การพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทย

Item

ชื่อเรือง

การพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทย

ชื่อเรื่องรอง

An Approach to Develop the Competitiveness of Thailand Auto Parts Industry

ผู้แต่ง

ธนรัตน์ ครุวรรณเจริญ

หัวเรื่อง

อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ -- การบริหาร

รายละเอียดอื่นๆ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพการแข่งขันและปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทย และนำไปสร้างแนวทางการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันให้แก่อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทย ดำเนินการวิจัยโดยการวิเคราะห์ข้อมูลอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยระหว่างปีพ.ศ.2552 ถึง พ.ศ. 2554 เปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคเอเชีย 9 ประเทศ ร่วมกับการศึกษาหลักการบริหารการผลิต แบบลีนและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาพัฒนาเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ 120 บริษัทซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 9 คนจากบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ 5 บริษัท ประมวลผลด้วยค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์การถดถอยเชิงซ้อนเพื่อศึกษาอิทธิพลของตัวแปร และวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์ของตัวแปรโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป LISREL ผลการศึกษาพบว่า เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคเอเชีย 9 ประเทศ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยประสบปัญหาด้านความสามารถและทักษะของแรงงาน เทคโนโลยีการผลิต ต้นทุนการผลิต ระบบโลจิสติกส์ นโยบายของภาครัฐ และด้านการวิจัยและพัฒนา จากการวิเคราะห์อิทธิพลของปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมทั้ง 6 ปัจจัย พบว่าปัจจัยด้านคุณภาพ ต้นทุนการผลิต โลจิสติกส์ การจัดทรัพยากรมนุษย์ และนวัตกรรม มีความสัมพันธ์และเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดผลิตภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสามารถอธิบายอิทธิพลของการเกิดเหตุการณ์ได้อย่างน้อยร้อยละ 85.4 ปัจจัยด้านผลิตภาพ คุณภาพและต้นทุนการผลิต มีอิทธิพลอย่างมากต่อความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมอย่างน้อยร้อยละ84.3 ผลจากการศึกษาแบบจำลองสมการเชิงโครงสร้างยังพบว่าปัจจัยทั้ง 6 ปัจจัยมีความสัมพันธ์ต่อกันใน เชิงโครงสร้างไม่น้อยกว่าร้อยละ 91 และเมื่อนำระบบการผลิตแบบลีน (Lean Manufacturing System) ซึ่งประกอบด้วยเทคนิคไคเซ็น การผลิตแบบทันเวลาพอดี กิจกรรมกลุ่มคุณภาพ และการซ่อมบำรุงแบบทวีผล มาใช้กำจัดความสูญเปล่า ปรับปรุงกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการปฏิบัติงาน จะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลง ความรวดเร็วและถูกต้องของระบบโลจิสติกส์ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ และการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานรองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเป็นแนวทางที่ใช้เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทยได้

คำสำคัญ : ความสามารถในการแข่งอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทย , ระบบการผลิตแบบลีน

บทคัดย่อ

The purposes of this research were to comparatively review the competitiveness of Thailand Auto Parts Industry including the key factors influencing its competitiveness, and to develop an improvement approach for Thailand Auto Parts Industry’s competitiveness. The industry data between 2009 and 2011 were gathered, and analyzed comparatively with 9 countries in Asia. The lean manufacturing system concept and related literatures were reviewed to develop the research instruments for collecting the data from 120 auto part companies as the purposive sampling, and for the in-depth interviews of 9 key informants from 5 companies, as well. The data were analyzed by using the descriptive statistics, multiple regression analysis, and the structural equation model by the LISREL.

The results showed that, when comparable with those Asian countries, Thailand Auto Parts Industry is confronting with the lack of supports in labor’s competencies and skills; production technology; production costs; logistics; government ‘s policies, and research and development. It was found that there was a significant influence among Quality, Production Costs, Logistics, Human Resource Management, and Innovation toward Productivity, equally to 85.4%. Besides, Productivity, Quality and Production Costs greatly influence to the competitiveness of the industry in the percentage of 84.3. In addition, the finding of analysis by the LISREL informed that there were relationships at least 91% among 6 factors influencing to the Thailand Auto Parts Industry’s competitiveness. When applying the lean manufacturing system, Kaizen, Just in Time, Quality Control Circle, and Total Preventive Maintenance in the process of wastes reduction and continuous process improvement to strengthen the process quality and working standards, it could lower the production costs, enhance the quick and accurate logistics to meet the customers’ demands, and advance the labors’ skills to cope with the technological changes, and this was proposed as an approach for increasing the competitiveness of Thailand Auto Parts Industry.

Keywords : Competitiveness, Thailand Auto Parts Industry, Lean Manufacturing System

ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน

สมบัติ ทีฆทรัพย์
จักร ติงศภัทิย์
บุญมี กวินเสกสรรค์

วันที่ ปีที่จัดพิมพ์

2555

วันที่ผลิต วันที่จัดทำ

2021-08-09 06:57:07

วันที่ปรับปรุงข้อมูล

2021-08-09 06:57:07

ประเภท

thesis

รูปแบบ

application/pdf

แหล่งที่มา

วน 629.2 ธ152ก 2555

ภาษา

tha

รหัส

ลิขสิทธิ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Degree (name, level, descipline, grantor)

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
ปริญญาเอก
การจัดการเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วันที่ใช้งาน

2555

คอลเลกชั่น

ธนรัตน์ ครุวรรณเจริญ . (2555). การพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทย. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed November 25, 2024, http://202.29.54.157/s/library/item/1352

นำออกข้อมูล :