พระยามไหสวรรย์
Item
ชื่อเรื่อง
พระยามไหสวรรย์
วันที่
2566-03-08
รายละเอียด
อดีตรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์, ผู้นำความเจริญมาสู่ธนบุรีและคลองสาน
"พระยามไหสวรรย์ " นามเดิม กอ สมบัติศิริ เกิดเมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๐ ที่ตำบล
หัวลำโพง ถนนพระราม ๔ จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของนายฉายและนางนวม สมบัติศิริ
ท่านเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญ สอบไส่ได้ตามหลักสูตรชั้น ๔ ได้รับใบเทียบความรู้มัธยมพิเศษ และเริ่มรับราชการครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๘ ในตำแหน่งนายเวรหนังสือ ในกรมเจ้าท่า กระทรวงนครบาล ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๖๐ ได้โอนมาอยู่กระทรวงการคลัง จนกระทั่งได้ดำรงตำแหน่งเลขาสภาการคลังเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒ และได้ลาออกรับบำนาญเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖ ถูกเรียกตัวกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นระยะเวลา ๑ ปี ก็ขอลาออก พ.ศ. ๒๔๘๐ ด้รับแต่งตั้งจากกระทวงมหาดไทยให้ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีนครธนบุรี
พ.ศ. ๒๔๘๔ ขณะที่เป็นนายกเทศมนตรี ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีสั่งราชการกระทรวงพาณิชย์ด้วย เมื่อ การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลกึ่งหนึ่งและแต่งตั้งกึ่งหนึ่ง จึงขอตัวรับราชการด้านเดียว และได้เลื่อนเป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ ได้ลาออกรับบำนาญ และ พ.ศ. ๒๔๘๙ ได้รับเเลือกเป็นนายกเทศบาลนครธนบุรี ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และปี พ.ศ. ๒๔๙๑ ลาออกรับบำนาญ
ตำแหน่งพิเศษหลังจากลาออก รับพระราชทานบำนาญแล้ว ท่านได้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญคือกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์กรีซ, ประธานสภาเทศบาลนครธนบุรี, นายกเทศมนตรี, กรรมการทรงคุณวุฒิ สภาลูกเสือแห่งชาติ และ ประธานสภากรุงเทพมหานครเป็นคนแรก
ผลงานของพระยามไหสวรรย์
งานทางด้านการเมืองและเทศบาล ท่านเป็นนายกเทศมนตรีท่านหนึ่งที่อยู่หลายสมัยที่สุดในประเทศไทย การบริหารงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยไม่มีสิ่งใดที่จะเป็นข้อครหา ท่านมีวิธีการทำงานโดยใช้น้ำใจไม่ใช้อำนาจ ในการสั่งการ ระหว่างที่เป็นนายกเทศมนตรีนครธนบุรี ท่านคลุกคลีกับการเมืองทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติเรื่อยมา และใด้สร้างความเจริญรุ่งเรื่องให้แก่ธนบุรีมาเป็นลำดับ เพราะธนบุรีในสมัยนั้นถนนหนทางมีน้อย ทำนได้ทำนุบำรุงและสร้างถนนหนทางโดยต่อถนนตากสินจากวงเวียนใหญ่ไปถึงดาวคะนอง สร้างถนนเจริญนคร ถนนมไหสวรรย์ และถนนต่อจากตลาดพลูไปภาษีเจริญ สำหรับการตัดถนนเจริญนคร ส่งต่อจากถนนสมเด็จเจ้าพระยาเลียบแม่น้ำไปยังบุคคโล และตัดถนนตากสินต่อจากถนประชาธิปกไปยังดาวคะนอง ซึ่งการตัดถนนทั้งสองสายนี้ ถ้ากระทำในสมัยปัจจุบัน เฉพาะค่าที่ดินก็ต้องเสียค่าชดเชยเป็นร้อย ๆ ล้าน แต่ท่านขอความเห็นใจจากชาวบ้านที่เป็นเจ้าของที่ดินโดย การไปมาหาสู่ เชิญมาประชุมลี้ยงน้ำชากันบ้าง ในที่สุดก็ได้ที่ดินติดถนนโดยไม่ต้องเสียค่าชดเชยเลย แสดงถึงความสามารถ ความตั้งใจ และความบริสุทธิ์ใจของท่าน ที่จะสร้างบ้านเมืองเพื่อประโยชน์ของคนรุ่นหลัง อย่างแท้จริง
งานด้านศาสนา
พระยามไหสวรรย์อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๗ ณ วัดปทุมคงคา ท่านเป็นผู้ที่มีศีลธรรมประจำใจอยู่
เป็นนิจ ผู้ที่รู้จักคุ้นเคยกับท่านทุกคนจะยอมรับว่าท่านมีความมตตากรุณาเป็นอุปนิสัย การทำบุญกุศลของท่านส่วนใหญ่มุ่งไปในเรื่องการศึกษา เช่น ตั้งโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ขึ้นที่วัดอนงคาราม สำหรับเรื่องเกี่ยวกับธรรมะ ท่านเคยแต่งโคลงแปลพุทธภาษิต และเขียนบทความไว้บ้าง เช่นทุกข์กับสุข, คนเราต้องมีศาสนา และความสุขผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ
งานด้านสังคม
งานสังคมที่ทำนภูมิใจได้แก่ การรับตำเหน่งกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ประเทศกรีซประจำประเทศไทย
ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๐๔-๒๕๑๒ และงานสังคมที่ท่านรักที่สุดก็คืองานของสโมสรโรตารี่ธนบุรี ซึ่งท่านได้ริเริ่มก่อตั้งเป็นคนแรก ถึงแม้พระยามไหสวรรย์จะมีอายุล่วงเข้าวัยชราแล้วก็ตาม แต่ท่านก็มีสุขภาพสมบูรณ์และมีความจำแม่นยำ ท่านยังดำรงตำแหน่งประธานสภากรุงเทพมหานคร ประธานหรือที่ปรึกษาของบริษัทธุรกิจหลายแห่งอยู่จนวาระสุดท้าย ท่านเริ่มป่วยด้วยโรคหลอดลมอักเสบ และสัปดาห์สุดท้ายของชีวิตมีใข้หวัดใหญ่เข้า แทรก ทำให้ถึงแก่อนิจกรรมด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ สีริอายุ ๘๗ ปี
ที่มา : สำนักงานเขตคลองสาน. (๒๕๕๔).พระยามไหสวรรย์. ใน สมโภช ๑๐๐ ปี เขตคลองสาน. (น. ๑๒๔- ๑๒๕). ม.ป.พ.
"พระยามไหสวรรย์ " นามเดิม กอ สมบัติศิริ เกิดเมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๐ ที่ตำบล
หัวลำโพง ถนนพระราม ๔ จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของนายฉายและนางนวม สมบัติศิริ
ท่านเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญ สอบไส่ได้ตามหลักสูตรชั้น ๔ ได้รับใบเทียบความรู้มัธยมพิเศษ และเริ่มรับราชการครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๘ ในตำแหน่งนายเวรหนังสือ ในกรมเจ้าท่า กระทรวงนครบาล ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๖๐ ได้โอนมาอยู่กระทรวงการคลัง จนกระทั่งได้ดำรงตำแหน่งเลขาสภาการคลังเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒ และได้ลาออกรับบำนาญเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖ ถูกเรียกตัวกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นระยะเวลา ๑ ปี ก็ขอลาออก พ.ศ. ๒๔๘๐ ด้รับแต่งตั้งจากกระทวงมหาดไทยให้ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีนครธนบุรี
พ.ศ. ๒๔๘๔ ขณะที่เป็นนายกเทศมนตรี ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีสั่งราชการกระทรวงพาณิชย์ด้วย เมื่อ การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลกึ่งหนึ่งและแต่งตั้งกึ่งหนึ่ง จึงขอตัวรับราชการด้านเดียว และได้เลื่อนเป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ ได้ลาออกรับบำนาญ และ พ.ศ. ๒๔๘๙ ได้รับเเลือกเป็นนายกเทศบาลนครธนบุรี ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และปี พ.ศ. ๒๔๙๑ ลาออกรับบำนาญ
ตำแหน่งพิเศษหลังจากลาออก รับพระราชทานบำนาญแล้ว ท่านได้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญคือกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์กรีซ, ประธานสภาเทศบาลนครธนบุรี, นายกเทศมนตรี, กรรมการทรงคุณวุฒิ สภาลูกเสือแห่งชาติ และ ประธานสภากรุงเทพมหานครเป็นคนแรก
ผลงานของพระยามไหสวรรย์
งานทางด้านการเมืองและเทศบาล ท่านเป็นนายกเทศมนตรีท่านหนึ่งที่อยู่หลายสมัยที่สุดในประเทศไทย การบริหารงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยไม่มีสิ่งใดที่จะเป็นข้อครหา ท่านมีวิธีการทำงานโดยใช้น้ำใจไม่ใช้อำนาจ ในการสั่งการ ระหว่างที่เป็นนายกเทศมนตรีนครธนบุรี ท่านคลุกคลีกับการเมืองทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติเรื่อยมา และใด้สร้างความเจริญรุ่งเรื่องให้แก่ธนบุรีมาเป็นลำดับ เพราะธนบุรีในสมัยนั้นถนนหนทางมีน้อย ทำนได้ทำนุบำรุงและสร้างถนนหนทางโดยต่อถนนตากสินจากวงเวียนใหญ่ไปถึงดาวคะนอง สร้างถนนเจริญนคร ถนนมไหสวรรย์ และถนนต่อจากตลาดพลูไปภาษีเจริญ สำหรับการตัดถนนเจริญนคร ส่งต่อจากถนนสมเด็จเจ้าพระยาเลียบแม่น้ำไปยังบุคคโล และตัดถนนตากสินต่อจากถนประชาธิปกไปยังดาวคะนอง ซึ่งการตัดถนนทั้งสองสายนี้ ถ้ากระทำในสมัยปัจจุบัน เฉพาะค่าที่ดินก็ต้องเสียค่าชดเชยเป็นร้อย ๆ ล้าน แต่ท่านขอความเห็นใจจากชาวบ้านที่เป็นเจ้าของที่ดินโดย การไปมาหาสู่ เชิญมาประชุมลี้ยงน้ำชากันบ้าง ในที่สุดก็ได้ที่ดินติดถนนโดยไม่ต้องเสียค่าชดเชยเลย แสดงถึงความสามารถ ความตั้งใจ และความบริสุทธิ์ใจของท่าน ที่จะสร้างบ้านเมืองเพื่อประโยชน์ของคนรุ่นหลัง อย่างแท้จริง
งานด้านศาสนา
พระยามไหสวรรย์อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๗ ณ วัดปทุมคงคา ท่านเป็นผู้ที่มีศีลธรรมประจำใจอยู่
เป็นนิจ ผู้ที่รู้จักคุ้นเคยกับท่านทุกคนจะยอมรับว่าท่านมีความมตตากรุณาเป็นอุปนิสัย การทำบุญกุศลของท่านส่วนใหญ่มุ่งไปในเรื่องการศึกษา เช่น ตั้งโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ขึ้นที่วัดอนงคาราม สำหรับเรื่องเกี่ยวกับธรรมะ ท่านเคยแต่งโคลงแปลพุทธภาษิต และเขียนบทความไว้บ้าง เช่นทุกข์กับสุข, คนเราต้องมีศาสนา และความสุขผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ
งานด้านสังคม
งานสังคมที่ทำนภูมิใจได้แก่ การรับตำเหน่งกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ประเทศกรีซประจำประเทศไทย
ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๐๔-๒๕๑๒ และงานสังคมที่ท่านรักที่สุดก็คืองานของสโมสรโรตารี่ธนบุรี ซึ่งท่านได้ริเริ่มก่อตั้งเป็นคนแรก ถึงแม้พระยามไหสวรรย์จะมีอายุล่วงเข้าวัยชราแล้วก็ตาม แต่ท่านก็มีสุขภาพสมบูรณ์และมีความจำแม่นยำ ท่านยังดำรงตำแหน่งประธานสภากรุงเทพมหานคร ประธานหรือที่ปรึกษาของบริษัทธุรกิจหลายแห่งอยู่จนวาระสุดท้าย ท่านเริ่มป่วยด้วยโรคหลอดลมอักเสบ และสัปดาห์สุดท้ายของชีวิตมีใข้หวัดใหญ่เข้า แทรก ทำให้ถึงแก่อนิจกรรมด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ สีริอายุ ๘๗ ปี
ที่มา : สำนักงานเขตคลองสาน. (๒๕๕๔).พระยามไหสวรรย์. ใน สมโภช ๑๐๐ ปี เขตคลองสาน. (น. ๑๒๔- ๑๒๕). ม.ป.พ.
รูปแบบ
application/pdf
ภาษา
tha
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
หัวเรื่อง
พระยามไหสวรรย์
คลองสาน
สำนักงานเขตคลองสาน
บุคคลสำคัญ
คอลเลกชั่น
“พระยามไหสวรรย์”, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, 2566-03-08, คลังข้อมูลประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, accessed November 26, 2024, http://202.29.54.157/s/information/item/2636