วัดนางชีโชติการาม
Item
ชื่อเรื่อง
วัดนางชีโชติการาม
วันที่
2565-11-23
รายละเอียด
วัดนางชี เป็นวัดโบราณ สร้างสมัยอยุธยา มีหลักฐานยืนยัน คือ พระประธานในพระอุโบสถ
และพระพุทธรูปในพระวิหาร เป็นศิลปะสมัยอยุธยา ตามตำนานเล่าว่า เจ้าพระยาพิชัยมนตรีได้สร้างร่วมกับพระยาฤาชัยณรงค์ และออกหลวงเสนาสุนทร สร้างเนื่องจากแม่อิ่มลูกสาวเจ้าพระยาชัยมนตรี ป่วยอย่างไม่รู้สาเหตุ จนกระทั่งชีปะขาวมานิมิตเข้าฝันให้เจ้าพระยาพิชัยมนตรีแก้บนโดยให้ลูกสาวบวชชี ดังนั้น เมื่อแม่อิ่มหายป่วย เจ้าพระยาพิชัยมนตรีจึงให้ลูกสาวบวชชี พร้อมกับสร้างวัด จึงเรียกว่า วัดนางชี ต่อมาได้กลายเป็นวัดร้าง สมัยรัชกาลที่ , พระยาโชฎึกราชเศรษฐี ได้ดัดแปลงและแก้ไขรูปทรงพระอุโบสถ พระวิหาร ให้เป็นศิลปกรรมแบบจีน ประดับด้วยเครื่องเคลือบ และนำตุ๊กตาหินแบบจีนและหินปูทางเดินมาจากเมืองจีน เพื่อมาทำการบูรณปฏิสังขรณ์ เมื่อสร้างเสร็จ ได้ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬโลกมหาราช เป็นพระอารามหลวง
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๓ พระยาราชานุชิต (จอง) ได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดนี้อีกครั้ง
สถานะและที่ตั้ง
วัดนางชี เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่เลขที่ ๓๒๑ แขวงปากคลองภาษีเจริญ
เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร มีที่ดินตั้งวัด เนื้อที่ ๑๑ ไร่ ๑ งาน
วัดนางชี . (๒๕๖๔). ใน พระอารามหลวง เล่ม ๑. (พิมพ์ครั้งที่ ๒). (น.๒๔๓-๒๔๖). กรมการศาสนา.
และพระพุทธรูปในพระวิหาร เป็นศิลปะสมัยอยุธยา ตามตำนานเล่าว่า เจ้าพระยาพิชัยมนตรีได้สร้างร่วมกับพระยาฤาชัยณรงค์ และออกหลวงเสนาสุนทร สร้างเนื่องจากแม่อิ่มลูกสาวเจ้าพระยาชัยมนตรี ป่วยอย่างไม่รู้สาเหตุ จนกระทั่งชีปะขาวมานิมิตเข้าฝันให้เจ้าพระยาพิชัยมนตรีแก้บนโดยให้ลูกสาวบวชชี ดังนั้น เมื่อแม่อิ่มหายป่วย เจ้าพระยาพิชัยมนตรีจึงให้ลูกสาวบวชชี พร้อมกับสร้างวัด จึงเรียกว่า วัดนางชี ต่อมาได้กลายเป็นวัดร้าง สมัยรัชกาลที่ , พระยาโชฎึกราชเศรษฐี ได้ดัดแปลงและแก้ไขรูปทรงพระอุโบสถ พระวิหาร ให้เป็นศิลปกรรมแบบจีน ประดับด้วยเครื่องเคลือบ และนำตุ๊กตาหินแบบจีนและหินปูทางเดินมาจากเมืองจีน เพื่อมาทำการบูรณปฏิสังขรณ์ เมื่อสร้างเสร็จ ได้ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬโลกมหาราช เป็นพระอารามหลวง
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๓ พระยาราชานุชิต (จอง) ได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดนี้อีกครั้ง
สถานะและที่ตั้ง
วัดนางชี เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่เลขที่ ๓๒๑ แขวงปากคลองภาษีเจริญ
เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร มีที่ดินตั้งวัด เนื้อที่ ๑๑ ไร่ ๑ งาน
วัดนางชี . (๒๕๖๔). ใน พระอารามหลวง เล่ม ๑. (พิมพ์ครั้งที่ ๒). (น.๒๔๓-๒๔๖). กรมการศาสนา.
รูปแบบ
application/pdf
แหล่งที่มา
อ 294.3135 พ418 2564 ล.1
ภาษา
tha
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
หัวเรื่อง
วัดนางชีโชติการาม
วัดนางชี
วัดโบราณ
ศาสนสถาน
คอลเลกชั่น
“วัดนางชีโชติการาม”, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, 2565-11-23, คลังข้อมูลประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, accessed November 27, 2024, http://202.29.54.157/s/information/item/2515