จิตรกรรมสะท้อนภาพลักษณ์อารมณ์โกรธของมนุษย์: กรณีศึกษากลวิธีการสร้างงานจิตรกรรมของ เอช อาร์ กีเกอร์ ในช่วงปี ค.ศ. 1973 - 1987

Item

ชื่อเรือง

จิตรกรรมสะท้อนภาพลักษณ์อารมณ์โกรธของมนุษย์: กรณีศึกษากลวิธีการสร้างงานจิตรกรรมของ เอช อาร์ กีเกอร์ ในช่วงปี ค.ศ. 1973 - 1987

ชื่อเรื่องรอง

Painting of man as image of anger: a Case study of Paintings created by H. R. Giger during1973 –1987 A.D

ผู้แต่ง

ประมินทร์ ตั้งมี

หัวเรื่อง

จิตรกรรม
กีเกอร์, เอช อาร์--ผลงาน

รายละเอียดอื่นๆ

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยแบบกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์ภาพผลงานจิตรกรรมที่สะท้อนอารมณ์โกรธของเอช อาร์ กีเกอร์ ในระหว่างปีค.ศ.1973 - 1987 ในประเด็นที่เกี่ยวกับเนื้อหาเรื่องราวที่สะท้อนอารมณ์โกรธในรูปแบบศิลปะลัทธิเหนือจริงการจัดภาพ และกลวิธีในการสร้างสรรค์ผลงาน 2) สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมสะท้อนภาพลักษณ์อารมณ์โกรธของมนุษย์ โดยใช้ภาพหัวโขนหน้ายักษ์แทนอารมณ์โกรธของมนุษย์ด้วยสีอะคริลิกบนผ้าใบ และดินสอถ่านบนกระดาษ ผลจากการศึกษา พบว่า 1. ด้านเนื้อหา เกิดจากการผสมกันระหว่างประสบการณ์ชีวิตทั้งเรื่องราวส่วนตัว และผู้ที่เกี่ยวข้อง นำสิ่งที่ตนเองสนใจ ผสานกับจิตใต้สำนึก และจินตนาการที่เหนือธรรมชาติ ผลงานมีรูปแบบซึ่งแสดงถึงอัตลักษณ์ของตนเองอย่างสูงทั้งใน ด้านเรื่องราวที่ใช้โดยการนำเสนอภาพการแปรสภาพมนุษย์ โดยนำมาแปรสภาพเป็นเครื่องจักรกลเพื่อเปลี่ยนแปลงโลกภายนอกให้สอดคล้องกับจิตไร้สำนึก จินตนาการและแรงปรารถนา เพื่อกระตุ้นสภาวะจิตของผู้ชมให้เกิดผลกระทบทางอารมณ์มากที่สุดจนเกิดภาพที่แปลกใหม่ ทำให้เกิดความประหลาดใจถึงแก่มีจิตที่เป็นอิสระ หลุดพ้นจากกฎเกณฑ์ของเหตุผล การจัดภาพนั้นมีการจัดภาพทั้งโดยการใช้ดุลยภาพอย่างหลากหลาย เน้นจุดสนใจโดยการจัดวางตำแหน่งไว้กลางภาพ และใช้ความเข้มของสีทำให้น่าสนใจ ผลจากการวิเคราะห์กลวิธีการสร้างสรรค์ผลงานในด้านของการระบายสีพบว่า กีเกอร์ใช้พู่กันลมระบายสีเรียบสร้างบรรยากาศเหนือจริงด้วยการระบายฟุ้งใช้ละอองสี และภาพพิมพ์ฉลุ สภาพ สีส่วนรวมใช้สีเอกรงค์ในการสร้างผลงานโดยเฉพาะชุดสีขาว เทา ดำ โดยใช้สีดำมืดทึบแทนค่าของส่วนที่เป็นเงา และใช้สีขาวเน้นในส่วนที่ต้องการแสดงบริเวณที่เป็นแสงสว่าง ซึ่งการตัดกันระหว่างสีดำและสีขาวจะมีผลให้ความเข้มของสีขาวจะปรากฏขึ้นเด่นชัดมาก 2. การพัฒนาสร้างสรรค์ผลงานสะท้อนภาพลักษณ์อารมณ์โกรธของมนุษย์ โดยใช้ภาพหัวโขนหน้ายักษ์แทนอารมณ์โกรธของมนุษย์ของผู้วิจัย มีความแตกต่างจากผลงานของศิลปินที่ทำการศึกษาวิจัย ได้แก่ เนื้อหาเรื่องราวจากประสบการณ์ชีวิต และบริบทของสังคมไทย ในด้านกระบวนการทางกลวิธีการสร้างสรรค์ผลงานที่ผู้วิจัยได้พัฒนาต่อมาคือ การสร้างภาวะดลใจจากการแสดงออกในด้านรูปแบบอารมณ์นิยมโดยสร้างพื้นผิวบนระนาบและการใช้วัสดุในการระบายอย่างหลากหลาย

คำสำคัญ : 1 จิตรกรรมสะท้อนภาพลักษณ์อารมณ์โกรธของมนุษย์ 2 เอช อาร์ กีเกอร์

บทคัดย่อ

This work is the result of case study research aimed at 1) To study the man’s paintings as image of anger created by H. R. Giger during 1973 – 1987 A.D. In this case, the result includes the beginning of ideas and content of the man’s paintings as image of anger, Elements of Art used to compose the paintings and creative techniques of painting. 2) The result of the study and analysis led the researcher to develop the painting of man who wear giant face masks as image of anger by using the researcher’s own ideas with acrylic on canvas and charcoal pencil on paper.
The findings revealed as follows:
1. The result of studying the cases of content and idea of Giger’s paintings is that most of the content and ideas came from the combination of his life experiences, his personal stories, and those involved with his life merged with what he was interested in along with his subconscious and transcendent imagination. His works, which greatly reflected his own identity, presented a visual transformation of mankind into machine in order to change the world according to his unconscious mind, fantasies and desires. The purpose of his paintings was to stimulate the viewer's mental condition, impacting their emotional state by viewing a most innovative image, thus causing surprise that the viewer had mental freedom and liberation from the rule of reason. The result from the analysis of the techniques of creative work in the fields of painting is that he used spray paint and then air brush for smoothness. He used the paint to spread diffusion and used spray paint to create a surreal atmosphere and Stencil Printing in some parts of the image. His works often used of monochrome color schemes. Most ware gray, black and white. The black or darkness indicated shadow and the white on the desired displayed area is light. The contrast between black and white allowed the color white to appear clearer. The images ware organized using a variety of balance and a point of interest is positioned as the central image. Intense color made the work more interesting.
2. The developments of constructive works of the researcher were different from the
work of the artist studied in the research because the researcher’s work was constructed from the content of personal life experiences and the context of Thai society. Technical processes to create works that were developed later were inspired by the style of expression by creating a textural surface and applying Emotionalism variety of coloring tools to it.

Keyword (s):1 Painting of man as image of anger, 2 H. R. Giger

ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน

พีระพงษ์ กุลพิศาล
โกสุม สายใจ
สมชาย พรหมสุวรรณ

วันที่ ปีที่จัดพิมพ์

2554

วันที่ผลิต วันที่จัดทำ

2021-08-09 06:57:07

วันที่ปรับปรุงข้อมูล

2021-08-09 06:57:07

ประเภท

thesis

รูปแบบ

application/pdf

แหล่งที่มา

วน 750 ป356จ 2554

ภาษา

tha

ลิขสิทธิ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Degree (name, level, descipline, grantor)

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
ศิลปกรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วันที่ใช้งาน

2554

คอลเลกชั่น

ประมินทร์ ตั้งมี . (2554). จิตรกรรมสะท้อนภาพลักษณ์อารมณ์โกรธของมนุษย์: กรณีศึกษากลวิธีการสร้างงานจิตรกรรมของ เอช อาร์ กีเกอร์ ในช่วงปี ค.ศ. 1973 - 1987. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed November 25, 2024, http://202.29.54.157/s/library/item/1310

นำออกข้อมูล :