การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่องห้องสมุดกับการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อสร้างกระบวนทัศน์การพัฒนาท้องถิ่นตามบทบาทของห้องสมุด

Item

ชื่อเรือง

การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่องห้องสมุดกับการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อสร้างกระบวนทัศน์การพัฒนาท้องถิ่นตามบทบาทของห้องสมุด

ชื่อเรื่องรอง

The development of online learning entitled library and local development to enhance the local development paradigm based on Library roles

ผู้แต่ง

ชลลดา พงษ์พัฒนโยธิน

หัวเรื่อง

การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย
คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน
ห้องสมุดกับสังคม

รายละเอียดอื่นๆ

การวิจัยเรื่องการพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่องห้องสมุดกับการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อสร้างกระบวนทัศน์การพัฒนาท้องถิ่นตามบทบาทของห้องสมุด มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนออนไลน์เรื่องห้องสมุดกับการพัฒนาท้องถิ่น 2) ประเมินคุณภาพของบทเรียนออนไลน์ 3) ทดสอบประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ 4) วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้ใช้บทเรียนออนไลน์ 5) ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บทเรียนออนไลน์ และ 6) ประเมินกระบวนทัศน์การพัฒนาท้องถิ่นตามบทบาทของห้องสมุดของผู้ใช้บทเรียนออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนิสิตสมาชิกชมรมห้องสมุดเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) บทเรียนออนไลน์เรื่องห้องสมุดกับการพัฒนาท้องถิ่น 2) แบบประเมินคุณภาพบทเรียนออนไลน์เชิงเนื้อหาและเชิงเทคนิคการนำเสนอ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4 ) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บทเรียนออนไลน์ 5)แบบประเมินกระบวนทัศน์การพัฒนาท้องถิ่นตามบทบาทของห้องสมุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation ) ค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย (coefficient of variation) และค่าที t-test โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ ยึดตามขั้นตอนของแอดดี (ASSIE model) 5 ขั้นตอน คือ การวิเคราะห์ (analysis) การออกแบบ (design) การพัฒนา (development) การนำไปใช้ (implementation) และการประเมินผล (evaluation) ขั้นตอนที่ 2 การใช้บทเรียนออนไลน์และขั้นตอนที่ 3 การประเมินกระบวนทัศน์การพัฒนาท้องถิ่นตามบทบาทของห้องสมุด ผลการวิจัยพบว่า 1.ด้านการพัฒนาบทเรียนออนไลน์เรื่องห้องสมุดกับการพัฒนาท้องถิ่นใช้โปรแกรมมูเติลในการพัฒนา สามารถเข้าถึงบทเรียนออนไลน์ได้ที่ http://elearn.bsru.ac.th/edm ประกอบด้วยเนื้อหา 3 หน่วยการเรียน หน่วยที่ 1 เรื่องห้องสมุด หน่วยที่ 2 เรื่องกระบวนทัศน์การพัฒนาท้องถิ่น หน่วยที่ 3 เรื่องบทบาทของห้องสมุดกับการพัฒนาท้องถิ่น 2.ด้านการประเมินคุณภาพของบทเรียนออนไลน์ใช้เกณฑ์การประเมิน 5 ระดับของ ลิเกิร์ต จำแนกเป็นคุณภาพเชิงเนื้อหาและคุณภาพเชิงเทคนิคการนำเสนอ คุณภาพเชิงเนื้อหาอยู่ในระดับมากที่สุด (X=4.31, S.D. = .54) คุณภาพเชิงเทคนิคการนำเสนออยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.61, S.D. = .49) 3. ด้านการทดสอบประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์แบบ E1/E2 เท่ากับ 80.18 /83.77 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ 80/80 4.ด้านการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการของบทเรียนออนไลน์ พบว่าผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยทางสถิติที่0.01 5.ด้านการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บทเรียนออนไลน์ใช้เกณฑ์การประเมิน 5 ระดับของ ลิเกิร์ต พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด (X=4.29, S.D. = .72) 6.ด้านการประเมินกระบวนทัศน์การพัฒนาท้องถิ่นตามบทบาทของห้องสมุด ประเมินตามตัวแบบ ELLD จำแนกออกเป็น 4 ด้าน คือ ด้านการศึกษา (E : Education and Research) ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ( L : Life – long learning) และด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต (D : Development of quality of life) ใช้เกณฑ์การวัดทัศนคติของเทอร์สโตน 11 ระดับ ผลการประเมินกระบวนทัศน์โดยภาพรวมก่อนเรียนอยู่ในระดับที่ดี (X=8.05, S.D. = 2.61) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับที่ดีทุกด้าน เช่นกัน ผลการประเมินโดยภาพรวมหลังเรียนพบว่าอยู่ในระดับที่ดี (X=9.00, S.D. = 1.44) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับที่ดีอย่างยิ่ง 2 รายการ และอยู่ในระดับที่ดี2 รายการ ตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้านการเรียนรู้ด้วยตนเอง อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น และด้านการศึกษาค้นคว้าวิจัย เมื่อเปรียบเทียบระดับกระบวนทัศน์ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยภาพรวมพบว่าหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทุกด้านเช่นกัน

ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน

เอื้อมพร เธียรหิรัญ
จุมพจน์ วณิชกุล
วิโฬฏฐ์ วัฒนานิมิตกูล

วันที่ ปีที่จัดพิมพ์

2553

วันที่ผลิต วันที่จัดทำ

2021-08-09 06:57:07

วันที่ปรับปรุงข้อมูล

2021-08-09 06:57:07

ประเภท

thesis

รูปแบบ

application/pdf

แหล่งที่มา

วน 371.334 ช227ก 2553

ภาษา

tha

รหัส

ลิขสิทธิ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Degree (name, level, descipline, grantor)

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
ปริญญาเอก
การศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วันที่ใช้งาน

2553

คอลเลกชั่น

ชลลดา พงษ์พัฒนโยธิน . (2553). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่องห้องสมุดกับการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อสร้างกระบวนทัศน์การพัฒนาท้องถิ่นตามบทบาทของห้องสมุด. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed November 25, 2024, http://202.29.54.157/s/library/item/1331

นำออกข้อมูล :