การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้วิธีการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคมเพื่อส่งเสริมจิตสำนึกต่อการมีส่วนร่วมในสังคม สำหรับนิสิตปริญญาตรี
Item
ชื่อเรือง
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้วิธีการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคมเพื่อส่งเสริมจิตสำนึกต่อการมีส่วนร่วมในสังคม สำหรับนิสิตปริญญาตรี
ชื่อเรื่องรอง
The development of Instructional model using service learning method for enjancing the consciousness in social participation of undergraduate enhancing the consciouness in social participation of undergraduate students
ผู้แต่ง
ลินดา เกณฑ์มา
หัวเรื่อง
การศึกษากับสังคม
การมีส่วนร่วมทางสังคม
รายละเอียดอื่นๆ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้วิธีการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคม เพื่อส่งเสริมจิตสำนึกต่อการมีส่วนร่วมในสังคมสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้วิธีการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคมพื่อส่งเสริมจิตสำนึกต่อการมีส่วนร่วมในสังคมสำหรับนิสิตระดับปริญญตรี 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ผู้วิจัยดำเนินการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน โดยการสังเคราะห์รูปแบบการเรียนการสอนกับหลักการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคม กลุ่มตัวอย่างในการประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น เป็นนิสิตระดับปริญญาตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จจ้าพระยา จำนวน 50 คน ศึกษาผลการใช้รูปแบบด้วยการนำรูปแบบการเรียน การสอนที่พัฒนาขึ้นไปทดลองสอนเป็นเวลา 16 สัปดาห์ วัดผลก่อนและหลังการเรียนด้วย เครื่องมือที่พัฒนาขึ้น สังเกตกรณีศึกษาที่มีพฤติกรรมการรับใช้สังคม จำนวน 8 คน ในระหว่าง การทดลอง วิเคราะห์การบันทึกความคิดเห็นและพฤติกรรมการรับใช้สังคมของกรณีศึกษา และสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการผู้สอนและหัวหน้าองค์กรที่เกี่ยวข้องหลังการทดลอง
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้วิธีการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคมเพื่อ ส่งเสริมจิตสำนึกต่อการมีส่วนร่วมในสังคมสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี มีองค์ประกอบหลัก 6 ประการได้แก่ 1) เป้าหมาย หลักการและเหตุผล 2) เนื้อหาวิชา 3) วิธีการจัดการเรียนการสอน 4) บทบาทของผู้เรียนและบทบาทของผู้สอน 5) สื่อ วัสดุ อุปกรณ์การเรียนการสอน และ 6) การวัดผลและประเมินผล รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีลักษณะฉพาะคือมุ่งพัฒนานิสิตทั้งด้านองค์ความรู้ และการส่งเสริมจิตสำนึกต่อการมีส่วนร่วมในสังคม โดยเน้นให้เรียนเนื้อหาตาม รายวิชาในหลักสูตรที่กำหนด และบูรณาการเนื้อหาลงสู่การทำกิจกรรมรับใช้สังคมหรือบริการสังคม วิธีการจัดการเรียนการสอน แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นกระตุ้นให้เกิดความสนใจ/ ขั้นเตรียมการ 2) ขั้นสร้างปฏิกิริยาตอบสนอง 3) ขั้นสร้างคุณค่าและประสบการณ์ และ 4) ขั้นไตร่ตรอง ยอมรับและชื่นชมในคุณค่า ในส่วนของการวัดผลและประเมินผล จะประเมินทั้ง จากความรู้ในเนื้อหาวิชา และประเมินการมีส่วนร่วมในการรับใช้สังคม ผู้ทรงคุณวุฒิประมินคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอน ในประเด็นความชัดเจนอยู่ในระดับมากที่สุด 8 ด้าน ยกว้นด้านสื่อวัสดุอุปกรณ์และด้านแนวทางการประเมินผลอยู่ในระดับมาก ส่วนประเด็นประไยชน์และการประยุกต์ใช้ อยู่ในระดับมากที่สุด 6 ด้าน ยกเว้น ด้านปฏิบัติตามได้ง่ายอยู่ในระดับมาก ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน พบว่าประชากรกลุ่มตัวอย่างที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีคะแนนเฉลี่ยจิตสำนึกต่อการมีส่วนร่วมในการสังคมสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 กรณีศึกษาที่ทำการสังเกตพฤติกรรมระหว่างการทดลอง มีพัฒนาการ ด้านพฤติกรรมการรับใช้สังคมสูงขึ้นตามสำดับจากการบันทึกความคิดเห็นและการแสดง พฤติกรรมการมีส่วนร่วมในสังคมของกรณีศึกษา รวมทั้งการสัมภาษณ์ผู้สอนและหัวหน้องค์กรที่เกี่ยวข้องสรุปได้ว่ารูปแบบดังกล่าวสามารถส่งเสริมจิตสำนึกต่อการมีส่วนร่วมในสังคมสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้วิธีการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคมเพื่อ ส่งเสริมจิตสำนึกต่อการมีส่วนร่วมในสังคมสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี มีองค์ประกอบหลัก 6 ประการได้แก่ 1) เป้าหมาย หลักการและเหตุผล 2) เนื้อหาวิชา 3) วิธีการจัดการเรียนการสอน 4) บทบาทของผู้เรียนและบทบาทของผู้สอน 5) สื่อ วัสดุ อุปกรณ์การเรียนการสอน และ 6) การวัดผลและประเมินผล รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีลักษณะฉพาะคือมุ่งพัฒนานิสิตทั้งด้านองค์ความรู้ และการส่งเสริมจิตสำนึกต่อการมีส่วนร่วมในสังคม โดยเน้นให้เรียนเนื้อหาตาม รายวิชาในหลักสูตรที่กำหนด และบูรณาการเนื้อหาลงสู่การทำกิจกรรมรับใช้สังคมหรือบริการสังคม วิธีการจัดการเรียนการสอน แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นกระตุ้นให้เกิดความสนใจ/ ขั้นเตรียมการ 2) ขั้นสร้างปฏิกิริยาตอบสนอง 3) ขั้นสร้างคุณค่าและประสบการณ์ และ 4) ขั้นไตร่ตรอง ยอมรับและชื่นชมในคุณค่า ในส่วนของการวัดผลและประเมินผล จะประเมินทั้ง จากความรู้ในเนื้อหาวิชา และประเมินการมีส่วนร่วมในการรับใช้สังคม ผู้ทรงคุณวุฒิประมินคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอน ในประเด็นความชัดเจนอยู่ในระดับมากที่สุด 8 ด้าน ยกว้นด้านสื่อวัสดุอุปกรณ์และด้านแนวทางการประเมินผลอยู่ในระดับมาก ส่วนประเด็นประไยชน์และการประยุกต์ใช้ อยู่ในระดับมากที่สุด 6 ด้าน ยกเว้น ด้านปฏิบัติตามได้ง่ายอยู่ในระดับมาก ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน พบว่าประชากรกลุ่มตัวอย่างที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีคะแนนเฉลี่ยจิตสำนึกต่อการมีส่วนร่วมในการสังคมสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 กรณีศึกษาที่ทำการสังเกตพฤติกรรมระหว่างการทดลอง มีพัฒนาการ ด้านพฤติกรรมการรับใช้สังคมสูงขึ้นตามสำดับจากการบันทึกความคิดเห็นและการแสดง พฤติกรรมการมีส่วนร่วมในสังคมของกรณีศึกษา รวมทั้งการสัมภาษณ์ผู้สอนและหัวหน้องค์กรที่เกี่ยวข้องสรุปได้ว่ารูปแบบดังกล่าวสามารถส่งเสริมจิตสำนึกต่อการมีส่วนร่วมในสังคมสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี
ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน
ดิลก บุญเรืองรอด
วิโฬฏฐ์ วัฒนานิมิตกูล
เอื้อมพร เธียรหิรัญ
วันที่ ปีที่จัดพิมพ์
2552
วันที่ผลิต วันที่จัดทำ
2021-08-09 06:57:07
วันที่ปรับปรุงข้อมูล
2021-08-09 06:57:07
ประเภท
thesis
รูปแบบ
application/pdf
แหล่งที่มา
วน 371.19 ล438ก 2552
ภาษา
tha
ลิขสิทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Degree (name, level, descipline, grantor)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
ปริญญาเอก
การศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
วันที่ใช้งาน
2552
คอลเลกชั่น
ลินดา เกณฑ์มา . (2552). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้วิธีการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคมเพื่อส่งเสริมจิตสำนึกต่อการมีส่วนร่วมในสังคม สำหรับนิสิตปริญญาตรี. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed November 25, 2024, http://202.29.54.157/s/library/item/1332