การพัฒนารูปแบบการสอนตามเเนวคอนสตรัคติวิสต์ โดยการจัดประสบการณ์ปฏิบัติการทดลองประกอบอาหาร เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

Item

ชื่อเรือง

การพัฒนารูปแบบการสอนตามเเนวคอนสตรัคติวิสต์ โดยการจัดประสบการณ์ปฏิบัติการทดลองประกอบอาหาร เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

ชื่อเรื่องรอง

The development of an instructional model with constructivist of the cooking experience to promote science process skills of pre-school students

ผู้แต่ง

เกียรติสุดา รวยดี

หัวเรื่อง

วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
อาหาร -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)

รายละเอียดอื่นๆ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคอนสตรัคติวิสต์โดยการจัดประสบการณ์ปฏิบัติการทดลองประกอบอาหารเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัย และเพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการสอนตามแนวคอนสตคติวิสต์โดยการจัดประสบการณ์ปฏิบัติการทดลองประกอบอาหาร ก่อนและหลังการทดลอง การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ 1) การพัฒนารูปแบบการสอน 2) การสร้างเครื่องมือในการวิจัย 3) การทดลองใช้รูปแบบการสอน กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียน ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนวัดมะพร้าวเตี้ย จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบทดสอบวัดทักษะ กระบนการวิทยาศาสตร์ และแผนการสอนตามแนวคอนสตรัคติวิสต์โดยการจัดประสบการณ์ปฏิบัติการทดลองประกอบอาหาร
ผลการวิจัยสรุปผลได้ดังนี้
1. รูปแบบการลอนตามแนวคอนสตรัคติวิสต์โดยการจัดประสบการณ์ปฏิบัติการทดลองประกอบอาหารเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย หลักการ/ ทฤษฎี/แนวคิดของรูปแบบ ซึ่งประกอบด้วยแนวคิดทฤษฎีตอนสตรัคดีวิสต์ ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของไวก็อตสกี ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเจโรม บรูเนอร์ การจัดประสบการณ์ประกอบอาหารและยึดหลักการพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546 วัตถุประสงค์ของรูปแบบนี้เพื่อ ช่วยให้ผู้เรียน ได้ฝึกทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ ซึ่งทำให้ผู้เรียนสามารถนำทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันและอนาคต กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบมีขั้นตอน การสอนที่สำคัญ 3 ชั้นตอน คือ ชั้นที่ 1 ชั้นจงใจให้เรียน (ประสบการณ์เดิม) ชั้นที่ 2 ขั้นดำเนินกิจกรรม (ประสบการณ์เดิม,ปฏิบัติ, การปฏิสัมพันธ์,ไตร่ตรอง) ชั้นที่ 3 ชั้นสรุป และผลที่ผู้เรียน ได้รับจากการเรียนตามรูปแบบคือ ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถทางด้านทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้น
2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนตามแนวคอนสตรัคติวิสต์โดยการจัดประสบการณ์ ปฏิบัติการทดลองประกอบอาหาร โดยการเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็ก ปฐมวัย ก่อนและหลังปรากฏว่า ทักษะกระบนการวิทยาศาสตร์โดยรวมและทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์แยกองค์ประกอบด้านทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก ทักษะการสื่อความหมาย
ทักษะการวัด ทักษะการลงความเห็น ทักษะพยากรณ์ ของเต็กปฐมวัย สูงขึ้นกว่าก่อนการใช้รูปแบบการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน

บังอร เสรีรัตน์
วิเชียร อินทรสมพันธ์

วันที่ ปีที่จัดพิมพ์

2551

วันที่ผลิต วันที่จัดทำ

2021-08-09 06:57:07

วันที่ปรับปรุงข้อมูล

2021-08-09 06:57:07

ประเภท

thesis

รูปแบบ

application/pdf

แหล่งที่มา

วน 372.35 ก855ก 2551

ภาษา

tha

รหัส

ลิขสิทธิ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Degree (name, level, descipline, grantor)

ครุศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
หลักสูตรและการสอน
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วันที่ใช้งาน

2551

คอลเลกชั่น

เกียรติสุดา รวยดี . (2551). การพัฒนารูปแบบการสอนตามเเนวคอนสตรัคติวิสต์ โดยการจัดประสบการณ์ปฏิบัติการทดลองประกอบอาหาร เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed November 25, 2024, http://202.29.54.157/s/library/item/1202

นำออกข้อมูล :