การบริหารจัดการมหาวิทยาลันราชภัฏในอนาคต

Item

ชื่อเรือง

การบริหารจัดการมหาวิทยาลันราชภัฏในอนาคต

ชื่อเรื่องรอง

The Educational Administration for Rajabhat Universities in the Future

ผู้แต่ง

วรรณวดี ชัยชาญกุล

หัวเรื่อง

มหาวิทยาลัยราชภัฏ--การบริหาร

รายละเอียดอื่นๆ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการออกแบบการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏในอนาคตซึ่ง มหาวิทยาลัยราชภัฏทุกแห่งสามารถนำผลการวิจัยที่ค้นพบไปใช้ในเป็นแนวทางในการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยให้บรรลุเป้าหมายในอนาคต ดังนั้นเพื่อให้การศึกษาวิจัยบรรลุวัตถุประสงค์หลักดังกล่าว ผู้วิจัยจึงได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้ 1)ศึกษากระบวนการการบริหารจัดการสถาบัน อุดมศึกษาในประเทศไทยและต่างประเทศ 2) ศึกษาสภาพปัญหาในการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏในปัจจุบัน 3)พัฒนากระบวนการการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎ กลุ่มรัตนโกสินทร์ในอนาคต 4)นำเสนอกระบวนการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มข้อมูลจากเอกสาร และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ กลุ่มบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฎกลุ่มรัตนโกสินทร์จำนวน 42 คน กลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการบริหารจัดการ จำนวน 8 คน และกลุ่มผู้แทนมหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสรุปวิเคราะห์สาระ แบบสัมภาษณ์และเอกสารการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูล แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) การลดทอนข้อมูล 2) การจัดระเบียบข้อมูล 3) การหาข้อสรุป การตีความ และการตรวจสอบความถูกต้อง ตรงประเด็นของแผนการวิจัย
ผลการศึกษา 1. ผลการศึกษากระบวนการการบริหารจัดการสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยและต่างประเทศ พบว่ามหาวิทยาลัยสามารถบริหารจัดการตามยุทธศาสตร์อุดมศึกษาอย่างมีเอกภาพ และคุณภาพ ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อในกระบวนการการบริหารจัดการสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยและต่างประเทศในศตวรรษนี้จะต้องเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่เน้นวิชาการและงานวิจัย มีอิสระ มีความคล่องตัว และมีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพสูงสุด 2. ผลการศึกษาสภาพและปัญหาในการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏในปัจจุบัน พบว่า มหาวิทยาลัยราชภัฎมีคุณภาพและการจัดการที่แตกต่างกันมาก ได้แก่ ขาดการทำงานวิจัยที่มี คุณภาพ คุณวุฒิของอาจารย์ไม่สอดคล้องกับเกณฑ์อุดมศึกษา เป็นต้น 3. การพัฒนากระบวนการการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎ กลุ่มรัตนโกสินทร์ ในอนาคตใน 5 ด้าน มีดังนี้ (1) ด้านการบริหารจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฎต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรให้มีอิสระในการบริหารงานและพึ่งตนเองได้ ปรับระบบการบริหารงานทุกขั้นตอนสู่กระบวนการประกันคุณภาพ และการประเมินคุณภาพจากภายนอก (2) การบริหารวิชาการ เน้นการสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการบริสุทธิ์ และความรู้ที่นำไปประยุกต์ใช้ในขอบเขตของการเป็นผู้ให้บริการแก่สังคมในท้องถิ่น (3)ด้านการบริหารงานวิจัย ต้องกำหนดนโยบายการวิจัยที่สอดคล้องกับความ เชี่ยวชาญขององค์กร เชื่อมโยงองค์ความรู้ และระบุผลผลิตจากผลการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยที่ชัดเจน (4) ด้านการบริหารการเงินและงบประมาณ ต้องอบรมและสร้างนวัตกรรมการหารายได้ที่สอดคล้องกับปรัชญาวัฒนธรรม วัฒนธรรมขององค์กร รวมทั้งสร้างรายได้ที่ยั่งยืนแก่องค์กร ชุมชน ท้องถิ่น และ 5)) ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฎต้องแสวงหาบุคลากรที่มีคุณลักษณะของผู้สอน นักวิชาการ และนักวิจัย มีความรู้และทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ รู้จักการทำงานเป็นทีม ปรับปรุงคุณภาพงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่นอย่างมุ่งหวังผลสัมฤทธิ์ 4. ผลการนำเสนอกระบวนการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยามหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยามีการบริหารจัดการที่ประสบความสำเร็จและประเด็นของความสำเร็จนั้นอยู่ที่กลไกการบริหารจัดการของผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ ความสำเร็จใดใดของการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏทุกแห่งในอนาคต ขึ้นอยู่กับการที่มหาวิทยาลัยราชภัฎแต่ละแห่งต้องสร้างเส้นโยงมาตรฐานไปในทิศทางเดียวกัน ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยคือ มหาวิทยาลัยราชภัฎทุกแห่งต้องพัฒนาความเชี่ยวชาญ และเอกลักษณ์บนความหลากหลายตามปรัชญา เป้าหมาย ทิศทางการพัฒนา และแนวทางการบริหารจัดการซึ่งมีผลต่อบทบาทของมหาวิทยาลัยราชภัฎที่ครอบคลุมพื้นที่บริการทั่วประเทศ โดยมีหลักการที่แน่วแน่ของความเป็นอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

บทคัดย่อ

The major purpose of this study is to design an educational administration system that will be implemented in the Rajabhat University in the future. To fulfil the above purpose this study purposes to 1)study the process of administration for Higher Education Management in Thailand and other countries; 2)study the circumstances and problems of Rajabhat University administration; 3)develop the process of administration for Rajabhat Universities in the future; 4)present the process of administration for Bansomdejchaopraya Rajabhat University. The samplings were documentary data and information sample consisted of 42 people from Rajabhat Universities, Ratanakosin Group, 8 experts in administration, and 10 representatives from Bansomdejchaopraya Rajabhat University. The data collection were forms of content analysis, in-depth interview and focus -group documents which were analyzed by 3 steps regarding data – reduction, data – display
and conclusion interpretation and verification.
The findings were as follows:
1. The process of administration for Higher Education Management in Thailand and other countries revealed that these institutions had to manage flexibly and independently under higher education strategies with unity, efficiency and quality. Furthermore, the important factors that affected the process of administration were academic and research environment and high standards of administration.
2. Rajabhat Universities had definitely different circumstances in administration in many cases and problems such as the quality of research and human resources, and could not reach the university standard criteria.
3. The process of administration for Rajabhat Universities, Ratanakosin Group in 5 aspects, as presented (1) In terms of general management, Rajabhat universities needs to be restructured toward becoming more independent and self – sufficiency as well as implement QA system throughout management systems. (2) In terms of Academic Administration, Rajabhat universities have to emphasize building new knowledge and its
application for serving community (3) In terms of Research Management, research policies of Rajabhat universities have to be set in accordance to the expense of the organization
connections among body of knowledge and usefulness of the research product need to beclearly identified.(4) In terms of finance and budgeting, training and innovations in Rajabhat universities’ budget implementation have to be consistent with institutional philosophy and culture, including providing sustainable sources of income for the organizations and local community.(5) In terms of Human resources, Rajabhat universities need to recruit qualified instructions, academics and researchers who have knowledge and skill in utilizing technology information, need to move good teamwork skills and committee to improve work quality in collaboration with the local community.
4.The process of administration for Bansomdejchaopraya Rajabhat University were successful through effective leadership and vision. Consequently, leaders and co-administrators in every Rajabhat University had to foster an organization committed to the same patterns of visionary. This research recommended that the Rajabhat universities need to implement and develop their organization among various identification according to the philosophy, the target and the administrative trends of the universities for locality.

Key words : Integrated learning and teaching, Happy learning, English literature,
Higher education

ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน

พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์
พรพิพัฒน์ เพิ่มผล
ปราโมทย์ เบญจกาญจน์

วันที่ ปีที่จัดพิมพ์

2552

วันที่ผลิต วันที่จัดทำ

2021-08-09 06:57:07

วันที่ปรับปรุงข้อมูล

2021-08-09 06:57:07

ประเภท

thesis

รูปแบบ

application/pdf

แหล่งที่มา

วน 378.593 ว258ก 2552

ภาษา

tha

รหัส

ลิขสิทธิ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Degree (name, level, descipline, grantor)

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
ปริญญาเอก
การศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วันที่ใช้งาน

2552

คอลเลกชั่น

วรรณวดี ชัยชาญกุล . (2552). การบริหารจัดการมหาวิทยาลันราชภัฏในอนาคต. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed November 25, 2024, http://202.29.54.157/s/library/item/1293

นำออกข้อมูล :