รูปแบบการจัดการฟาร์มไก่เนื้อในจังหวัดนครปฐม ราชบุรี และเพชรบุรี
Item
ชื่อเรือง
รูปแบบการจัดการฟาร์มไก่เนื้อในจังหวัดนครปฐม ราชบุรี และเพชรบุรี
ชื่อเรื่องรอง
Broiler Farms Management Model in Nakhon Pathom, Ratchaburi and Petchaburi Province
ผู้แต่ง
วรวุฒิ นำสุวิมลกุล
หัวเรื่อง
การจัดการฟาร์ม-- ฟาร์มไก่เนื้อ
ฟาร์มไก่เนื้อ
โมเดลสมการ
รายละเอียดอื่นๆ
การวิจัย เรื่องรูปแบบการจัดการฟาร์มไก่เนื้อในจังหวัดนครปฐม ราชบุรี และเพชรบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพของประสิทธิผลการผลิตของฟาร์มไก่เนื้อในจังหวัดนครปฐม ราชบุรี และเพชรบุรี 2) ศึกษาอิทธิพลของการบริหารจัดการฟาร์ม การตลาด นโยบายการเมือง เศรษฐกิจและสังคม และระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน ต่อประสิทธิผลการผลิตของฟาร์มไก่เนื้อ และ 3) ศึกษารูปแบบของการจัดการฟาร์มไก่เนื้อในจังหวัดนครปฐม ราชบุรี และเพชรบุรี การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วยวิธีวิจัยเชิงปริมาณ และการวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ คือ ฟาร์มไก่เนื้อในพื้นที่จังหวัดนครปฐม ราชบุรี และเพชรบุรี ที่ได้ขึ้นทะเบียนฟาร์มกับกรมปศุสัตว์ โดยมีจำนวนฟาร์ม ทั้งสิ้น 352 ฟาร์ม จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเชิงปริมาณได้จากการสุ่มขนาดตัวอย่างตามวิธีการของยามาเน่ จำนวน 283 ฟาร์ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสอบถาม โดยสอบถามจากเจ้าของฟาร์มหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานภายในฟาร์มไก่เนื้อในจังหวัดดังกล่าว และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาเชิงคุณภาพได้จากการคัดเลือกเกษตรกรผู้มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการเลี้ยงไก่เนื้อ โดยคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ แบบสัมภาษณ์เจาะลึก การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางสถิติ โดยวิเคราะห์ในรูปแบบโมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพของประสิทธิผลการผลิตของฟาร์มไก่เนื้อ พบว่าเกษตรกรมีความคิดว่าสภาพของประสิทธิผลการผลิตของฟาร์มไก่เนื้อ ที่ประกอบด้วยน้ำหนักไก่ การเจริญเติบโต การเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ อัตราการตาย ต้นทุนการผลิต และรายได้ มีค่าโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยประสิทธิผลการผลิตของฟาร์มไก่เนื้อในด้านน้ำหนักไก่และรายได้มีค่าเฉลี่ยมากกว่าด้านอื่นๆ และประสิทธิผลการผลิตของฟาร์มไก่เนื้อด้านการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าด้านอื่น แสดงว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อให้ความสำคัญในเรื่องน้ำหนักไก่และรายได้จากการเลี้ยงไก่ เป็นตัวชี้วัดประสิทธิผลการผลิตของฟาร์มไก่เนื้อมากกว่าตัวแปรอื่นๆ 2. องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการผลิตของฟาร์มไก่เนื้อ ในจังหวัดนครปฐม ราชบุรี และเพชรบุรี ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก คือ 1) องค์ประกอบด้านการบริหารจัดการฟาร์ม ซึ่งประกอบด้วย คุณภาพการผลิต กระบวนการผลิต และการควบคุมการผลิต 2) องค์ประกอบด้านการตลาด ซึ่งประกอบด้วย ความต้องการของตลาด และราคาผลิตภัณฑ์ 3) องค์ประกอบด้านนโยบายการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ซึ่งประกอบด้วย นโยบายรัฐ และเศรษฐกิจและสังคม 4) องค์ประกอบด้านระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน ซึ่งประกอบด้วย ไฟฟ้าประปา และการเดินทาง 3. รูปแบบการจัดการฟาร์มไก่เนื้อ ในจังหวัดนครปฐม ราชบุรี และเพชรบุรี ที่ได้จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ประกอบด้วยการบริหารจัดการฟาร์ม การตลาด นโยบายการเมือง เศรษฐกิจและสังคม และระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน โดยมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลขององค์ประกอบต่างๆ ต่อประสิทธิผลการผลิตของฟาร์มไก่เนื้อ เป็นดังนี้ การบริหารจัดการฟาร์มมีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.10 การตลาดมีค่าอิทธิพลเท่ากับ - 0.17 ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานมีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.64 และอิทธิพลนโยบายการเมือง เศรษฐกิจและสังคม มีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.43 โดยสมการนี้สามารถอธิบายความแปรปรวน (R2) ได้ร้อยละ 84 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
คำสำคัญ : รูปแบบการจัดการฟาร์มไก่เนื้อ,โมเดลสมการโครงสร้าง
คำสำคัญ : รูปแบบการจัดการฟาร์มไก่เนื้อ,โมเดลสมการโครงสร้าง
บทคัดย่อ
The purposes of this study were to study 1) the conditions of existing effectiveness of broiler farms in Nakhon Pathom, Ratchaburi and Petchaburi Province, 2) the component of factors that affect on effectiveness of broiler farm and 3) an appropriate farming management model of broiler farm in Nakhon Pathom, Ratchaburi and Petchaburi Province. Research methodology used was mixed model which combines quantitative and qualitative method. The
population in this study was the broiler farms in Nakhon Pathom, Ratchaburi and Petchaburi Province which registered with the Department of Livestock Development. Samples were choosen by sampling random according to the method of Yamane. Quantitative datum were collected by using questionnaires from the owners of 283 broiler farms in Nakhon Pathom, Ratchaburi and Phetchaburi Province. Then were analyzed by Lisrel version 8.52 program.
For qualitative part, 10 purposive broiler farms expert sampling were used for in-depth interview.
The findings revealed that:
1. The effectiveness indicator of broiler farms consist of body weight, growth rate, feed efficiency, mortality rate, cost and revenue. Farmers opinions on condition of body weight, growth rate, feed efficiency, mortality rate, cost and revenue were at moderate level while body
weight and revenue were higher than the others. The farmer interest is focusing on revenue and body weight of broiler farm when compared to other component.
2. The components of factor affecting the effectiveness of broiler farms were 1) farming management with 3 minor components were production quality, process of production and quality control. 2) market with 2 minor components were market demand and product price. 3) policy, economics and social with 2 minor components were government policy, economics and social. 4) infrastructure with 2 minor components were electricity-water supply and road.
3. The farming management model of broiler farms in Nakhon Pathom, Ratchaburi and Petchaburi Province acquired by onfirmatory factor analysis consists of farming management, market, policy, economics and social, and infrastructure were well fitted. And the farming management having effect on effectiveness of broiler farm with the standard path coefficient value 0.10 ; market aspect with the standard path coefficient value -0.17; policy, economics and social aspects with the standard path coefficient value 0.43, and infrastructure aspects with the standard path coefficient value 0.64. The R-square of structural linear equation model can explain the variances with the prediction power 84 % with significance of 0.05.
Keywords : Farming management model of broiler farm, Structural Equation Modeling
population in this study was the broiler farms in Nakhon Pathom, Ratchaburi and Petchaburi Province which registered with the Department of Livestock Development. Samples were choosen by sampling random according to the method of Yamane. Quantitative datum were collected by using questionnaires from the owners of 283 broiler farms in Nakhon Pathom, Ratchaburi and Phetchaburi Province. Then were analyzed by Lisrel version 8.52 program.
For qualitative part, 10 purposive broiler farms expert sampling were used for in-depth interview.
The findings revealed that:
1. The effectiveness indicator of broiler farms consist of body weight, growth rate, feed efficiency, mortality rate, cost and revenue. Farmers opinions on condition of body weight, growth rate, feed efficiency, mortality rate, cost and revenue were at moderate level while body
weight and revenue were higher than the others. The farmer interest is focusing on revenue and body weight of broiler farm when compared to other component.
2. The components of factor affecting the effectiveness of broiler farms were 1) farming management with 3 minor components were production quality, process of production and quality control. 2) market with 2 minor components were market demand and product price. 3) policy, economics and social with 2 minor components were government policy, economics and social. 4) infrastructure with 2 minor components were electricity-water supply and road.
3. The farming management model of broiler farms in Nakhon Pathom, Ratchaburi and Petchaburi Province acquired by onfirmatory factor analysis consists of farming management, market, policy, economics and social, and infrastructure were well fitted. And the farming management having effect on effectiveness of broiler farm with the standard path coefficient value 0.10 ; market aspect with the standard path coefficient value -0.17; policy, economics and social aspects with the standard path coefficient value 0.43, and infrastructure aspects with the standard path coefficient value 0.64. The R-square of structural linear equation model can explain the variances with the prediction power 84 % with significance of 0.05.
Keywords : Farming management model of broiler farm, Structural Equation Modeling
ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน
ดิลก บุญเรืองรอด
สมบัติ ทีฆทรัพย์
จันทร์วิภา ดิลกสัมพันธ์
วันที่ ปีที่จัดพิมพ์
2555
วันที่ผลิต วันที่จัดทำ
2021-08-09 06:57:07
วันที่ปรับปรุงข้อมูล
2021-08-09 06:57:07
ประเภท
thesis
แหล่งที่มา
วน 636.5 ว275ร 2555
ภาษา
tha
รหัส
https://opacb.bsru.ac.th/cgi-bin/koha/opac-detail.pl?biblionumber=86252
ลิขสิทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Degree (name, level, descipline, grantor)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
ดนตรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
วันที่ใช้งาน
2555
คอลเลกชั่น
วรวุฒิ นำสุวิมลกุล . (2555). รูปแบบการจัดการฟาร์มไก่เนื้อในจังหวัดนครปฐม ราชบุรี และเพชรบุรี. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed November 25, 2024, http://202.29.54.157/s/library/item/1344