พระราชหัตถเลขาและหีบเดินทาง
Item
ชื่อเรื่อง
พระราชหัตถเลขาและหีบเดินทาง
ลิขสิทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ประเภท
บทความ
ผู้แต่ง
วิสวาท อัศวนนท์
วันที่
2565-12-9
รายละเอียด
"บุนนาค" เป็นตระกูลหนึ่งที่สืบเชื้อสายกันมายาวนานเรียกว่าตั้งแต่ สมัยสร้างกรุงรัตโกสินทร์ใหม่ๆ ลูกหลานของตระกูลก็แตกสาแหรกออกไปเป็น "บุนนาค" สายต่างๆ 'วิสวาท อัศวนนท์" เป็นลูกหลานบุนนาคคนหนึ่ง "ดิฉันเป็นบุนนาคสายเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) ซึ่งเป็นบุนนาคชั้นที่ ๑ ขั้นที่ ๒ คือสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ชั้นที่ ๓ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อยังทรงพระเยาว์อยู่ ชั้นที่ ๔ คือเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) แล้วก็มาถึงคุณปู่ของดิฉัน ซึ่งเป็นชั้นที่ ๕ คือ เจ้าพระยาสุรวงศ์
คุณปู่มีหม่อมหลายคน แต่มีท่านผู้หญิงคนเดียวคือท่านผู้หญิงตลับ ซึ่งเป็นคุณย่าของดิฉัน คุณพ่อของดิฉันคือพระยาอดิศักดิ์อภิรัตน์ (เต็ม สุริยวงศ์ บุนนาค) ซึ่งเป็นลูกชายคนเล็กของคุณปู่กับคุณย่า คุณพ่อแต่งงานกับคุณแม่คือ คุณพิศ ณ ป้อมเพ็ชร มีลูก ๗ คน ดิฉันเป็นลูกคนที่ ๓ แต่เป็นลูกสาวคนโต หากลำดับชั้นโดยย่อ คุณวิสวาทก็เป็นหลานเชียดของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์นั่นเอง
ตั้งแต่เล็กจนโตคุณวิสวาทเห็นข้าวของเครื่องใช้ที่บรรพบุรุษสั่งสมไว้จนรู้สึกชินตา ไม่เกิดความรู้สึกอยากได้ใคร่ดีกับสิ่งใดนัก แต่ก็ยังโชคดีได้เป็นเจ้าของสิ่งมีค่า หลายชิ้น "จริงๆ ดิฉันไม่ได้สนใจของเก่า เพราะเราเป็นคนที่ค่อนข้างรุ่นใหม่แล้ว เมื่อก่อนก็ยังไม่นิยมของเก่ากันเหมือนสมัยนี้นะคะ แต่เราก็มีได้มาบ้างเพราะพอคุณพ่อคุณแม่อายุมากขึ้น ท่านก็เริ่มระบาย ของให้ลูกให้หลาน วิธีให้ของคุณแม่ก็คือ พอปีใหม่หรือวันเกิดท่าน ท่านก็จะทำสลาก ให้จับกัน ใครได้อะไรก็รับไป หรือวันเกิดลูกๆ คุณแม่ก็จะหาของในบ้านนั่นแหละให้ไปขุดไปคุ้ยมา (หัวเราะ) เพราะถ้าไปซื้อของอื่นๆ ให้ก็เสียสตางค์ ต้องประหยัด (ยิ้ม)" สิ่งหนึ่งที่คุณวิสวาทและครอบครัวได้มาโดยไม่ล่วงรู้ถึงความสำคัญเลย จนกระทั่งวันหนึ่ง "คือหีบไม้ใบนี้นะคะเป็นของที่คุณพ่อได้มาจากคุณปู่ คุณพ่อก็เก็บไว้ใน ห้องเก็บของที่บ้านเก่า ไม่เคยเปิดออกมาให้ดู เราเห็นวางอยู่ในห้องเก็บของ ไม่เคย สนใจเลยว่าเป็นหีบอะไร แล้วไม่มีใครสนใจด้วย จนกระทั่งตอนที่ดิฉันจะย้ายบ้านเมื่อประมาณ ๘ ปีที่แล้ว คือบ้านเดิม จะอยู่บริเวณใกล้ กับบ้านคุณแม่ตรงถนนสุรวงศ์ พอมีตึกสูงๆ ขึ้นรู้สึกอยู่ไม่ไหว
แล้ว เลยย้าย พอย้ายก็ต้องขนของสิคะ เลยเจอหีบในนี้ ดิฉันเองน่ะไม่สนใจหรอก แต่ลูกสาว (ทญ.พิมสวาท วัฒนศิริโรจน์) เขามาเห็น เขาถามว่าหีบอะไรทำไมเก๊าเก่า ดิฉันบอกไม่ทราบเขาเลยจัดการงัดออก มาดู เปิดออกมา ก็เห็นพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ที่มีถึงสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ข้อความว่าขอมอบหีบใบนี้ให้ ตัวพระราชหัตถเลขาแทบจะหลุดเป็นชิ้นๆแล้ว ลูกสาวเขาก็จะเอาไป ถ่ายเอกสารแล้วก็เก็บต้นฉบับไว้ ใครอยากจะดูก็ให้มาดูจากสำเนา แต่พอส่งไปให้ร้านที่ชำนาญเรื่องนี้ เขาปฏิเสธไม่ทำให้ และแนะนำให้ใส่กรอบไว้อย่างนี้ แล้วเขายังให้ข้อสังเกตมาว่า ปรกติพระองค์ท่านไม่ค่อยลงพระปรมาภิไธย
เป็นภาษาอังกฤษอย่างนี้หรอก กระดาษแผ่นนี้จึงเป็นของที่มีค่ามาก ให้เก็บไว้ให้ดี ส่วนหีบนี้ พอเปิดออกมาที่แรก ชั้นนี้งัดออกไม่ได้ คงเพราะเคยถูก น้ำท่วมมาก่อน เปิดออกมานี่เรียกว่าเน่าเลยนะคะ เป็นหีบที่เราเรียกว่า 'โอเวอร์ไนท์ แบ็ค' เปิดขึ้นมามี ๒ ชั้น ข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวครบทั้งแปรง แปรงสีฟัน มีดโกน มีเครื่องเขียน อ่างน้ำ แก้วน้ำ ที่ออกเก๋มาก เครื่องใช้ทำจากงาช้างทั้งหมด เลยค่ะ หีบไม้สีน้ำตาลไหม้นี้มีที่มาตามพระราชหัตถเลขา คือ เป็นหีบที่พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ทำขึ้นมา ๒ ใบ ใบหนึ่งเพื่อเป็นเครื่องใช้ส่วนพระองค์อีกใบหนึ่งเพื่อพระราชทาน สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เป็นของขวัญวันเกิดครบรอบ ๕ รอบ และเพื่อให้นำติดตัวไปใช้ในโอกาส ที่จะเดินทางไปอินเดีย บนหีบใบที่พระราชทานมีแผ่นเงินจารึกข้อความติดไว้ด้วย เมื่อทราบความเป็นมาอย่างนี้แล้ว คุณวิสวาทจึงเก็บรักษาหีบและพระราชหัตถเลขานี้ไว้เป็นอย่างดี ด้วยความเคารพบูชา แม้จะใช้เวลาเป็น ๑๐ ปี กว่าจะค้นพบคุณค่า แต่ก็ยังไม่สายเกินไป สำหรับความปลาบปลื้มใจที่ได้เป็นเจ้าของสิ่งมีค่านี้ ในลิ้นชักแห่งความทรงจำของคุณหมอพิม-พิมสวาท วัฒนศิริโรจน์ ทั้ง คุณตาคุณยาย (พระอดิศักดิ์อภิรัตน์ (เต็ม สุริยวงศ์) - คุณพิศ อดิศักดิ์อภิรัตน์) คุณปู่คุณย่า (พระยาราชายสาธก คุณหญิงถนิมราชายสาธก) ล้วนเป็นผู้ใหญ่ที่ โอบอ้อมและมีเมตตาต่อลูกหลานอยู่เสมอ "ที่บ้านเรา ผู้ใหญ่ท่านมีข้อปฏิบัติที่ดีมากอยู่อย่างหนึ่งค่ะ คือตอนที่มีชีวิต
ที่มา : วิสวาท อัศวนนท์. (๒๕๖๑). พระราชหัตถเลขาและหีบเดินทาง . ใน ศรีสมเด็จ ๖๑ (๙๑-๙๔). สมาคมศิษย์เก่าบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในพระบรมชูปถัมภ์.
คุณปู่มีหม่อมหลายคน แต่มีท่านผู้หญิงคนเดียวคือท่านผู้หญิงตลับ ซึ่งเป็นคุณย่าของดิฉัน คุณพ่อของดิฉันคือพระยาอดิศักดิ์อภิรัตน์ (เต็ม สุริยวงศ์ บุนนาค) ซึ่งเป็นลูกชายคนเล็กของคุณปู่กับคุณย่า คุณพ่อแต่งงานกับคุณแม่คือ คุณพิศ ณ ป้อมเพ็ชร มีลูก ๗ คน ดิฉันเป็นลูกคนที่ ๓ แต่เป็นลูกสาวคนโต หากลำดับชั้นโดยย่อ คุณวิสวาทก็เป็นหลานเชียดของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์นั่นเอง
ตั้งแต่เล็กจนโตคุณวิสวาทเห็นข้าวของเครื่องใช้ที่บรรพบุรุษสั่งสมไว้จนรู้สึกชินตา ไม่เกิดความรู้สึกอยากได้ใคร่ดีกับสิ่งใดนัก แต่ก็ยังโชคดีได้เป็นเจ้าของสิ่งมีค่า หลายชิ้น "จริงๆ ดิฉันไม่ได้สนใจของเก่า เพราะเราเป็นคนที่ค่อนข้างรุ่นใหม่แล้ว เมื่อก่อนก็ยังไม่นิยมของเก่ากันเหมือนสมัยนี้นะคะ แต่เราก็มีได้มาบ้างเพราะพอคุณพ่อคุณแม่อายุมากขึ้น ท่านก็เริ่มระบาย ของให้ลูกให้หลาน วิธีให้ของคุณแม่ก็คือ พอปีใหม่หรือวันเกิดท่าน ท่านก็จะทำสลาก ให้จับกัน ใครได้อะไรก็รับไป หรือวันเกิดลูกๆ คุณแม่ก็จะหาของในบ้านนั่นแหละให้ไปขุดไปคุ้ยมา (หัวเราะ) เพราะถ้าไปซื้อของอื่นๆ ให้ก็เสียสตางค์ ต้องประหยัด (ยิ้ม)" สิ่งหนึ่งที่คุณวิสวาทและครอบครัวได้มาโดยไม่ล่วงรู้ถึงความสำคัญเลย จนกระทั่งวันหนึ่ง "คือหีบไม้ใบนี้นะคะเป็นของที่คุณพ่อได้มาจากคุณปู่ คุณพ่อก็เก็บไว้ใน ห้องเก็บของที่บ้านเก่า ไม่เคยเปิดออกมาให้ดู เราเห็นวางอยู่ในห้องเก็บของ ไม่เคย สนใจเลยว่าเป็นหีบอะไร แล้วไม่มีใครสนใจด้วย จนกระทั่งตอนที่ดิฉันจะย้ายบ้านเมื่อประมาณ ๘ ปีที่แล้ว คือบ้านเดิม จะอยู่บริเวณใกล้ กับบ้านคุณแม่ตรงถนนสุรวงศ์ พอมีตึกสูงๆ ขึ้นรู้สึกอยู่ไม่ไหว
แล้ว เลยย้าย พอย้ายก็ต้องขนของสิคะ เลยเจอหีบในนี้ ดิฉันเองน่ะไม่สนใจหรอก แต่ลูกสาว (ทญ.พิมสวาท วัฒนศิริโรจน์) เขามาเห็น เขาถามว่าหีบอะไรทำไมเก๊าเก่า ดิฉันบอกไม่ทราบเขาเลยจัดการงัดออก มาดู เปิดออกมา ก็เห็นพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ที่มีถึงสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ข้อความว่าขอมอบหีบใบนี้ให้ ตัวพระราชหัตถเลขาแทบจะหลุดเป็นชิ้นๆแล้ว ลูกสาวเขาก็จะเอาไป ถ่ายเอกสารแล้วก็เก็บต้นฉบับไว้ ใครอยากจะดูก็ให้มาดูจากสำเนา แต่พอส่งไปให้ร้านที่ชำนาญเรื่องนี้ เขาปฏิเสธไม่ทำให้ และแนะนำให้ใส่กรอบไว้อย่างนี้ แล้วเขายังให้ข้อสังเกตมาว่า ปรกติพระองค์ท่านไม่ค่อยลงพระปรมาภิไธย
เป็นภาษาอังกฤษอย่างนี้หรอก กระดาษแผ่นนี้จึงเป็นของที่มีค่ามาก ให้เก็บไว้ให้ดี ส่วนหีบนี้ พอเปิดออกมาที่แรก ชั้นนี้งัดออกไม่ได้ คงเพราะเคยถูก น้ำท่วมมาก่อน เปิดออกมานี่เรียกว่าเน่าเลยนะคะ เป็นหีบที่เราเรียกว่า 'โอเวอร์ไนท์ แบ็ค' เปิดขึ้นมามี ๒ ชั้น ข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวครบทั้งแปรง แปรงสีฟัน มีดโกน มีเครื่องเขียน อ่างน้ำ แก้วน้ำ ที่ออกเก๋มาก เครื่องใช้ทำจากงาช้างทั้งหมด เลยค่ะ หีบไม้สีน้ำตาลไหม้นี้มีที่มาตามพระราชหัตถเลขา คือ เป็นหีบที่พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ทำขึ้นมา ๒ ใบ ใบหนึ่งเพื่อเป็นเครื่องใช้ส่วนพระองค์อีกใบหนึ่งเพื่อพระราชทาน สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เป็นของขวัญวันเกิดครบรอบ ๕ รอบ และเพื่อให้นำติดตัวไปใช้ในโอกาส ที่จะเดินทางไปอินเดีย บนหีบใบที่พระราชทานมีแผ่นเงินจารึกข้อความติดไว้ด้วย เมื่อทราบความเป็นมาอย่างนี้แล้ว คุณวิสวาทจึงเก็บรักษาหีบและพระราชหัตถเลขานี้ไว้เป็นอย่างดี ด้วยความเคารพบูชา แม้จะใช้เวลาเป็น ๑๐ ปี กว่าจะค้นพบคุณค่า แต่ก็ยังไม่สายเกินไป สำหรับความปลาบปลื้มใจที่ได้เป็นเจ้าของสิ่งมีค่านี้ ในลิ้นชักแห่งความทรงจำของคุณหมอพิม-พิมสวาท วัฒนศิริโรจน์ ทั้ง คุณตาคุณยาย (พระอดิศักดิ์อภิรัตน์ (เต็ม สุริยวงศ์) - คุณพิศ อดิศักดิ์อภิรัตน์) คุณปู่คุณย่า (พระยาราชายสาธก คุณหญิงถนิมราชายสาธก) ล้วนเป็นผู้ใหญ่ที่ โอบอ้อมและมีเมตตาต่อลูกหลานอยู่เสมอ "ที่บ้านเรา ผู้ใหญ่ท่านมีข้อปฏิบัติที่ดีมากอยู่อย่างหนึ่งค่ะ คือตอนที่มีชีวิต
ที่มา : วิสวาท อัศวนนท์. (๒๕๖๑). พระราชหัตถเลขาและหีบเดินทาง . ใน ศรีสมเด็จ ๖๑ (๙๑-๙๔). สมาคมศิษย์เก่าบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในพระบรมชูปถัมภ์.
รูปแบบ
application/pdf
แหล่งที่มา
อ 378.593 ม246ศ 2561
ภาษา
tha
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
หัวเรื่อง
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
การอนุรักษ์และการสะสม
คอลเลกชั่น
วิสวาท อัศวนนท์, “พระราชหัตถเลขาและหีบเดินทาง”, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, 2565-12-9, คลังข้อมูลประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, accessed November 26, 2024, http://202.29.54.157/s/information/item/2541