ตัวแบบคณิตศาสตร์ใหม่องทฤษฎีราคาในเศรษฐศาสตร์จุลภาคเพื่อใช้ด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษา
Item
ชื่อเรือง
ตัวแบบคณิตศาสตร์ใหม่องทฤษฎีราคาในเศรษฐศาสตร์จุลภาคเพื่อใช้ด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษา
ชื่อเรื่องรอง
New Mathematical Price Microeconomic Model For Education Economics
ผู้แต่ง
ปรเมสฐ์ บุญศรี
หัวเรื่อง
เศรษฐศาสตร์จุลภาค
เศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน
การศึกษา -- แง่เศรษฐกิจ
รายละเอียดอื่นๆ
จุดประสงค์ของการศึกษาประกอบด้วยการหาจุดอ่อนของนิยามของอุปสงค์ด้วยตรรกศาสตร์และเวลาบนเส้นอุปสงค์ด้วยสมการเวลาโดยใช้ทฤษฎีราคาจากตำรามาตรฐานทางเศรษฐศาสตร์จุลภาคของ Lipsey and Courant พิมพ์ครั้งที่ 11เป็นข้อมูล จุดอ่อนที่พบจะนำมาแก้ไขด้วยเครื่องมือคือกราฟ 3 มิติและตัวแบบคณิตศาสตร์ แล้วนำตัวแบบใหม่มาแก้ปัญหาทางการศึกษา 1 ปัญหา ผลการวิจัยพบว่า 1.นิยามของอุปสงค์เป็นข้อความที่กำกวม และ 2. มิติเวลาบนเส้นอุปสงค์และเส้นอุปทานมีความผิดปกติคือเป็นเส้นที่ขาดตอน ผลกระทบจากจุดอ่อนมีต่อการวิเคราะห์เชิงสถิต เชิงสถิตเปรียบเทียบและเชิงพลวัตร 3. แนวทางการแก้ไขคืออุปสงค์ควรเปลี่ยนเป็นปริมาณเงินตราที่ใช้เพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าและอุปทานควรเปลี่ยนเป็นปริมาณสินค้าที่แลกเปลี่ยนกับเงินตรา ตัวแบบใหม่คือ Pt = เมื่อ Pt คือราคาสินค้า MTt คือ เงินจำนวนหนึ่งสะสมจากผู้ซื้อสู่ผู้ขาย QTt คือ ปริมาณสินค้าสะสมจากผู้ขายสู่ผู้ซื้อ ตัวแบบนี้ใช้วิธีการอุปนัย 4. การนำตัวแบบใหม่มาใช้เพื่อแก้ปัญหาทางการศึกษาพบ ตัวแบบใหม่ให้กระบวนทัศน์ใหม่ทางด้านการศึกษา กล่าวคือ หากเปรียบเทียบงานของโบว์แมนและแอนเดอร์สันซึ่งอาศัยทฤษฎีเศรษฐศาสตร์นิโอคลาสสิกจะพบว่า ไม่สามารถหาข้อสรุปว่าการศึกษาทำให้เศรษฐกิจเจริญหรือเศรษฐกิจเจริญทำให้เงินลงทุนทางการศึกษาเพิ่ม แต่ตัวแบบใหม่นี้สามารถระบุ การศึกษาทำให้เศรษฐกิจเจริญ อีกทั้งยังสามารถระบุได้ว่าสถานการณ์เช่นไรจึงจะเกิดผลเช่นนั้น อีกทั้งยังระบุด้วยว่า เศรษฐกิจเจริญทำให้เงินลงทุนทางการศึกษาเพิ่ม และสามารถระบุได้อีกเช่นกันว่าสถานการณ์เช่นไรจึงจะเกิดผลเช่นนั้นด้วย
บทคัดย่อ
The objectives of this study are to search for weak points in the demand definition with using mathematical logics and the time dimension on the demand curve with the Time Equation. The data of both came from an 11th Ed. microeconomic text book of Lipsey and Courant named “Economics”. The found weak points are corrected with a mathematical price model and a three dimensional graph. The one chosen education economic problem with the new model is a case study. The investigation found 1. the demand definition is ambiguous. 2. The time values in both a demand and a supply curves are abnormal; the curves are discontinuous. The impact of the weak points affects to analysis in static, comparative static, and dynamics. The solution is that the demand definition is changed to the quantity of currency. The supply definition is changed to the quantity of a product. 3. The new mathematical price model is; Pt = MTt/QTt when Pt is the price of a product, MTt is the accumulation of the currency quantity of a buyer with hidden time value, QTt is the accumulation of the product quantity of a seller with hidden time value, and t is the hidden time value in Pt , MTt , and QTt . The model was created by inductive method. 4. The new model reveals the new paradigm about education. Bowman and Anderson’s work with
supporting by neoclassical economic theory could not indicate whether the growth in education makes the growth in economy or via versa. In contrast, the new model can show when the growth in education makes the growth in economy and via versa.
supporting by neoclassical economic theory could not indicate whether the growth in education makes the growth in economy or via versa. In contrast, the new model can show when the growth in education makes the growth in economy and via versa.
ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน
ดิลก บุญเรืองรอด
วิโฬฏฐ์ วัฒนานิมิตกูล
วันที่ ปีที่จัดพิมพ์
2552
วันที่ผลิต วันที่จัดทำ
2021-08-09 06:57:07
วันที่ปรับปรุงข้อมูล
2021-08-09 06:57:07
ประเภท
thesis
รูปแบบ
application/pdf
แหล่งที่มา
วน 338.5 ป171ต 2552
ภาษา
tha
ลิขสิทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Degree (name, level, descipline, grantor)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
ปริญญาเอก
การศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
วันที่ใช้งาน
2552
คอลเลกชั่น
ปรเมสฐ์ บุญศรี . (2552). ตัวแบบคณิตศาสตร์ใหม่องทฤษฎีราคาในเศรษฐศาสตร์จุลภาคเพื่อใช้ด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed November 25, 2024, http://202.29.54.157/s/library/item/1294