การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ออน์ไลน์ด้วยกระบวนการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาปริญญาตรี
Item
ชื่อเรือง
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ออน์ไลน์ด้วยกระบวนการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาปริญญาตรี
ชื่อเรื่องรอง
Developing an online learning management model with an active learning process to promote knowledge management abilities of undergraduate
students.
students.
ผู้แต่ง
อภิญญา หนูมี
หัวเรื่อง
การจัดการเรียนรู้ออน์ไลน์
การเรียนรู้เชิงรุก
นักศึกษาปริญญาตรี
รายละเอียดอื่นๆ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ด้วยกระบวนการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้ของนักศึกษาปริญญาตรีประชากรและกลุ่มตัวอย่าง มี 3 ระยะ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้มี 2 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 ประชากรในการกำหนดองค์ประกอบและร่างต้นแบบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ได้แก่ นักวิชาการ อาจารย์ผู้สอน และนักศึกษา จ านวน 29 คน กลุ่มที่ 2 ประชากรในการประเมินองค์ประกอบและ สร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้จำนวน 15 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบประเมินองค์ประกอบและร่างต้นแบบ ของรูปแบบ สถิติที่ใช้คือค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ค่ามัธยฐาน (Mdn) และค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์ (IQR) ระยะที่ 2 การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้มีกลุ่มทดลอง 1 กลุ่ม ได้แก่
นักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการ ออกแบบสารสนเทศเพื่อการนำเสนอ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จ านวน 30 คน คัดเลือก กลุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ระยะที่ 3 การรับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้มี 1 กลุ่ม ได้แก่ นักวิชาการ จำนวน 7 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง และใช้แบบประเมินและ รับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นใช้หลักการ 7 ข้อ ประกอบด้วย การจัดการเรียนรู้
เชิงรุก การจัดการเรียนรู้ออนไลน์การประเมินตามสภาพจริง เครื่องมือการเรียนรู้ออนไลน์การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ กระบวนการจัดการความรู้และแนวคิดวิธีการเชิงระบบ วัตถุประสงค์ ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้ของนักศึกษาระดับ ปริญญาตรี มีขั้นตอนการจัดการความรู้ 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การบ่งชี้ความรู้ 2) การแสวงหาความรู้ 3) การจัดการความรู้ 4) การถ่ายทอดความรู้ และ 5) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำความรู้ไป ประยุกต์ใช้ ในแต่ละขั้นตอนการจัดการเรียนรู้จะมีรายละเอียดของกิจกรรม เครื่องมือการเรียนรู้ ออนไลน์ที่เหมาะสมสำหรับแต่ละขั้น ประกอบด้วย Google Classroom Google Docs Google Search Engine Google Meet YouTube และ Mind Manager การวัดและประเมินผลการจัดการ เรียนรู้ตามรูปแบบใช้การประเมินตามสภาพจริงโดยการประเมินจากชิ้นงาน ทั้งนี้รูปแบบการเรียนรู้
ที่พัฒนาขึ้นมีผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมและเป็นไปได้ระดับมากที่สุด
2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ด้วยการเปรียบเทียบความสามารถในการ
จัดการความรู้ 3 ครั้ง ของผู้เรียนกลุ่มทดลองที่เรียนด้วยรูปแบบดังกล่าวตลอดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 พบว่า ผู้เรียนมีความสามารถในการจัดการความรู้เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ดังกล่าวในระดับความพึงพอใจ มากที่สุด
3. ผลการรับรองรูปแบบพบว่า ในภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมมากที่สุด และผู้เชี่ยวชาญ ทุกท่านให้การรับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้ดังกล่าว จึงถือได้ว่ารูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความ เหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่จะนำไปประยุกต์ใช้ได้กับการเรียนรู้ในรายวิชาที่เหมาะสมต่อไป
คำสำคัญ: รูปแบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์กระบวนการเรียนรู้เชิงรุก ความสามารถในการจัดการความรู้
นักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการ ออกแบบสารสนเทศเพื่อการนำเสนอ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จ านวน 30 คน คัดเลือก กลุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ระยะที่ 3 การรับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้มี 1 กลุ่ม ได้แก่ นักวิชาการ จำนวน 7 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง และใช้แบบประเมินและ รับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นใช้หลักการ 7 ข้อ ประกอบด้วย การจัดการเรียนรู้
เชิงรุก การจัดการเรียนรู้ออนไลน์การประเมินตามสภาพจริง เครื่องมือการเรียนรู้ออนไลน์การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ กระบวนการจัดการความรู้และแนวคิดวิธีการเชิงระบบ วัตถุประสงค์ ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้ของนักศึกษาระดับ ปริญญาตรี มีขั้นตอนการจัดการความรู้ 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การบ่งชี้ความรู้ 2) การแสวงหาความรู้ 3) การจัดการความรู้ 4) การถ่ายทอดความรู้ และ 5) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำความรู้ไป ประยุกต์ใช้ ในแต่ละขั้นตอนการจัดการเรียนรู้จะมีรายละเอียดของกิจกรรม เครื่องมือการเรียนรู้ ออนไลน์ที่เหมาะสมสำหรับแต่ละขั้น ประกอบด้วย Google Classroom Google Docs Google Search Engine Google Meet YouTube และ Mind Manager การวัดและประเมินผลการจัดการ เรียนรู้ตามรูปแบบใช้การประเมินตามสภาพจริงโดยการประเมินจากชิ้นงาน ทั้งนี้รูปแบบการเรียนรู้
ที่พัฒนาขึ้นมีผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมและเป็นไปได้ระดับมากที่สุด
2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ด้วยการเปรียบเทียบความสามารถในการ
จัดการความรู้ 3 ครั้ง ของผู้เรียนกลุ่มทดลองที่เรียนด้วยรูปแบบดังกล่าวตลอดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 พบว่า ผู้เรียนมีความสามารถในการจัดการความรู้เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ดังกล่าวในระดับความพึงพอใจ มากที่สุด
3. ผลการรับรองรูปแบบพบว่า ในภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมมากที่สุด และผู้เชี่ยวชาญ ทุกท่านให้การรับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้ดังกล่าว จึงถือได้ว่ารูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความ เหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่จะนำไปประยุกต์ใช้ได้กับการเรียนรู้ในรายวิชาที่เหมาะสมต่อไป
คำสำคัญ: รูปแบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์กระบวนการเรียนรู้เชิงรุก ความสามารถในการจัดการความรู้
ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน
ศิริกาญจน์ โพธิ์เขียว
นุกูล สาระวงศ์
สมบัติ ทีฒทรัพย์
วันที่ ปีที่จัดพิมพ์
2566
วันที่ผลิต วันที่จัดทำ
2568-01-08
วันที่ปรับปรุงข้อมูล
2568-01-08
วันที่เผยแพร่
2568-01-08
ประเภท
thesis
รูปแบบ
application/pdf
แหล่งที่มา
วน 371.3 อ253ก 2566
ภาษา
tha
ลิขสิทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Degree (name, level, descipline, grantor)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
ปริญญาเอก
การบริหารเทคโนโลยีและนวัตกรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
คอลเลกชั่น
อภิญญา หนูมี, “การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ออน์ไลน์ด้วยกระบวนการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาปริญญาตรี”, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, 2566, คลังข้อมูลประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, accessed February 11, 2025, http://202.29.54.157/s/information/item/3219