คลังข้อมูลดิจิทัล

  • Entrepreneur training development model for undergraduate students at Liuzhou Institute of Technology

    The objective of this research was to develop an entrepreneurship training model for undergraduate students at Liuzhou Institute of Technology. The initial step involves identifying key components of the training model through interviews with three CEOs, three innovation and entrepreneurship coaches, and three course instructors. The second step entails evaluating these components and constructing the model with input from seven CEOs, seven innovation and entrepreneurship coaches, and seven course instructors. In the third step, the model is assessed by three entrepreneurship experts, three modeling experts, and three human resources specialists. Finally, the fourth step involves implementing the model with 50 students. Data analysis methods include frequency, percentage, median, quartile, mean, and standard deviation. The results of this research were findings significant obtained. The entrepreneurship training model comprises nine main components: Training Objective, Content, Method, Instructor, Environment, Practice, Policy, Evaluation, and Continuous Learning, along with 66 sub-components such as fostering innovative thinking and enhancing entrepreneurial intent. Experts unanimously endorsed the model. Postimplementation, the entrepreneurship rate among students increased from 1.7% 2023 to 3.6% in 2024. Additionally, the number of awards won in the China College Students' Entrepreneurship Competition at the provincial level or above rose from 21 in 2023 to 61 in 2024, indicating a positive impact of the training model. Keywords: Elements of Entrepreneur Training, Entrepreneur Training Model, Liuzhou Institute of Technology
  • การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการเพิ่มศักยภาพการเรียนในรายวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์ กรณีศึกษารายวิชาเคมีชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมัธยมสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์กรณีศึกษารายวิชาเคมี ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 2) พัฒนาแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยศึกษาจากนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนมัธยมสาธิต และ 3) เปรียบเทียบกับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แผนการสอนปกติของครู ผลการวิจัยพบว่า 1.ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์กรณีศึกษารายวิชาเคมี ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาสามารถช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองในทุกกลุ่มตัวอย่าง 2.แบบทดสอบที่นำมาใช้ทดสอบความรู้ก่อนและหลังเรียนของนักเรียนทั้งสองกลุ่มได้ผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ซึ่งผลการประเมินอยู่ในเกณฑ์ดีมาก 3.การทดลองนี้แบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่สอนด้วยโปรแกรมและกลุ่มที่สอนด้วยครู ในแต่ละกลุ่มแบ่งออกเป็นนักเรียนเรียนระดับอ่อน นักเรียนระดับปานกลางและนักเรียนระดับเก่ง นักเรียนทั้งหมดได้ถูกทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนทุกคนและผลการทดสอบ ได้แก่ 1) นักเรียนเรียนระดับอ่อนซึ่งสอนด้วยครูมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียน คือ 15.8 คะแนน และ 19.4 คะแนน ในขณะสอนด้วยโปรแกรมมีคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังเรียน คือ 15.5 คะแนน และ 18.3 คะแนน 2) นักเรียนระดับปานกลางที่สอนด้วยครู มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียน คือ 25.4 คะแนน และ 25.8 คะแนน ในขณะสอนด้วยโปรแกรม มีคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังเรียน คือ 15.5 คะแนน และ 18.3 คะแนน และ 3) นักเรียนระดับเก่งที่สอนด้วยครู มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียนคือ 32.8 คะแนน และ 33.6 คะแนน ในขณะสอนด้วยโปรแกรม มีคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังเรียนคือ 32.2 คะแนน และ 34.8 คะแนน คำสำคัญ : ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ศักยภาพการเรียน การสอนออนไลน์
  • แนวทางการจัดการเรียนการสอนดนตรีในระดับอุดมศึกษาสำหรับกลุ่มวิชาโยธวาทิตศึกษา:กรณีศึกษาสาขาวิชาดนตรีตะวันตกวิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

    งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพในการจัดการเรียนการสอนดนตรีกลุ่มวิชาโยธวาทิตศึกษา สาขาวิชาดนตรีตะวันตก วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏ บ้านสมเด็จเจ้าพระยา 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนดนตรี กลุ่มวิชาโยธวาทิตศึกษา ในระดับอุดมศึกษา ในองค์ประกอบ 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านคน ได้แก่ ผู้สอนผู้เรียน 2) ด้านองค์ความรู้ได้แก่ หลักสูตร กิจกรรมการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล 3) ด้านสื่อและสถานที่ ได้แก่ สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ อุปกรณ์ สถานที่ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูล จากเอกสาร การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) ในการจัดการเรียนการสอนกลุ่มวิชาโยธวาทิตศึกษานั้น ผู้สอนมีความรู้และประสบการณ์ตรงตามรายวิชา และผู้เรียนมีประสบการณ์ในด้านวงโยธวาทิตมาก่อนนอกจากนี้ หลักสูตรยังมีการจัดองค์ความรู้และทักษะให้แก่ผู้เรียนตามผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรและรายวิชา รวมทั้งมีความพร้อมในด้านสื่อและสถานที่ โดยวัดและประเมินผลจากการปฏิบัติหรือชิ้นงาน 2) แนวทางการจัดการเรียนการสอนดนตรี กลุ่มวิชาโยธวาทิตศึกษาในระดับอุดมศึกษา พบว่า ควรมีผู้สอนที่มีความรู้และประสบการณ์ที่ตรงสายงานด้านโยธวาทิต เป็นผู้ที่รู้เท่าทันและพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ในขณะที่ผู้เรือนควรเป็นผู้ที่ผ่านประสบการณ์ด้านวงโยธวาทิต และมีเป้าหมายชัดเจนที่จะ ไปเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านวงโยธวาทิต ซึ่งผู้เรียนควรได้รับองค์ความรู้และทักษะด้านวงโยธวาทิตครอบคลุมทุกด้าน โดยวัดและประเมินผลจากการปฏิบัติและผลงานของผู้เรียน รวมทั้งควรมีสื่อและสถานที่ ที่ครบถ้วนบนพื้นฐานการ จัดการเรียนการสอนวงโยธวาทิต คำสำคัญ : แนวทางการจัดการเรียนการสอมดนตรี โยธวาทิต อุดมศึกษา
  • การสร้างชุดกิจกรรมการปฏิบัติกีตาร์ไฟฟ้าขั้นพื้นฐานชุมนุมดนตรีสากลโรงเรียนวัดยานนาวา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างชุดกิจกรรมการปฏิบัติกีตาร์ไฟฟ้าขั้นพื้นฐานชุมนุมดนตรีสากลโรงเรียนวัดยานนาวาและหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/802) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังของผู้เรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการปฏิบัติกีตาร์ไฟฟ้าขั้นพื้นฐานชุมนุมดนตรีสากล โรงเรียนวัดยานนาวา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการทำวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4– 6 ของโรงเรียนวัดยานนาวา ที่เรียนในรายวิชาปฏิบัติกีตาร์ไฟฟ้า ชุมนุมดนตรีสากล จำนวน 25 คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง จากนักเรียนที่สมัครใจเลือกเล่นกีตาร์ไฟฟ้าทั้งหมดในชุมนุมดนตรีสากล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการปฏิบัติกีตาร์ไฟฟ้าขั้นพื้นฐาน ชุมนุมดนตรีสากล 2) แผนการจัดกิจกรรม และ 3) แบบทดสอบก่อนเรียน ระหว่างเรียนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วย Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. ชุดกิจกรรมการปฏิบัติกีตาร์ไฟฟ้าขั้นพื้นฐาน ชุมนุมดนตรีสากล โรงเรียนวัดยานนาวา มีประสิทธิภาพ 86.7/87.93 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 2. ผลสัมฤทธิ์จากการทดสอบของผู้เรียนหลังเรียนชุดกิจกรรมปฏิบัติกีตาร์ขั้นพื้นฐาน ชุมนุมดนตรีสากล โรงเรียนวัดยานนาวา พบว่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 คำสำคัญ : ชุดกิจกรรม ปฏิบัติกีตาร์ไฟฟ้า ชุมนุมดนตรีสากล
  • การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน โดยการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน โดยการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน โดยการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 2. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบะสะเต็มศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด คำสำคัญ : การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน
  • Using dalcroz music teching method to improve the achievement of music course for nursing students

    The purposes of this research were 1) to use Dalcroz music teaching methodtoimprove the achievementof music course for nursing students; 2) compare students' thestudents achievement of music course before and after implementation of musiccourse is the Dalcroz music teaching method.The sample group included 30 medical students, at Weifang Nursing Vocational College in China, obtained by cluster randomsampling. Research instruments Including 1) lesson plans based on Dalcroz musicteaching methods; 2) Academic achievement test of music course Datawerestatistically analyzed, standard deviation and t-test for dependent samples. The results show that: 1) Use Dalcroz music teching method to understand students achievementof music course. As a result, students' grades improved. 2) After Dalcroz music teching method, nursing students' achievement of music courses was significantly higher than that before class with statistical significance at the level .01. Keywords: Dalcroz music teching, Achievement of music course, Nursing Students
  • The development of learning achievemnt in real estate marketing planning course using flipped classroom moodel of undergraduate students

    The purposes of this study were 1) to develop of learning achievement in Real Estate Marketing Planning course using Flipped Classroom Model of undergraduate students and 2) to compare students' learning achievement before and after the implementation Flipped Classroom Model. The simple group of this study consisted of 30 samples from the third-year engineering management program undergrad education of Shanghai Sanda University. The research instruments included 1) lesson plans and 2) learning achievement test. The assessment questions aim to assess six sub-variables within the dependent variable including: Remembering, Understanding, Applying, Analyzing, Evaluating, and Creating. The data were analyzed by mean, standard deviation and t-test for dependent sample. The results revealed the followings: 1. The development of learning achievement in Real Estate Marketing Planning course using Flipped Classroom Model which includes five steps: 1) Pre-lesson Preparation, 2) Identify the problem, 3) independent exploration, 4) collaborative communication, 5) Presentation of Results. This model can improve undergraduate students' learning achievement, achieving the research objectives. 2. The comparing students' learning achievement before and after teaching with the flipped classroom model, the average score of undergraduate students in pre-class assessments was 60 of full score 100 , and in post-class assessments, it was 68. The post-class assessment scores were significantly higher than pre-class assessment scores at a statistical significance level of .01. This aligns with the research hypothesis. Keywords: Flipped Classroom Model, Learning achievement, Undergraduate students
  • Using 5E inquiry based teaching to improve experimental design ability for middle school students

    The objectives of this study were 1) to using 5E inquiry-based teaching to improve the experimental design ability for middle school students and 2) to compare students' experimental design ability, before and after the implementation is 5E inquiry-based teaching. The simple group of this study consisted of 30 samples from the first year at Beichen Middle School in Weifang. The research tools included 1) lesson plans and 2) experimental design ability assessment. The assessment questions were designed to assessment four sub-variables in the dependent variable, including the assessment questions were designed to assessment three sub-variables in the dependent variable, including specify the purpose of an experiment ability, state the relationship of variables ability, describe the experimental procedure ability, express the expected results of an experiment ability. The data were analyzed by mean, standard deviation and t-test for dependent sample. The results revealed the followings: 1. By using 5E inquiry-based teaching and observing students' learning behaviors, it is found that students have improved in clarifying the purpose of the experiment, explaining the relationship of variables, describing the experimental process, express the expected results of the experiment, and the ability of experimental design. 2. Comparing of experimental design ability of students before and after learning with the 5E inquiry-based teaching, it was found that after learning was higher than before learning by statistically significant at the .01 level. This was consistent with the research hypothesis. Keywords: 5E inquiry-based teaching, experimental design ability, middle school student
  • Verification data of costume designer qualification examination system in colleges and universities

  • การพัฒนารูปแบบการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้รูปแบบการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนวัดยานนาวา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้และแบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีองค์ประกอบที่สำคัญของรูปแบบการสอน ได้แก่ ทฤษฎี หลักการ แนวคิดของรูปแบบ, วัตถุประสงค์ของรูปแบบ, กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ, ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนการสอนตามรูปแบบ 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อน เรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ ชิ้นงาน พบว่านักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบการสอน การสร้างความรู้ความคิดสร้างสรรค์
  • การพัฒนาแบบฝึกทักษะโดยใช้การสอนแบบ 5 STEPS เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน มาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 โรงเรียนเซนต์โยเซฟ ทิพวัล

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง มาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เปรียบเทียบทักษะ การอ่านมาตราตัวสะกด ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การสอนแบบ 5 STEPs ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเซนต์โยเซฟทิพวัล และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้การสอนแบบ 5 STEPs สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ห้อง 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนเซนต์โยเซฟทิพวัล จำนวน 39 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล 1) แบบฝึกเสริม ทักษะการอ่าน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อใช้ฝึกปฏิบัติด้านการอ่าน จำนวน 5 ชุด 2)แบบทดสอบทักษะการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง มาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ผลการวิจัยพบว่า 1. แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง มาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.21/82.31 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2. ทักษะการอ่านมาตราตัวสะกด ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การสอนแบบ 5 STEPs ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเซนต์โยเซฟทิพวัล พบว่าหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้การสอนแบบ 5 STEPs สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด คำสำคัญ : การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะ การสอนแบบ 5 STEPs
  • การพัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์ โดยใช้แนวคิดของมาร์ซาโน วิชาภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเซนต์โยเซฟ บางนา

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อพัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์โดยใช้แนวคิดของมาร์ซาโน วิชาภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเซนต์โยเซฟ บางนา 2) เพื่อ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเซนต์โยเซฟ บางนา และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนวิชาภูมิศาสตร์ โดยใช้แนวคิดของมาร์ซาโน ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ห้อง 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนเซนต์โยเซฟ บางนา จำนวน 38 คน โดยวิธีการสุ่มห้องเรียนด้วยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภูมิศาสตร์โดยใช้แนวคิดของมาร์ซาโน 2) แบบประเมินความสามารถการคิด วิเคราะห์ 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภูมิศาสตร์ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนวิชาภูมิศาสตร์ โดยใช้แนวคิดของมาร์ซาโน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีสำหรับ กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาความสามารถความสามารถการคิดวิเคราะห์ โดยใช้แนวคิดของมาร์ซาโน วิชาภูมิศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเซนต์โยเซฟ บางนา จำนวน 38 คน พบว่า นักเรียนมีคะแนนไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ผ่านเกณฑ์จำนวน คิดเป็นร้อยละ 94.73 และมีคะแนน ไม่ผ่านเกณฑ์จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 5.26 2) ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่2 โรงเรียนเซนต์โยเซฟ บางนา พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนวิชาภูมิศาสตร์ โดยใช้แนวคิดของมาร์ซาโน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด คำสำคัญ : การคิดวิเคราะห์ แนวคิดมาร์ซาโน วิชาภูมิศาสตร์
ค้นหาทั้งหมด