ตามรอยมุสลิมฝั่งธนมองผ่านสถาปัตยกรรมและชุมชน 3 กะดี

Item

ชื่อเรื่อง

ตามรอยมุสลิมฝั่งธนมองผ่านสถาปัตยกรรมและชุมชน 3 กะดี

ประเภท

บทความ

ผู้แต่ง

ชาธิป สุวรรณทอง

วันที่

2565-11-9

รายละเอียด

จากคลองบางกอกใหญ่แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาทางฝั่งขวาของป้อมวิไชยประสิทธิ์ ไปสิ้นสุดที่คลองมอญ ตรงข้ามปากคลองชักพระ ถือเป็นเส้นทางสัญจรทางน้ำที่สำคัญในฝั่งธนบุรี มีศาสนสถานตั้งอยู่อย่างหนาแน่นทั้งสองฝั่ง ทั้งพุทธ คริสต์ และศาสนาอิสลาม แสดงถึงการก่อตั้งชุมชนต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ โครงการพิทักษ์มรดกสยาม โดยสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ รายการศึกษาสัญจร“สามกะดี สามสมัยในธนบุรี” เพื่อศึกษาร่องรอยประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในพื้นที่บางกอกใหญ่ โดยมองผ่าน "กะดี" หรือ "กุฎี" ซึ่งมาจากรากศัพท์ภาษาเปอร์เซียที่หมายถึง “โรงประชุมทำลัทธิพิธีฝ่ายศาสนาอิสลาม”

"คำว่า กะดี-กะฏี-กะฎิ ปัจจุบันเราจะใช้เรือนที่อยู่ของสงฆ์เป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ถูกใช้เรียกโรงประกอบพิธีกรรมศาสนาอิสลามด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะสถานที่โรงประกอบพิธีกรรมศาสนาอิสลามนิกายเจ้าเซ็น คำนี้หายไปเมื่อมี พ.ร.บ.มัสยิดอิสลามเกิดขึ้นมา ทำให้ชื่อที่ถูกเรียกว่ากะดีซึ่งเคยมีอยู่เป็นสิบแห่งถูกปรับไปโดยใช้คำว่ามัสยิดเข้ามาแทน วัฒนธรรมคำว่ากะดีจึงเกือบจะสูญไป" ธีรนันท์ ช่วงพิชิต นักวิชาการแห่งศูนย์ข้อมูลประวัติศาสตร์ชุมชนธนบุรี ระบุ

ที่มา : ชาธิป สุวรรณทอง. (16 กุมภาพันธ์ 2555). ตามรอยมุสลิมฝั่งธนมองผ่านสถาปัตยกรรมและชุมชน 3 กะดี. กรุงเทพธุรกิจ, 1,8.

รูปแบบ

application/pdf

ภาษา

tha

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

หัวเรื่อง

มัสยิดต้นสน
กุฎีใหญ่
ศาสนาอิสลาม
ศาสนสถาน
สิ่งก่อสร้างและสถานที่

คอลเลกชั่น

kudi .pdf

ชาธิป สุวรรณทอง, “ตามรอยมุสลิมฝั่งธนมองผ่านสถาปัตยกรรมและชุมชน 3 กะดี”, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, 2565-11-9, คลังข้อมูลประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, accessed November 27, 2024, http://202.29.54.157/s/information/item/2501