รูปแบบความร่วมมือระหว่างห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 สังกัดสำนักบริหารคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
Item
ชื่อเรือง
รูปแบบความร่วมมือระหว่างห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 สังกัดสำนักบริหารคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
ชื่อเรื่องรอง
A model of the Co-operation of second dary Schools Libraries, in Bangkok: metropolitan area No.1 under the office of the private education commission
ผู้แต่ง
รังสฤษดิ์ ธนะเพชรพิบูลย์
หัวเรื่อง
ความร่วมมือระหว่างห้องสมุด
เครือข่ายห้องสมุด
ห้องสมุดโรงเรียน
ห้องสมุดกับโรงเรียน
รายละเอียดอื่นๆ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบความร่วมมือระหว่างห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้อำนวยการหรือครูใหญ่ ผู้ช่วยวิชาการ และบรรณารักษ์ จากห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา 70 แห่ง เขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน โรงเรียนละ 3 คน จำนวนทั้งสิ้น 210 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามความต้องการ ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดใน ด้านการบริหาร ด้านเทคนิค ด้านบริการและด้านกิจกรรม ความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.954 โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปวิเคราะห์ ข้อมูลทางสถิติ ใด้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า โรงเรียนทั้งหมดยินดีจะเข้าร่วมกับการจัดตั้งความร่วมมือระหว่างห้องสมุดในโรงเรียน เพื่อหาแหล่งข้อมูลแหล่งอื่น ๆ มากขึ้น รูปแบบความร่วมมือพบว่าโรงเรียนขนาดใหญ่ เลือกรูปแบบโครงสร้างแบบผสมผสาน คิดเป็นร้อยละ 24.3 ส่วนโรงเรียนขนาดกลาง เลือกรูปแบบโครงสร้างแบบศูนย์รวมหรือแบบดาว คิดเป็นรัยละ 13.8 โรงเรียนที่มีขนาดเล็ก เลือกรูปแบบโครงสร้างแบบแบบศูนย์รวมหรือแบบดาว คิดเป็นร้อยละ 7 6 โดยรวมแล้ว โรงเรียนส่วนใหญ่เลือกรูปแบบโครงสร้งแบบผสมผสาน คิดเป็นร้อยละ 38.6 วิธีการการติดต่อสี่อสารเชื่อมโยงระหว่าง ห้องสมุด ส่วนใหญ่ต้องการติดต่อทางไปรษณีย์ ส่วนงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินการได้มาจากงบประมาณสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ค่าสมาชิกห้องสมุด งบประมาณของสถานศึกษาเป็นต้น ความต้องการในด้านความร่วมมืระหว่างห้องสมุดในด้านการบริหาร ด้านเทคนิค ด้านบริการและกิจกรรม พบว่า โรงเรียนมีระดับความต้องการความร่วมมือ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านส่วนใหญ่ เลือกการบริหารงาน เป็นอันดับ 1 =3.84 และด้านบริการ เป็นอันดับ 2 =3.73 ส่วนด้านกิจกรรมเลือก เป็นขันดับ 3 =3. 65 ส่วนด้าน
เทคนิคเป็นอันดับสุดท้าย =3.54 เมื่อนำข้อมูลมาสังเคราะห์พบว่า รูปแบบความร่วมมือระหว่างห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 เป็นรูปแบบโครงสร้างผสมผสานเฉพาะ โรงเรียนขนาดใหญ่ จัดตั้งรูปแบบโครงสร้างผสมผสาน โรงเรียนขนาดกลางและเล็กจัดตั้งรูปแบบโครงสร้างแบบกระจายหรือดาว โดยทั้งสองโครงสร้างจะมีศูนย์หรือไม่มีศูนย์อำนวยการในการเชื่อมโยงประสานงาน ส่วนความต้องการร่วมมือ ในด้านการบริหาร โรงเรียนขนาดใหญ่และขนาดกลาง พบว่าการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านบรรณารักษศาสตร์ ร่วมกัน มีความต้องการความร่วมมือ อยู่ในระดับมาก เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก พบว่า การวางแผนดำเนินงานตามแผนร่วมกัน มีความต้องการความร่วมมือ อยู่ในระดับมาก เป็นอันดับ 1 ในด้านงานเทคนิค โรงเรียนขนาดใหญ่ ขนาดกลางและเล็ก พบว่า การใช้คอมพิวเตอร์ทำฐานข้อมูลร่วมกัน มีความต้องการความร่วมมือ อยู่ในระดับมาก เป็นอันดับ 1 ด้านบริการ โรงเรียนขนาดใหญ่ ขนาดกลางและเล็ก พบว่า บริการส่งเสริมความรู้ ต้องการ เป็นอันดับ 1 และด้านกิจกรรม โรงเรียนขนาดใหญ่ ขนาดกลางและเล็ก พบว่าโครงการต่างๆ ที่กี่ยวกับการส่งเสริมการอ่านหนังสือในห้องสมุดร่วมกัน มีความต้องการเป็นอันดับ 1
ผลการวิจัยพบว่า โรงเรียนทั้งหมดยินดีจะเข้าร่วมกับการจัดตั้งความร่วมมือระหว่างห้องสมุดในโรงเรียน เพื่อหาแหล่งข้อมูลแหล่งอื่น ๆ มากขึ้น รูปแบบความร่วมมือพบว่าโรงเรียนขนาดใหญ่ เลือกรูปแบบโครงสร้างแบบผสมผสาน คิดเป็นร้อยละ 24.3 ส่วนโรงเรียนขนาดกลาง เลือกรูปแบบโครงสร้างแบบศูนย์รวมหรือแบบดาว คิดเป็นรัยละ 13.8 โรงเรียนที่มีขนาดเล็ก เลือกรูปแบบโครงสร้างแบบแบบศูนย์รวมหรือแบบดาว คิดเป็นร้อยละ 7 6 โดยรวมแล้ว โรงเรียนส่วนใหญ่เลือกรูปแบบโครงสร้งแบบผสมผสาน คิดเป็นร้อยละ 38.6 วิธีการการติดต่อสี่อสารเชื่อมโยงระหว่าง ห้องสมุด ส่วนใหญ่ต้องการติดต่อทางไปรษณีย์ ส่วนงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินการได้มาจากงบประมาณสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ค่าสมาชิกห้องสมุด งบประมาณของสถานศึกษาเป็นต้น ความต้องการในด้านความร่วมมืระหว่างห้องสมุดในด้านการบริหาร ด้านเทคนิค ด้านบริการและกิจกรรม พบว่า โรงเรียนมีระดับความต้องการความร่วมมือ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านส่วนใหญ่ เลือกการบริหารงาน เป็นอันดับ 1 =3.84 และด้านบริการ เป็นอันดับ 2 =3.73 ส่วนด้านกิจกรรมเลือก เป็นขันดับ 3 =3. 65 ส่วนด้าน
เทคนิคเป็นอันดับสุดท้าย =3.54 เมื่อนำข้อมูลมาสังเคราะห์พบว่า รูปแบบความร่วมมือระหว่างห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 เป็นรูปแบบโครงสร้างผสมผสานเฉพาะ โรงเรียนขนาดใหญ่ จัดตั้งรูปแบบโครงสร้างผสมผสาน โรงเรียนขนาดกลางและเล็กจัดตั้งรูปแบบโครงสร้างแบบกระจายหรือดาว โดยทั้งสองโครงสร้างจะมีศูนย์หรือไม่มีศูนย์อำนวยการในการเชื่อมโยงประสานงาน ส่วนความต้องการร่วมมือ ในด้านการบริหาร โรงเรียนขนาดใหญ่และขนาดกลาง พบว่าการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านบรรณารักษศาสตร์ ร่วมกัน มีความต้องการความร่วมมือ อยู่ในระดับมาก เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก พบว่า การวางแผนดำเนินงานตามแผนร่วมกัน มีความต้องการความร่วมมือ อยู่ในระดับมาก เป็นอันดับ 1 ในด้านงานเทคนิค โรงเรียนขนาดใหญ่ ขนาดกลางและเล็ก พบว่า การใช้คอมพิวเตอร์ทำฐานข้อมูลร่วมกัน มีความต้องการความร่วมมือ อยู่ในระดับมาก เป็นอันดับ 1 ด้านบริการ โรงเรียนขนาดใหญ่ ขนาดกลางและเล็ก พบว่า บริการส่งเสริมความรู้ ต้องการ เป็นอันดับ 1 และด้านกิจกรรม โรงเรียนขนาดใหญ่ ขนาดกลางและเล็ก พบว่าโครงการต่างๆ ที่กี่ยวกับการส่งเสริมการอ่านหนังสือในห้องสมุดร่วมกัน มีความต้องการเป็นอันดับ 1
ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน
หรรษา ศิวรักษ์
สุนิตย์ เย็นสบาย
ฉวีวรรณ คูหาภินันทน์
วันที่ ปีที่จัดพิมพ์
2549
วันที่ผลิต วันที่จัดทำ
2021-08-09 06:57:07
วันที่ปรับปรุงข้อมูล
2021-08-09 06:57:07
ประเภท
thesis
รูปแบบ
application/pdf
แหล่งที่มา
วน 027.8223 ร315ร 2549
ภาษา
tha
ลิขสิทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Degree (name, level, descipline, grantor)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
วันที่ใช้งาน
2549
คอลเลกชั่น
รังสฤษดิ์ ธนะเพชรพิบูลย์ . (2549). รูปแบบความร่วมมือระหว่างห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 สังกัดสำนักบริหารคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed November 25, 2024, http://202.29.54.157/s/library/item/1324