มัสยิดสุวรรณภูมิ
Item
ชื่อเรื่อง
มัสยิดสุวรรณภูมิ
วันที่
2566-02-10
รายละเอียด
มัสยิดสุวรรณภูมิ เป็นศาสนสถานของชาวมุสลิมสายซุนนะห์หรือสุหนี่ ก่อสร้างขึ้นโดยบรรพบุรุษ
ของชาวมุสลิมที่อพยพเข้ามาประกอบกิจการค้าขาย จากพระนครศรีอยุธยาและภาคตะวันออก โดยการนำ ของ ท่านขุนรามฤทธิไกร (นายอะหมัด โตประวัติ) อาคารมัสยิดหลังเก่าเริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ.๒๓๙๕ ตั้งอยู่ใกล้เคียงกับแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมาตัวอาคารมัสยิดหลังเดิมได้ทรุดโทรมลง บรรดาสัปบุรุษ และชาวมุสลิมในย่านนี้จึงร่วมกันก่อสร้างอาคารมัสยิดหลังปัจจุบัน ขึ้นมา เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนแบบใหม่ ภายในมีห้องละหมาดซึ่ง ใช้เป็นที่ประกอบศาสนกิจประจำวันของชาวมุสลิม นอกจากนี้ยังมี มิรบัร (ที่สำหรับแสดงธรรม) และเมียะหร็อบ (ชุมทิศ-ที่สำหรับอิหม่ามนำละหมาด) ทั้งสองสิ่งนี้เป็นงานไม้แกะสลักฝีมือประณีตบรรจงมาก บรรดาชาวมุสลิมที่ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ใกล้เคียงมัสยิดแห่งนี้ นอกจากบรรพบุรุษจะประกอบอาชีพค้าขายแล้ว ในอดีตชาวมุสลิมใน ชุมชนแห่งนี้ยังมีอาชีพเป็นนักประดาน้ำ รับจ้างงมหาของต่าง ๆ การกู้เรือที่จมรวมถึงการก่อสร้างสะพานหล่อตอม่อกลางลำน้ำ ซึ่งว่ากันว่านักประดาน้ำที่เป็นชาวมุสลิมของชุมชนแห่งนี้มีชื่อเสียงทั้งในด้านการดำน้ำ ที่ทนและอีดกว่านักประดาน้ำในที่อื่น ๆ เคยทำงานด้าน ประดาน้ำให้แก่หน่วยงานราชการมาแล้วหลายแห่ง ปัจจุบันลูกหลานของชาวมุสลิมที่นี่แทบไม่มีผู้ใด สืบทอดอาชีพนักประดาน้ำอีกเลย คงเหลือแต่เพียงหลักฐานบางอย่างที่อาจพบเห็นได้ในบ้านของนักประดาน้ำ ยุคเก่าของชุมชนแห่งนี้ เช่น หมวกเหล็ก ซึ่งใช้เป็นที่สวมศีรษะและกักอ๊อกซิเจนเวลาลงไปดำน้ำเท่านั้น
ที่มา : สำนักงานเขตคลองสาน. (๒๕๕๔).มัสยิดเซพี . ใน สมโภช ๑๐๐ ปี เขตคลองสาน. (น. ๙๒- ๙๓). ม.ป.พ.
ของชาวมุสลิมที่อพยพเข้ามาประกอบกิจการค้าขาย จากพระนครศรีอยุธยาและภาคตะวันออก โดยการนำ ของ ท่านขุนรามฤทธิไกร (นายอะหมัด โตประวัติ) อาคารมัสยิดหลังเก่าเริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ.๒๓๙๕ ตั้งอยู่ใกล้เคียงกับแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมาตัวอาคารมัสยิดหลังเดิมได้ทรุดโทรมลง บรรดาสัปบุรุษ และชาวมุสลิมในย่านนี้จึงร่วมกันก่อสร้างอาคารมัสยิดหลังปัจจุบัน ขึ้นมา เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนแบบใหม่ ภายในมีห้องละหมาดซึ่ง ใช้เป็นที่ประกอบศาสนกิจประจำวันของชาวมุสลิม นอกจากนี้ยังมี มิรบัร (ที่สำหรับแสดงธรรม) และเมียะหร็อบ (ชุมทิศ-ที่สำหรับอิหม่ามนำละหมาด) ทั้งสองสิ่งนี้เป็นงานไม้แกะสลักฝีมือประณีตบรรจงมาก บรรดาชาวมุสลิมที่ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ใกล้เคียงมัสยิดแห่งนี้ นอกจากบรรพบุรุษจะประกอบอาชีพค้าขายแล้ว ในอดีตชาวมุสลิมใน ชุมชนแห่งนี้ยังมีอาชีพเป็นนักประดาน้ำ รับจ้างงมหาของต่าง ๆ การกู้เรือที่จมรวมถึงการก่อสร้างสะพานหล่อตอม่อกลางลำน้ำ ซึ่งว่ากันว่านักประดาน้ำที่เป็นชาวมุสลิมของชุมชนแห่งนี้มีชื่อเสียงทั้งในด้านการดำน้ำ ที่ทนและอีดกว่านักประดาน้ำในที่อื่น ๆ เคยทำงานด้าน ประดาน้ำให้แก่หน่วยงานราชการมาแล้วหลายแห่ง ปัจจุบันลูกหลานของชาวมุสลิมที่นี่แทบไม่มีผู้ใด สืบทอดอาชีพนักประดาน้ำอีกเลย คงเหลือแต่เพียงหลักฐานบางอย่างที่อาจพบเห็นได้ในบ้านของนักประดาน้ำ ยุคเก่าของชุมชนแห่งนี้ เช่น หมวกเหล็ก ซึ่งใช้เป็นที่สวมศีรษะและกักอ๊อกซิเจนเวลาลงไปดำน้ำเท่านั้น
ที่มา : สำนักงานเขตคลองสาน. (๒๕๕๔).มัสยิดเซพี . ใน สมโภช ๑๐๐ ปี เขตคลองสาน. (น. ๙๒- ๙๓). ม.ป.พ.
รูปแบบ
application/pdf
ภาษา
tha
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
หัวเรื่อง
มัสยิดสุวรรณภูมิ
ศาสนสถาน
ชาวมุสลิม
คอลเลกชั่น
“มัสยิดสุวรรณภูมิ”, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, 2566-02-10, คลังข้อมูลประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, accessed November 26, 2024, http://202.29.54.157/s/information/item/2616