รูปแบบผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบมีส่วนร่วม
Item
ชื่อเรือง
รูปแบบผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบมีส่วนร่วม
ชื่อเรื่องรอง
The administration achievement pattern of participatory Ecotourism
ผู้แต่ง
ตุลยราศรี ประเทพ
หัวเรื่อง
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
รายละเอียดอื่นๆ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบมีส่วนร่วม 2) ประเมินผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการการท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วมของระบบองค์กรการบริหารจัดการ สมาชิกในชุมชน ผู้ประกอบการ และนักท่องเที่ยว 3)ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และ 4)รูปแบบผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้นำชุมชนคณะกรรมการชุมชน ผู้ประกอบการ ชาวบ้าน จำนวน 337 คน เครื่องมือที่ใช้ในดำเนินการจัดเก็บและรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบประเมินตนเอง 2) การสังเกต และ 3) การสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพัทธ์และการวิเคราะห์ปัจจัยอิทธิพล การวิเคราะห์สมการโครงสร้างวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุ ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบมีส่วนร่วม โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยเรียงลำดับ ดังนี้ ด้านระบบองค์กรการบริหารจัดการ ด้านผู้ประกอบการ ด้านนักท่องเที่ยว มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และด้านสมาชิกในชุมชนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2) ผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบมีส่วนร่วม ในภาพรวมไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ย ปรากฏว่าผลสัมฤทธิ์ความพร้อมผ่านเกณฑ์การประเมิน 3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยภาพรวม ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ย พบว่า ปัจจัยด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และ ปัจจัยด้านกระบวนการบริหารจัดการ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 4) รูปแบบผลสัมฤทธิ์ของการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย ปัจจัย 4 ด้าน คือ ด้านระบบองค์การบริหารจัดการ ด้านผู้ประกอบการ ด้านนักท่องเที่ยว ด้านชุมชน ซึ่งปัจจัยด้านผู้ประกอบการ ส่งผลต่อ ผลสัมฤทธิ์มากที่สุด รองมาเป็น ด้านนักท่องเที่ยว โดยด้านระบบองค์การบริหารจัดการ จะส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทั้งทางตรง และทางอ้อม
คำสำคัญ : รูปแบบผลสัมฤทธิ์,การบริหารจัดการ,การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
คำสำคัญ : รูปแบบผลสัมฤทธิ์,การบริหารจัดการ,การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
บทคัดย่อ
The purposes of this research were to study 1) the problems of participatory ecotourism management 2) the assessment of participatory ecotourism management achievement of the management organization, community members, entrepreneurs and tourists 3) the factors affecting the participatory ecotourism management achievement and 4) the model of participatory ecotourism management achievement. The population and sample included community leaders, community committees, entrepreneurs and local people in total of 337 persons. Data were collected using1) the self-assessment form developed by the researcher2) observation and
3) interview. The quantitative data were analyzed in frequency, percentage, mean, deviation, correlation coefficient. The analysis of influent factors, structural equation modeling and causal model were done.
The findings revealed as follows:
1) The problem on the participatory ecotourism management in Koh Samed Sub-district was at a medium level. It was found out that the highest mean score was found in the management organization, the entrepreneur and the tourist while the community member had the lowest mean score.
2) The study on the achievement of the participatory ecotourism management showed
that on average the assessment result was a failure, but the mean score showed that the achievement result was at a ready- to- pass criteria.
3) The four factors influenced the achievement of the ecotourism management passed the assessment. The natural conservation and culture had the highest mean score and the management system had the lowest mean score.
4) The pattern of participatory ecotourism management achievement was composed of four factors: management system, the entrepreneur, tourist, and community. The entrepreneur highest affected the achievement, followed by the tourist. And the organization management system directly and indirectly influenced the achievement.
Keywords : Achievement, Management, Ecotourism
3) interview. The quantitative data were analyzed in frequency, percentage, mean, deviation, correlation coefficient. The analysis of influent factors, structural equation modeling and causal model were done.
The findings revealed as follows:
1) The problem on the participatory ecotourism management in Koh Samed Sub-district was at a medium level. It was found out that the highest mean score was found in the management organization, the entrepreneur and the tourist while the community member had the lowest mean score.
2) The study on the achievement of the participatory ecotourism management showed
that on average the assessment result was a failure, but the mean score showed that the achievement result was at a ready- to- pass criteria.
3) The four factors influenced the achievement of the ecotourism management passed the assessment. The natural conservation and culture had the highest mean score and the management system had the lowest mean score.
4) The pattern of participatory ecotourism management achievement was composed of four factors: management system, the entrepreneur, tourist, and community. The entrepreneur highest affected the achievement, followed by the tourist. And the organization management system directly and indirectly influenced the achievement.
Keywords : Achievement, Management, Ecotourism
ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน
อภิชาต ภัทรธรรม
อารีวรรณ เอี่ยมสะอาด
อัจฉรา แก้วน้อย
วันที่ ปีที่จัดพิมพ์
2556
วันที่ผลิต วันที่จัดทำ
2021-08-09 06:57:07
วันที่ปรับปรุงข้อมูล
2021-08-09 06:57:07
ประเภท
thesis
รูปแบบ
application/pdf
แหล่งที่มา
วน 338.4791 ต651ร 2556
ภาษา
tha
ลิขสิทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Degree (name, level, descipline, grantor)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
ปริญญาเอก
การศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
วันที่ใช้งาน
2556
คอลเลกชั่น
ตุลยราศรี ประเทพ . (2556). รูปแบบผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบมีส่วนร่วม. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed November 25, 2024, http://202.29.54.157/s/library/item/1388