พระธรรมเจดีย์ (กี มารชิโน, ป.ธ. ๙)
Item
ชื่อเรื่อง
พระธรรมเจดีย์ (กี มารชิโน, ป.ธ. ๙)
วันที่
2566-02-27
รายละเอียด
พระธรรมเจดีย์ (กี มารชีโน, ป.ธ. ๙)
อดีตเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ, อดีตเจ้าคณะจังหวัดธนบุรี, อดีตเจ้าคณะภาค ๔
"พระธรรมเจดีย์" เป็นบุตรคนสุดท้องของนายแสงกับนางลุ้ย เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ.๒๔๕๑ ตรงกับวันแรม ๗ ค่ำ เดือน ๔ ปีวอก นามเดิม กี แช่ตัน มีพี่น้องด้วยกันทั้งหมด ๘ คน
ท่านเป็นชาวบ้านตำบลหนองตีนนก อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อวัยเยาว์ได้เข้ารับการ
ศึกษาวิชาสามัญ จนจบชั้นประถมบริบูรณ์ ที่โรงเรียนสนามจันทร์ และได้ย้ายมาอยู่ที่วัดทองนพคุณ กิ่งอำเภอ คลองสาน จังหวัดธนบุรี เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๕ โดยเข้ามาศึกษาพระปริยัติธรรม และได้บรรพชา ที่วัดทองนพคุณ เมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคมปีนั้นเอง โดยมี พระครูวิเศษศีลคุณ (ชุ่ม ติสาโร) เจ้าอาวาส เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านสอบเข้านักธรรมตรีได้ก่อนแล้ว ได้เป็นเปรียญเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙ เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ ท่านได้เข้ารับการอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดทองนพคุณ โดยมีพระมงคลเทพมุนี (นวม พุทฺธสโร) วัดอนงคารามซึ่งต่อมาได้รับสถาปนาสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระพุฒจารย์) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสังวรวิมล (ชุ่ม ติสาโร) เป็นพระกรรมว่าจาจารย์ และพระสมุห์ชื้อ พฺรหฺมสโร เป็น พระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า "มารชิโน" นอกจากท่านจะเล่าเรียนเพื่อสอบให้เป็นเปรียญสูงขึ้นไปแล้ว ท่านยังได้สั่งสอนพระภิกษุสามเณรมา พ.ศ.๒๔๙๖ สอนขยับตามวิทยฐานะของท่านเรื่อยมา ตั้งแต่นักธรรมตรีจนนักธรรมเอก ตั้งแต่เรียนเปรียญตรี จนจบเปรียญเอก และได้เป็นกรรมการตรวจธรรมและบาลีสนามหลวง โดยได้รับตราตั้งจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ เป็นกรรมการออกปัญหา นักธรรมและบาลีสนามหลวง เป็นประธานกรรมการวิจัยประจำสาขาแผนกศึกษา พอท่านได้เป็นเปรียญธรรม ๘ ประโยค ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระวินัยธรชั้นต้น ภาค ๑ เขต ๑ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๘, ได้เป็นกรรมการแปลพระไตรปิฎกและกรรมการชำระอรรถกถา, ทางเจ้าคณะจังหวัดธนบุรีตั้งให้ท่านเป็นพระกรรมวาจาจารย์เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ เวลานั้นท่านอายุ ๓๙ ปี พรรษา ๑๘
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการสงฆ์องค์การศึกษา อำเภอธนบุรี โดยมี
พระภัทรมุนี (อิ่น ภัทฺรมุนี) เป็นเจ้าคณะอำเภอ ท่านอยู่ในตำแหน่งนี้จนพระภัทรมุนีถึงแก่มรณภาพ ก็ได้ขึ้น เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะอำเภอใน พ.ศ. ๒๕๐๕ และได้เป็นเจ้าคณะอำเภอ เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๙ โดยรักษาการอยู่กว่า ๔ ปี คุณวิเศษที่สำคัญของท่าน เริ่มต้นแต่เมื่อท่านสอบไส่ได้ประโยค ๙ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๓ แล้วนั้น ทำให้ ท่านหมดห่วงทางด้านการเรียนอีกต่อไป และได้เล็งเห็นว่านักเรียนบาลีที่แล้ว ๆ มา หาครูอาจารย์ที่จะทุ่มเท ชีวิตให้อย่างเอาจริงเอาจังมีน้อย ทั้งสำนักเรียนวัดทองนพคุณ แต่ก่อนนี้ก็เป็นสำนักเรียนย่อย ต้องไปพลอยขอ สอบสนามหลวง สมทบกับสำนักเรียนวัดอนงคารามเจ้าสังกัด ท่านจึงคิดมุ่งเน้นด้านสอนบาลีที่สำนักเรียนวัด
ทองนพคุณ โดยจัดตั้งเป็นสำนักเรียนอิสระขึ้น ทางสำนักเรียนแยกส่งนักเรียนเข้าสอบสนามหลวงโดยตรง ไม่ ต้องผ่านสำนักเรียนวัดอนงคารามอีกต่อไป ทำให้ท่านได้รับตราตั้งจากสมเด็จพระพุฒาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดธนบุรี ให้เป็นครูสอนปริยัติธรรม และได้เป็นพระราชาคณะที่พระกิตติสารโศภน ในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ด้วยความทุ่มเทกวดขันและเอาใจใส่ลูกศิษย์อย่างจริงจังทำให้ชื่อเสียงเกียรติคุณของสำนักเรียนวัด ทองนพคุณ ระบือลือไปทั่วทุกทิศ จนท่านเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระวันรัต วัดเบญจมบพิตร แม่กอง บาลีในเวลานั้น ที่ให้ท่านตรวจประโยค ๘ ประโยค ๙ แทน เวลาไปต่างประเทศ และในปลายปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ท่านก็ได้เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่พระราชเวที การสั่งสอนพระปริยัติธรรมของท่านขึ้นถึงจุดสุดยอด ในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ ด้วยสามเณรเสรียรพงษ์ วรรณปก ศิษย์ของท่านสอบไล่ได้ประโยค ๙ นับเป็นรูปแรกในรัชกาลปัจจุบัน หรือรูปแรกนับแต่ประกาศ ยกเลิกการสอบด้วยวิธีแปลปากมาเป็นการสอบด้วยวิธีแปลเขียนเป็นตันมา จากนั้นท่านก็ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์ ขึ้นเป็นพระเทพเมธี ในบรรดาศิษยานุศิษย์ที่ผ่านการเรียนภาษาบาลีไปจากท่าน ไปสอบเปรียญธรรมสูงสุดจนจบ หลักสูตร นับจาก พ.ศ. ๒๕๐๐-๒๕๐๖ มีมากถึง ๔๕ รูป โดยในแต่ละปีจะมีศิษย์ของท่านสอบได้แบบยกชั้น แทบทั้งสิ้น
เมื่อพระภัทรมุนีถึงแก่มรณภาพลงเมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๔ พระเทพเมธีได้เป็นผู้รักษา
การแทนเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ และรักษาการแทนเจ้าคณะอำเภอธนบุรี แล้วได้เป็นเจ้าอาวาสและพระอุปัชฌาย์สืบต่อมา
แต่หลังจากพ.ศ. ๒๕๐๕ เป็นต้นมา การสอนบาลีของท่านก็ผ่อนลง เพราะท่านโหมงานหนักเกินไป
ขณะดูหนังสือตรวจการบ้านอยู่นั้น ปรากฎว่านัยน์ตาดับมีดลงไปทันที จนต้องส่งโรงพยาบาล สมเด็จพระสังฆราช วัดเบญจมบพิตร ถึงกับโปรดให้แพทย์ประจำพระองค์มาเยียวยารักษาจนตาหายมองเห็นได้อีก แต่สุขภาพท่านก็ไม่แข็งแรงดังเก่าแล้ว เมื่อท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็น "เจ้าคณะจังหวัดธนบุรี" เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ ท่าน ก็ทุ่มเทให้กับงานในหน้าที่อย่างเต็มที่ ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ก็ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระธรรมเจดีย์ กวีวงศนายก ตรีปิฎก บัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี สถิต ณ วัดทองนพคุณ พระอารามหลวง ซึ่งนับว่าสูงกว่า เจ้าอาวาสที่แล้ว ๆ มาทุกรูป จากนั้นท่านก็ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าคณะภาค ๔ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๖ และดำรงตำแหน่งนี้อยู่จนถึงมรณภาพ ด้วยโรคเส้นเลือดหัวใจตีบเมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ สิริอายุได้ ๗๑ ปี
พรรษา ๕๑
ที่มา : สำนักงานเขตคลองสาน. (๒๕๕๔).พระธรรมเจดีย์ (กี มารชีโน, ป.ธ. ๙). ใน สมโภช ๑๐๐ ปี เขตคลองสาน. (น. ๑๑๔- ๑๑๕). ม.ป.พ.
อดีตเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ, อดีตเจ้าคณะจังหวัดธนบุรี, อดีตเจ้าคณะภาค ๔
"พระธรรมเจดีย์" เป็นบุตรคนสุดท้องของนายแสงกับนางลุ้ย เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ.๒๔๕๑ ตรงกับวันแรม ๗ ค่ำ เดือน ๔ ปีวอก นามเดิม กี แช่ตัน มีพี่น้องด้วยกันทั้งหมด ๘ คน
ท่านเป็นชาวบ้านตำบลหนองตีนนก อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อวัยเยาว์ได้เข้ารับการ
ศึกษาวิชาสามัญ จนจบชั้นประถมบริบูรณ์ ที่โรงเรียนสนามจันทร์ และได้ย้ายมาอยู่ที่วัดทองนพคุณ กิ่งอำเภอ คลองสาน จังหวัดธนบุรี เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๕ โดยเข้ามาศึกษาพระปริยัติธรรม และได้บรรพชา ที่วัดทองนพคุณ เมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคมปีนั้นเอง โดยมี พระครูวิเศษศีลคุณ (ชุ่ม ติสาโร) เจ้าอาวาส เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านสอบเข้านักธรรมตรีได้ก่อนแล้ว ได้เป็นเปรียญเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙ เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ ท่านได้เข้ารับการอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดทองนพคุณ โดยมีพระมงคลเทพมุนี (นวม พุทฺธสโร) วัดอนงคารามซึ่งต่อมาได้รับสถาปนาสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระพุฒจารย์) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสังวรวิมล (ชุ่ม ติสาโร) เป็นพระกรรมว่าจาจารย์ และพระสมุห์ชื้อ พฺรหฺมสโร เป็น พระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า "มารชิโน" นอกจากท่านจะเล่าเรียนเพื่อสอบให้เป็นเปรียญสูงขึ้นไปแล้ว ท่านยังได้สั่งสอนพระภิกษุสามเณรมา พ.ศ.๒๔๙๖ สอนขยับตามวิทยฐานะของท่านเรื่อยมา ตั้งแต่นักธรรมตรีจนนักธรรมเอก ตั้งแต่เรียนเปรียญตรี จนจบเปรียญเอก และได้เป็นกรรมการตรวจธรรมและบาลีสนามหลวง โดยได้รับตราตั้งจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ เป็นกรรมการออกปัญหา นักธรรมและบาลีสนามหลวง เป็นประธานกรรมการวิจัยประจำสาขาแผนกศึกษา พอท่านได้เป็นเปรียญธรรม ๘ ประโยค ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระวินัยธรชั้นต้น ภาค ๑ เขต ๑ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๘, ได้เป็นกรรมการแปลพระไตรปิฎกและกรรมการชำระอรรถกถา, ทางเจ้าคณะจังหวัดธนบุรีตั้งให้ท่านเป็นพระกรรมวาจาจารย์เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ เวลานั้นท่านอายุ ๓๙ ปี พรรษา ๑๘
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการสงฆ์องค์การศึกษา อำเภอธนบุรี โดยมี
พระภัทรมุนี (อิ่น ภัทฺรมุนี) เป็นเจ้าคณะอำเภอ ท่านอยู่ในตำแหน่งนี้จนพระภัทรมุนีถึงแก่มรณภาพ ก็ได้ขึ้น เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะอำเภอใน พ.ศ. ๒๕๐๕ และได้เป็นเจ้าคณะอำเภอ เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๙ โดยรักษาการอยู่กว่า ๔ ปี คุณวิเศษที่สำคัญของท่าน เริ่มต้นแต่เมื่อท่านสอบไส่ได้ประโยค ๙ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๓ แล้วนั้น ทำให้ ท่านหมดห่วงทางด้านการเรียนอีกต่อไป และได้เล็งเห็นว่านักเรียนบาลีที่แล้ว ๆ มา หาครูอาจารย์ที่จะทุ่มเท ชีวิตให้อย่างเอาจริงเอาจังมีน้อย ทั้งสำนักเรียนวัดทองนพคุณ แต่ก่อนนี้ก็เป็นสำนักเรียนย่อย ต้องไปพลอยขอ สอบสนามหลวง สมทบกับสำนักเรียนวัดอนงคารามเจ้าสังกัด ท่านจึงคิดมุ่งเน้นด้านสอนบาลีที่สำนักเรียนวัด
ทองนพคุณ โดยจัดตั้งเป็นสำนักเรียนอิสระขึ้น ทางสำนักเรียนแยกส่งนักเรียนเข้าสอบสนามหลวงโดยตรง ไม่ ต้องผ่านสำนักเรียนวัดอนงคารามอีกต่อไป ทำให้ท่านได้รับตราตั้งจากสมเด็จพระพุฒาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดธนบุรี ให้เป็นครูสอนปริยัติธรรม และได้เป็นพระราชาคณะที่พระกิตติสารโศภน ในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ด้วยความทุ่มเทกวดขันและเอาใจใส่ลูกศิษย์อย่างจริงจังทำให้ชื่อเสียงเกียรติคุณของสำนักเรียนวัด ทองนพคุณ ระบือลือไปทั่วทุกทิศ จนท่านเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระวันรัต วัดเบญจมบพิตร แม่กอง บาลีในเวลานั้น ที่ให้ท่านตรวจประโยค ๘ ประโยค ๙ แทน เวลาไปต่างประเทศ และในปลายปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ท่านก็ได้เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่พระราชเวที การสั่งสอนพระปริยัติธรรมของท่านขึ้นถึงจุดสุดยอด ในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ ด้วยสามเณรเสรียรพงษ์ วรรณปก ศิษย์ของท่านสอบไล่ได้ประโยค ๙ นับเป็นรูปแรกในรัชกาลปัจจุบัน หรือรูปแรกนับแต่ประกาศ ยกเลิกการสอบด้วยวิธีแปลปากมาเป็นการสอบด้วยวิธีแปลเขียนเป็นตันมา จากนั้นท่านก็ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์ ขึ้นเป็นพระเทพเมธี ในบรรดาศิษยานุศิษย์ที่ผ่านการเรียนภาษาบาลีไปจากท่าน ไปสอบเปรียญธรรมสูงสุดจนจบ หลักสูตร นับจาก พ.ศ. ๒๕๐๐-๒๕๐๖ มีมากถึง ๔๕ รูป โดยในแต่ละปีจะมีศิษย์ของท่านสอบได้แบบยกชั้น แทบทั้งสิ้น
เมื่อพระภัทรมุนีถึงแก่มรณภาพลงเมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๔ พระเทพเมธีได้เป็นผู้รักษา
การแทนเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ และรักษาการแทนเจ้าคณะอำเภอธนบุรี แล้วได้เป็นเจ้าอาวาสและพระอุปัชฌาย์สืบต่อมา
แต่หลังจากพ.ศ. ๒๕๐๕ เป็นต้นมา การสอนบาลีของท่านก็ผ่อนลง เพราะท่านโหมงานหนักเกินไป
ขณะดูหนังสือตรวจการบ้านอยู่นั้น ปรากฎว่านัยน์ตาดับมีดลงไปทันที จนต้องส่งโรงพยาบาล สมเด็จพระสังฆราช วัดเบญจมบพิตร ถึงกับโปรดให้แพทย์ประจำพระองค์มาเยียวยารักษาจนตาหายมองเห็นได้อีก แต่สุขภาพท่านก็ไม่แข็งแรงดังเก่าแล้ว เมื่อท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็น "เจ้าคณะจังหวัดธนบุรี" เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ ท่าน ก็ทุ่มเทให้กับงานในหน้าที่อย่างเต็มที่ ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ก็ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระธรรมเจดีย์ กวีวงศนายก ตรีปิฎก บัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี สถิต ณ วัดทองนพคุณ พระอารามหลวง ซึ่งนับว่าสูงกว่า เจ้าอาวาสที่แล้ว ๆ มาทุกรูป จากนั้นท่านก็ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าคณะภาค ๔ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๖ และดำรงตำแหน่งนี้อยู่จนถึงมรณภาพ ด้วยโรคเส้นเลือดหัวใจตีบเมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ สิริอายุได้ ๗๑ ปี
พรรษา ๕๑
ที่มา : สำนักงานเขตคลองสาน. (๒๕๕๔).พระธรรมเจดีย์ (กี มารชีโน, ป.ธ. ๙). ใน สมโภช ๑๐๐ ปี เขตคลองสาน. (น. ๑๑๔- ๑๑๕). ม.ป.พ.
รูปแบบ
application/pdf
ภาษา
tha
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
หัวเรื่อง
พระธรรมเจดีย์ (กี), 2451-2522
เจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ
บุคคลสำคัญ
คอลเลกชั่น
“พระธรรมเจดีย์ (กี มารชิโน, ป.ธ. ๙)”, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, 2566-02-27, คลังข้อมูลประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, accessed November 26, 2024, http://202.29.54.157/s/information/item/2632