเภอคลองสาร มีขนาดเล็ก ปริมาณงานไม่มาก และการคมนาคมสะดวกขึ้น จึงให้ยุบลงเป็นกิ่งอำเภอ ขึ้นกับอำเภอบางยี่เรือ ที่ต่อมาเปลี่ยนนามเป็นอำเภอธนบุรี ในปี พ.ศ.2481 ต่อมา มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอคลองสาน ขึ้นใหม่อีกครั้ง เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ.2500 และมาเป็นเขตคลองสาน หลังจากคณะปฏิวัติมีประกาศ ให้รวมจังหวัดพระนครกับจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกัน เรียกว่า กรุงเทพมหานคร ปัจจุบัน เขตคลองสานมีพื้นที่ 6.87 ตารางกิโลเมตร ทิศเหนือติดกับเขตพระนครและเขตสัมพันธวงศ์ มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันออกติดกับเขตบางรักและเขตสาทร ทิศใต้ติดกับเขตบางคอแหลม และทิศตะวันตกติดกับเขตธนบุรี ประกอบด้วย 4 แขวง คือ แขวงสมเด็จเจ้าพระยา แขวงคลองสาน แขวงต้นไทร และแขวงบางลำพูล่าง ถ้าเปิดพจนานุกรมฉบับมติชน พ.ศ.2547 จะพบคำว่า สาน คือการใช้เส้น ขัดเป็นลาย เป็นผืน หรือเป็นรูปร่างต่างๆ ขณะเดียวกันมีคำอีกคำที่ออกเสียงใกล้เคียงกัน สาร คือ แก่นสำคัญ ช้างใหญ่ ถ้อยคำ หนังสือ หรือข้าวที่เอาเปลือกออกแล้ว ถ้ารวมกับเรื่องราวความเป็นมาของทั้งสองเขต ที่มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติ ทางพื้นที่ และทางการบริหาร จะเห็นได้ว่าเขตธนบุรี และเขตคลองสาน สองเขตเล็กๆ ทางฝั่งธนบุรีนั้น น่าสนใจจริงๆ
ที่มา : บัณฑิต จุลาสัย. (21 มีนาคม 2564). เขต(พี่)ธนบุรี เขต(น้อง)คลองสาน. มติชน.12.
รูปแบบ
application/pdf
ภาษา
tha
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
หัวเรื่อง
สำนักงานเขตธนบุรี
สำนักงานเขตคลองสาน
สกุลบุนนาค
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ)
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต)
วัดประยูรวงศาวาส
วัดพิชยญาติการาม
โรงเรียนราชวิทยาลัยที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยา
สถานที่สำคัญ
คอลเลกชั่น
บัณฑิต จุลาสัย and รัชดา โชติพานิช, “เขต(พี่)ธนบุรี เขต(น้อง)คลองสาน”, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, 2565-06-09, คลังข้อมูลประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, accessed November 27, 2024, http://202.29.54.157/s/information/item/2320