Url http://202.29.54.157/s/library/item/2916 Resource class bibo:Thesis ชื่อเรือง Policy and Strategic Management Approaches of Human Resource Management of Colleges and Universities In Hunan Province, People's Republic of China ผู้แต่ง Feng Xiaobo เฝิ่ง เสี่ยวปัว หัวเรื่อง Strategic management Human resource management Universities in Hunan Province -- China การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยในมณฑลหูหนาน -- จีน ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์ Bansomdejchaopraya Rajabhat University. Office of Academic Resources and Information Technology ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน Niran Sutheeniran Jitwisut Wimutpanya Kulsirin Apiratworadech วันที่ ปีที่จัดพิมพ์ 2566 ประเภท thesis รูปแบบ application/pdf รหัส https://opacb.bsru.ac.th/cgi-bin/koha/opac-detail.pl?biblionumber=124449 ลิงค์ข้อมูลในระบบ Matrix แหล่งที่มา วน 658.3 ฝ221น 2566 ภาษา eng ลิขสิทธิ์ Bansomdejchaopraya Rajabhat University ชื่อเรื่องรอง แนวทางการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยในมณฑลหูหนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการเชิงนโยบายและกลยุทธ์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยในมณฑลหูหนานประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน 2) เพื่อประเมินคุณลักษณะการบริหารจัดการเชิงนโยบายและกลยุทธ์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยในมณฑลหูหนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการเชิงนโยบายและกลยุทธ์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยในมณฑลหูหนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ใน 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) การสรรหาและคัดเลือก 2) การพัฒนาฝึกอบรม 3) การประเมินผลการปฏิบัติงาน 4) ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ วิทยาลัยและมหาวิทยาลัยในมณฑลหูหนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 122 แห่ง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร และอาจารย์ประจำการ วิทยาลัยและมหาวิทยาลัยในมณฑลหูหนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยการสุ่มแบบเจาะจงมหาวิทยาลัยละ 4 คน รวมทั้งสิ้น 488 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลการสัมภาษณ์ ได้แก่ อธิการบดีหรือรองอธิการบดีของวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย อย่างละ 1 คน รวมทั้งสิ้น 24 คน กลุ่ม ผู้ประเมินความเหมาะสมในการนำไปปฏิบัติ ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ คณาจารย์ ในมหาวิทยาลัย และผู้ที่มีบทบาทหลักในการบริหารจัดการเชิงนโยบายและกลยุทธ์ จำนวน 20 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการบริหารจัดการเชิงนโยบายและกลยุทธ์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยในมณฑลหูหนานประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งทางการบริหารจัดการเชิงนโยบายและกลยุทธ์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการสรรหาและคัดเลือก ส่วนด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ผลการประเมินคุณลักษณะทางการบริหารจัดการเชิงนโยบายและกลยุทธ์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยในมณฑลหูหนานประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีวิธีการแสวงหาโน้มน้าวและจูงใจให้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถและเหมาะสมกับตำแหน่งเข้ามาทำงานในองค์การ มีค่าเฉลี่ยสูง รองลงมาคือสนับสนับการสรรหาบุคคลจากบุคคลภายนอก ส่วนกำหนดแผนการฝึกอบรมและพัฒนาเฉพาะบุคคลตามความสามารถและความต้องการของบุคลากร มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด แนวทางการบริหารจัดการเชิงนโยบายและกลยุทธ์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีผลดังนี้ ผู้บริหารมีการสรรหาบุคลากรที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับงาน โดยการสรรหาบุคคลจากแหล่งกำลังคนภายนอกโดยใช้กลยุทธ์และวิธีการสรรหาที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดการสรรหาบุคลากรที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ผู้บริหารสามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพมีการกำหนดแนวทางในการบรรจุแต่งตั้งบุคลากรตามระเบียบอย่างชัดเจน ในการดำเนินงานขั้นตอนในการถ่ายทอดความรู้ หรือการรับข้อมูลข่าวสารเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งเพราะจะเป็นตัวที่ช่วยให้องค์กรขับเคลื่อนไปในทิศทางที่ถูกต้อง ผู้บริหารมีการกำหนดหน้าที่ที่รับผิดชอบในแต่ละตำแหน่งงานได้อย่างเหมาะสมและเลือกงานให้เหมาะกับความสามารถของแต่ละบุคคลเพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากที่สุด ผู้ที่ทำหน้าที่ในการสรรหาบุคลากรมีการกำหนดแนวทางในการบรรจุแต่งตั้งบุคลากรตามระเบียบอย่างชัดเจนและสามารถดึงดูดบุคลากรที่มีคุณภาพตรงกับงานและเกิดความสนใจที่จะมาร่วมงานกับองค์การอย่างมีประสิทธิภาพโดยการตัดสินใจเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติและความสามารถเหมาะสมที่สุดจากผู้สมัคร เพื่อให้เข้ามาทำงานและดำรงในตำแหน่งที่ต้องการ โดยองค์การมีการสนับสนุนให้บุคลากรทุกคนมีโอกาส เพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ประสบการณ์และศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาโลกทัศน์อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งเป็นการเสริมสร้างสมรรถะทางด้านความรู้ ทักษะ ทัศนคติและพฤติกรรมในการปฏิบัติงาน ซึ่งระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นระเบียบแบบแผน มีการกำหนดหลักการและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน และมีผลการประเมินเป็นที่ยอมรับและนํามาปรับปรุงการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น รวมถึงองค์การมีกระบวนการประเมินการเลื่อนขั้น เงินเดือนตามระเบียบราชการอย่างเป็นธรรม อีกทั้งให้ความสำคัญในเรื่องการสร้างบรรยากาศในการทำงาน ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน คุณภาพชีวิตในการทำงาน และการสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งจะส่งผลให้บุคลากรในองค์การเกิดกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น คำสำคัญ : การบริหารจัดการเชิงนโยบายและกลยุทธ์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ วันที่ผลิต วันที่จัดทำ 2567-05-21 วันที่เผยแพร่ 2567-05-21 วันที่ปรับปรุงข้อมูล 2567-05-21 ระดับการศึกษา Degree of Doctor of Philosophy Doctoral Degree Educational Administration Bansomdejchaopraya Rajabhat University --