หอเก็บน้ำดาวคะนอง
Item
ชื่อเรื่อง
หอเก็บน้ำดาวคะนอง
ประเภท
วีดีโอ
ผู้แต่ง
Anong Lertrakskun
วันที่
2567-01-30
รายละเอียด
หอเก็บน้ำดาวคะนอง
หอเก็บน้ำหรือหอน้ำประปาเป็นถังที่ใช้กักเก็บน้ำเพื่อใช้งานในพื้นที่ต่างๆ ได้ หอเก็บน้ำที่ดาวคะนอง(ชาวบ้านเรียกแท้งค์น้ำดาวคะนอง) ครั้งหนึ่งสำหรับเก็บน้ำไว้ใช้ในชุมชน เหตุผลที่มันอยู่สูงก็เพื่ออาศัยแรงโน้มถ่วงของโลกเพิ่มแรงดันน้ำให้จ่ายไปถึงบ้านเรือนหรือสถานที่ที่ต้องการใช้น้ำเพื่ออุปโภคบริโภคได้ หอเก็บน้ำรุ่นก่อนทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก มีหลายทรง ดูคล้ายๆ ถ้วย หอที่ดาวคะนองนี้อยู่บริเวณหัวถนนจอมทอง มีทรงเหมือนชามกะละมังสำหรับรองน้ำ ลักษณะสูงใหญ่เห็นได้แต่ไกลจากคลองดาวคะนองใกล้แม่น้ำเจ้าพระยา
ตามประวัติการประปาในไทยเกิดขึ้นเมื่อในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำริจัดหาน้ำบริโภคสำหรับประชาชนในเขตพระนคร โดยมีจุดเริ่มที่คลองเชียงรากเนื่องจากเป็นจุดที่น้ำทะเลที่มีความเค็มขึ้นไปไม่ถึงและขยับขยายมาถึงคลองสามเสน สมัยนั้นกรุงเทพฯ มีประชากรราว 333,000 คน อยู่ทางฝั่งพระนครประมาณ 280,000 คน อยู่ทางฝั่งธนบุรีประมาณ 50,000 คน ต่างได้อาศัยน้ำฝนที่รองจากหลังคามาใช้ดื่มกิน แต่ส่วนใหญ่จะใช้น้ำจากแม่น้ำลำคลองต่างๆ ซึ่งมีมากมาย หรือใช้น้ำบ่อ น้ำจากร่องสวน เป็นต้น ในปีพ.ศ.2475 มีสร้างสะพานพุทธยอดฟ้าพร้อมทั้งวางท่อขนาด 500 ม.ม.ขนานไปกับสะพานเพื่อจ่ายน้ำไปทางฝั่งธนบุรี แถบถนนประชาธิปก วงเวียนเล็ก ถนนสมเด็จเจ้าพระยา โรงพยาบาลโรคจิต(หรือรพ.สมเด็จเจ้าพระยา) แต่มาชำรุดเสียหายเมื่อคราวถูกลูกระเบิดในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ราวๆ ปีพ.ศ.2485-2486 คนกรุงเทพใช้น้ำประปาได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่วนมากจะรองเอาจากก๊อกน้ำสาธารณะต่างๆ ชาวบ้านที่อยู่แถบชานเมืองไม่มีน้ำประปาใช้ บางที่ขนโอ่งลงเรือมาบรรทุกน้ำไปวันละหลายๆ ลำโดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูร้อน และทางการประปาก็เพิ่มปริมาณการผลิตน้ำเรื่อยมา
ที่มา : Anong Lertrakskun .(2567,มกราคม 28). หอเก็บน้ำดาวคะนอง. [Video or Image attached]. Facebook. https://www.facebook.com/groups/336427676748389
หอเก็บน้ำหรือหอน้ำประปาเป็นถังที่ใช้กักเก็บน้ำเพื่อใช้งานในพื้นที่ต่างๆ ได้ หอเก็บน้ำที่ดาวคะนอง(ชาวบ้านเรียกแท้งค์น้ำดาวคะนอง) ครั้งหนึ่งสำหรับเก็บน้ำไว้ใช้ในชุมชน เหตุผลที่มันอยู่สูงก็เพื่ออาศัยแรงโน้มถ่วงของโลกเพิ่มแรงดันน้ำให้จ่ายไปถึงบ้านเรือนหรือสถานที่ที่ต้องการใช้น้ำเพื่ออุปโภคบริโภคได้ หอเก็บน้ำรุ่นก่อนทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก มีหลายทรง ดูคล้ายๆ ถ้วย หอที่ดาวคะนองนี้อยู่บริเวณหัวถนนจอมทอง มีทรงเหมือนชามกะละมังสำหรับรองน้ำ ลักษณะสูงใหญ่เห็นได้แต่ไกลจากคลองดาวคะนองใกล้แม่น้ำเจ้าพระยา
ตามประวัติการประปาในไทยเกิดขึ้นเมื่อในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำริจัดหาน้ำบริโภคสำหรับประชาชนในเขตพระนคร โดยมีจุดเริ่มที่คลองเชียงรากเนื่องจากเป็นจุดที่น้ำทะเลที่มีความเค็มขึ้นไปไม่ถึงและขยับขยายมาถึงคลองสามเสน สมัยนั้นกรุงเทพฯ มีประชากรราว 333,000 คน อยู่ทางฝั่งพระนครประมาณ 280,000 คน อยู่ทางฝั่งธนบุรีประมาณ 50,000 คน ต่างได้อาศัยน้ำฝนที่รองจากหลังคามาใช้ดื่มกิน แต่ส่วนใหญ่จะใช้น้ำจากแม่น้ำลำคลองต่างๆ ซึ่งมีมากมาย หรือใช้น้ำบ่อ น้ำจากร่องสวน เป็นต้น ในปีพ.ศ.2475 มีสร้างสะพานพุทธยอดฟ้าพร้อมทั้งวางท่อขนาด 500 ม.ม.ขนานไปกับสะพานเพื่อจ่ายน้ำไปทางฝั่งธนบุรี แถบถนนประชาธิปก วงเวียนเล็ก ถนนสมเด็จเจ้าพระยา โรงพยาบาลโรคจิต(หรือรพ.สมเด็จเจ้าพระยา) แต่มาชำรุดเสียหายเมื่อคราวถูกลูกระเบิดในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ราวๆ ปีพ.ศ.2485-2486 คนกรุงเทพใช้น้ำประปาได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่วนมากจะรองเอาจากก๊อกน้ำสาธารณะต่างๆ ชาวบ้านที่อยู่แถบชานเมืองไม่มีน้ำประปาใช้ บางที่ขนโอ่งลงเรือมาบรรทุกน้ำไปวันละหลายๆ ลำโดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูร้อน และทางการประปาก็เพิ่มปริมาณการผลิตน้ำเรื่อยมา
ที่มา : Anong Lertrakskun .(2567,มกราคม 28). หอเก็บน้ำดาวคะนอง. [Video or Image attached]. Facebook. https://www.facebook.com/groups/336427676748389
ภาษา
tha
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
หัวเรื่อง
หอเก็บน้ำดาวคะนอง
น้ำปะปา
ดาวคะนอง
สิ่งก่อสร้างและสถานที่
คอลเลกชั่น
Anong Lertrakskun, “หอเก็บน้ำดาวคะนอง”, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, 2567-01-30, คลังข้อมูลประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, accessed November 23, 2024, http://202.29.54.157/s/information/item/2823