การพัฒนานวัตกรรมการจัดการเพื่อยกระดับกลุ่มหัตถกรรม OTOP (เบญจรงค์) จังหวัดสมุทรสาคร

Item

ชื่อเรือง

การพัฒนานวัตกรรมการจัดการเพื่อยกระดับกลุ่มหัตถกรรม OTOP (เบญจรงค์) จังหวัดสมุทรสาคร

ชื่อเรื่องรอง

The Development of Management Innovation to Elevate Handicraft OTOP Groups in Samutsakhon Province

ผู้แต่ง

สุภาณี อินทน์จันทร์

หัวเรื่อง

เครื่องถ้วยเบญจรงค์
โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
ธุรกิจชุมชน -- ไทย
การจัดการธุรกิจชุมชน -- ไทย -- สมุทรสาคร
อุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา
เครื่องปั้นดินเผาไทย
นวัตกรรมทางธุรกิจ -- การจัดการ

รายละเอียดอื่นๆ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนากรอบแนวคิดที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเพื่อยกระดับกลุ่มหัตถกรรม OTOP (เบญจรงค์) จังหวัดสมุทรสาคร (2) ศึกษาองค์ประกอบในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเพื่อยกระดับกลุ่มหัตถกรรม OTOP (เบญจรงค์) จังหวัดสมุทรสาคร และ (3) ศึกษาแนวทางการพัฒนานวัตกรรมการจัดการที่เหมาะสมกับการยกระดับกลุ่มหัตถกรรม OTOP (เบญจรงค์) จังหวัดสมุทรสาคร โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ เข้ามาใช้ผสมผสานกันในการดำเนินการวิจัย สำหรับค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบ Pearson ผลการวิจัยพบว่า 1. กรอบแนวคิดที่เหมาะสมในการวิจัยโดยใช้การศึกษาเชิงคุณภาพพบว่า ตัวแปรอิสระที่เหมาะสม ประกอบด้วย (1) Five Competitive Forces ของ Michael E. Porter (2) McKinsey 7’s Framework ของ Robert Waterman, Tom Peter &Julien Phillips (3) The 7P’s service marketing mix ของ Graeme & Ensor และ (4) แนวคิดเรื่องอื่นๆ ตามความเห็นของผู้บริหารระดับนโยบาย (Outsourcing และ Integration) สำหรับตัวแปรตามคือ การพัฒนานวัตกรรมการจัดการใน 3 ด้านประกอบด้วย (1) Product innovation (2) Process innovation และ (3) Market innovation 2. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานวัตกรรมการจัดการโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดย Five Competitive Forces มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาตามลำดับดังนี้ The 7P's Services Marketing Mix, McKinsey 7's Framework และแนวคิดเรื่องอื่นๆ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ทั้งนี้ ผลการวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณ พบว่า The 7P’s service marketing mix มีอิทธิพลในการพยากรณ์ความเป็นไปได้ของการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเพื่อยกระดับกลุ่มหัตถกรรม OTOP (เบญจรงค์) จังหวัดสมุทรสาคร และยังพบว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานวัตกรรมการจัดการกับการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเพื่อยกระดับกลุ่มหัตถกรรม OTOP (เบญจรงค์) จังหวัดสมุทรสาคร มีความสัมพันธ์กันในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงสรุปได้ว่าสมการพยากรณ์ที่ได้จากการวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานวัตกรรมการจัดการกับการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเพื่อยกระดับกลุ่มหัตถกรรม OTOP (เบญจรงค์) จังหวัดสมุทรสาคร มีความสอดคล้องกับผลวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานวัตกรรมการจัดการกับการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเพื่อยกระดับกลุ่มหัตถกรรม OTOP (เบญจรงค์) จังหวัดสมุทรสาคร

คำสำคัญ : การพัฒนานวัตกรรม,กลุ่มหัตถกรรมเบญจรงค์

บทคัดย่อ

This research aims to (1) Develop appropriate conceptual frame for the development of management innovation to improve handicraft (Five-color Ceramics) OTOP groups in Samut Sakhon (2) Investigate contexts and factors for the improvement of handicraft OTOP groups and (3) Consider approaches for the development of management innovation to improve handicraft OTOP groups. The researcher collected data with mixed research method, using both quantitative and qualitative, to reach the research objectives. The research samples comprises of the handicraft (Five-color Ceramics) OTOP producers and supporters of management and network for the OTOP groups.
It is found that (1) The applicable conceptual framework consists of the independent variable: Five Competitive Force, McKinsey’s 7’s Framework, The 7P’s Service Marketing Mix, Outsourcing, and integration; the dependent variables: Product innovation, Process innovation, and Market innovation. (2) The majority of the 101 respondents were female (65.30%), live in Kratoomban District (86.10%), worked as the principal entrepreneurs (60.40%), education level was lower secondary (66.30%), and registered as the OTOP entrepreneurs. Overall relation to the development of managerial innovation was found to be high. The Five Competitive Forces had the highest average score, the factors with the next highest scores were The 7P's
Services Marketing Mix, McKinsey 7's Framework, consecutively. The rest of the factors had the lowest average score. The results of multiple regression analyses indicate that 7P's Services Marketing Mix has the strongest effect in predicting and had a positive statistically significant relationship with the development of
management innovation to elevate the handicraft (Five-color Ceramics) OTOP groups. Thus, it is concluded that predictive equations from the multiple regression analyses between the factors related to the development of management innovation and the development of management innovation are congruent with the relationship analysis results between the factors related to the development of management innovation and the development of management innovation. (3) The results of the research led to the following suggestions: supports for the OTOP Five Color Ceramic entrepreneurs such as study visit, formulation of strategic plans, standard criteria and price for the products, the development of networking, employee motivation, learning
new issues for self-development, training of the development of product standards, and database for the information of Five Color Ceramic products.

Keywords: Development of management innovation, Handicraft (Five-color Ceramics) OTOP groups

ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน

สมบัติ ทีฆทรัพย์
พงศ์ หรดาล
บุญมี กวินเสกสรรค์

วันที่ ปีที่จัดพิมพ์

2555

วันที่ผลิต วันที่จัดทำ

2021-08-09 06:57:07

วันที่ปรับปรุงข้อมูล

2021-08-09 06:57:07

ประเภท

thesis

รูปแบบ

application/pdf

แหล่งที่มา

วน 338.642 ส837ก 2555

ภาษา

tha

รหัส

ลิขสิทธิ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Degree (name, level, descipline, grantor)

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
ปริญญาเอก
การจัดการเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วันที่ใช้งาน

2555

คอลเลกชั่น

สุภาณี อินทน์จันทร์ . (2555). การพัฒนานวัตกรรมการจัดการเพื่อยกระดับกลุ่มหัตถกรรม OTOP (เบญจรงค์) จังหวัดสมุทรสาคร. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed November 25, 2024, http://202.29.54.157/s/library/item/1342

นำออกข้อมูล :