การพัฒนารูปแบบการสอนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยการสอนที่เน้นการจัดกรอบมโนทัศน์

Item

ชื่อเรือง

การพัฒนารูปแบบการสอนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยการสอนที่เน้นการจัดกรอบมโนทัศน์

ชื่อเรื่องรอง

Delopment of fundamental science learning througt concept mapping computer-assisted inatruction

ผู้แต่ง

วารินี โตยะบุตร

หัวเรื่อง

วิทยาศาสตร์ -- คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน

รายละเอียดอื่นๆ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่เน้นการจัดกรอบมโนทัศน์ และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่เน้นการจัดกรอบมโนทัศน์ ซึ่งการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนคือ 1.พัฒนารูปแบบการสอน 2.สร้างเครื่องมือในการวิจัย 3.การทดลองใช้รูปแบบการสอน กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมัธยมวัดดาวคนอง จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1.รูปแบบการสอนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่เน้นการจัดกรอบมโนทัศน์ 2.แผนการจัดการเรียนรู้ 3.แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย และค่าเบียงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1.ได้รูปแบบการเรียนการสอน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเน้นที่การจัดกรอบมโนทัศน์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งประกอบด้วย หลักการของรูปแบบคือ ให้นักเรียนได้เกิดการเรียนรู้ มีการจัดกระทำข้อมูลที่ได้ศึกษาให้มีความสัมพันธ์ลงในกิจกรรมกรอบมโนทัศน์ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการจดจำได้นาน จุดมุ่งหมายของรูปแบบการเรียนการสอนใช้เป็นแนวทางสำหรับนักเรียนได้ศึกษาเนื้อหา ซึ่งจำแนกตามพฤติกรรมที่ต้องการวัด 4 ด้าน คือ ความรู้ความจำ ความเข้าใจ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การนำความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ 2.ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่เน้นการจัดกรอบมโนทัศน์ โดยการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปรากฏว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังจากเรียนตามรูปแบบการสอน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่เน้นการจัดกรอบมโนทัศน์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

บทคัดย่อ

This research aimed to develop the learning of fundamental science for Matayomsuksa 2
students through concept mapping computer-assisted instruction and compare leaming
achievement. The 3 stages of research methodology were carried as development of learning
style, design of instrument, and experimental. The sample group included 40 students. The
instrument were concept mapping computer-assisted instruction, Iesson plan ,and achievement
test. Data were statistically analyzed in percentage, mean score, and standard deviation. The
researcher adopted knowledge-based principle of concept mapping computer-assisted instruction.
Long-term memory depended on relation between data processing and activities of concept map.
Instructional approach was done complying to 4 behavioral objectives: knowledge,
comprchensibility of scientific methods, application of scientifie knowledge and methods, and
development of learning achievement.
The findings revealed that leaming achievement or post-test after concept mapping
computer-assisted instruction was significantly higher at.01.

ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน

ศักดิ์คเรศ ประกอบผล
สรายุทธ์ เศรษฐขจร

วันที่ ปีที่จัดพิมพ์

2551

วันที่ผลิต วันที่จัดทำ

2021-08-09 06:57:07

วันที่ปรับปรุงข้อมูล

2021-08-09 06:57:07

ประเภท

thesis

รูปแบบ

application/pdf

แหล่งที่มา

วน 371.334 ว481ก 2551

ภาษา

tha

รหัส

ลิขสิทธิ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Degree (name, level, descipline, grantor)

ครุศาตรมหาบ้ณฑิต
ปริญญาโท
หลักสูตรและการสอน
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วันที่ใช้งาน

2551

คอลเลกชั่น

วารินี โตยะบุตร . (2551). การพัฒนารูปแบบการสอนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยการสอนที่เน้นการจัดกรอบมโนทัศน์. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed November 25, 2024, http://202.29.54.157/s/library/item/1224

นำออกข้อมูล :