ปัจจัยเชิงพหุระดับที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโรงเรียนขนาดเล็กจังหวัดชัยภูมิ

Item

ชื่อเรือง

ปัจจัยเชิงพหุระดับที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโรงเรียนขนาดเล็กจังหวัดชัยภูมิ

ชื่อเรื่องรอง

Multi-Level Factors Affecting Success of Small Schools In Chaiyaphum Province

ผู้แต่ง

วิชัย ประทุมไทย

หัวเรื่อง

การจัดการศึกษา-- ประถมศึกษา

รายละเอียดอื่นๆ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา1) ระดับความสำเร็จของโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดชัยภูมิ และ 2) ปัจจัยเชิงพหุระดับที่ส่งผล ต่อความสำเร็จของโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดชัยภูมิ ใช้วิธีการวิจัยเชิงผสมด้วยวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพตัวแปรความสำเร็จของโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดชัยภูมิประกอบด้วย 1) คุณภาพการบริหารโรงเรียน 2) คุณภาพการจัดการเรียนรู้ และ 3)คุณภาพนักเรียน สำหรับตัวแปรอิสระปัจจัยเชิงพหุระดับที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโรงเรียนขนาดเล็ก ปัจจัยระดับโรงเรียนประกอบด้วย1) วิสัยทัศน์ของผู้บริหาร 2) ภาวะผู้นำของผู้บริหาร 3) การสร้างแรงบันดาลใจ 4) การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องและ5) กระบวนการบริหารคุณภาพ ปัจจัยระดับห้องเรียนประกอบด้วย1) ความรอบรู้ของครู 2) แรงจูงใจในการทำงานของครู 3) บรรยากาศการจัดชั้นเรียน และ 4) กระบวนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 -3 จำนวน 320 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลเชิงปริมาณมาจากการสุ่มแบบหลาย ขั้นตอน ประกอบด้วยผู้บริหาร 320 คน และครูผู้สอน 640 คน รวม 960 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ฉบับที่ 1 แบบสอบถามผู้บริหาร มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 และฉบับที่ 2 แบบสอบถามครู มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 ผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วยผู้บริหาร 8 คน และครูผู้สอน 15 คน รวม 21 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ เจาะลึกที่ได้รับการวิเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญตรวจเครื่องมือตามกรอบแนวคิดการวิจัย สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับ (Multi-level Structure Equation Modeling : mSEM) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1.ระดับความสำเร็จของโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดชัยภูมิ เชิงปริมาณโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X= 4.270, S.D. = 0.087) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ คุณภาพการบริหารโรงเรียน คุณภาพการจัดการเรียนรู้และคุณภาพนักเรียนในเชิงคุณภาพพบว่า ด้านคุณภาพการบริหารโรงเรียน ด้านคุณภาพการจัดการเรียนรู้และด้านคุณภาพนักเรียนมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก 2. การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงพหุระดับที่ส่งผลต่อความส าเร็จของโรงเรียนขนาดเล็กจังหวัดชัยภูมิ ในระดับห้องเรียนพบว่า ปัจจัยกระบวนการจัดการเรียนรู้ ส่งผลทางตรงต่อความสำเร็จของโรงเรียนขนาดเล็ก ความรอบรู้ของครู และบรรยากาศการจัดชั้นเรียน ส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อความสำเร็จของโรงเรียนขนาดเล็ก มีค่าสัมประสิทธิ์การทำนาย (R2) เท่ากับร้อยละ 29.10 และผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า ปัจจัยทุกตัวส่งผลต่อความสำเร็จของโรงเรียนขนาดเล็ก ส่วนระดับโรงเรียน การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องส่งผลทางตรงต่อความสำเร็จของโรงเรียน วิสัยทัศน์ของผู้บริหาร และ ภาวะผู้นำของผู้บริหารส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อความสำเร็จของโรงเรียน ส่วนกระบวนการบริหารคุณภาพส่งผลทางลบต่อความสำเร็จของโรงเรียนมีค่าสัมประสิทธิ์การทำนาย (R2) เท่ากับร้อยละ 24.40 และผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า ปัจจัยทุกตัว ส่งผลต่อความสำเร็จของโรงเรียนขนาดเล็ก โดยโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และมีค่าสถิติประกอบด้วย = 781.387, df = 321, CF I= 0.922, TLI = 0.831, RMSEA = 0.039, SRMR Within = 0.012, SRMR Between = 0.257 และค่า /df = 2.434ในกรณีที่โมเดลสมการซับซ้อนสัดส่วนค่าไคสแควร์กับองศาอิสระที่มีค่าระหว่าง 2 - 5สามารถยอมรับได้

คำสำคัญ : ปัจจัยเชิงพหุระดับความสำเร็จของโรงเรียนขนาดเล็ก

บทคัดย่อ

The purposes of this research were to study 1) success levels of small schools in Chaiyaphum Province, and 2) multi-level factors affecting the success of those small schools. The research method wasof a mixeddesign, using both quantitative and qualitative methods. Success element variables of the schools were: 1) school management quality , 2) learning management quality, and 3) student quality. Independent variables of multi-level factors affecting the success of the schools at the school level were: 1) visions of the administrators ,2) leadership of the administrators,3) encouragement of inspiration,4) participation of stakeholders ,and 5) process of quality management. At the classroom level, the factors consisted of: 1) knowledge of teachers,2) work motivation of the teachers,3) class management climate, and 4) learning management process. As ample of 320 was randomly selected from small schools under the Chaiyaphum Provincial Educational Service Area 1, 2, and 3 Offices. The quantitative data provided by 320 administrators and 640 teachers, for a total of 960, who were selected by means of multi - stage random sampling technique . The instruments used were two questionnaire versions: 1) an administrator version with a confidence value of 0.83 , and 2) a teacher version with a confidence of 0.98. For the qualitative data , a sample of eight administrators and 15 teachers, for a total of 21 , was purposively chosen. The instrument used was an in - depth interview schedule . Those instruments were scrutinized , under the framework of the research tool , by the selected experts. The data were statistically analyzed using mean and standard deviation, skewness, analysis of multi - level structure equation modeling using a computer package, and content analysis. The findings revealed as follows: 1. The overall achievement levels of the small schools, quantitatively analyzed, were at the high level (X= 4.270, S.D. = 0.087) . All three Achievement aspects were also at the high level. Those aspects were ranked in descending order a s quality of school management , quality of learning, and student quality . Qualitatively , the aspects of quality of school management ,quality of learning and student quality were also rated at the high level . 2.At the classroom level, quantitative multilevel analysis of multiple factors that contributed to the success of small schools showed that the learning process contribute directly to success of the small schools, while knowledge of teachers and class management climate contributed both directly and indirectly to the success. The coefficient of determination (R2) was equal to 29.10 percent. The qualitative analysis showed all factors affecting success of the small schools. As for the school level, participation of all stakeholders directly contributed to success of the schools ; vision of the management and leadership of the executive contribute both directly and indirectly to the success. The quality management process, however, negatively affected success of the school. The coefficient of determination (R2) was equal to 24.40 percent. The qualitative analysis showed all factors affecting the success. The model was consistent with empirical data. The statistics included the = 781.387, df = 321, CF I= 0.922, TLI = 0.831, RMSEA = 0.039, SRMR Within = 0.012, SRMR Between = 0.257 และค่า /df = 2.434 In the case of a complicated equation, the model ratio chi-square with degrees of freedom in the range of 2-5 was acceptable.

Keywords : Multi-Level Factors, Success of Small Schools

ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน

สนั่น ประจงจิตร
พีรพัฒน์ วัชรินทรางกูน
สุดารัตน์ ชาญเลขา

วันที่ ปีที่จัดพิมพ์

2556

วันที่ผลิต วันที่จัดทำ

2021-08-09 06:57:07

วันที่ปรับปรุงข้อมูล

2021-08-09 06:57:07

ประเภท

thesis

รูปแบบ

application/pdf

แหล่งที่มา

วน 372.1 ว541ป 2556

ภาษา

tha

รหัส

ลิขสิทธิ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Degree (name, level, descipline, grantor)

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
ปริญญาเอก
การบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วันที่ใช้งาน

2556

คอลเลกชั่น

วิชัย ประทุมไทย . (2556). ปัจจัยเชิงพหุระดับที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโรงเรียนขนาดเล็กจังหวัดชัยภูมิ. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed November 24, 2024, http://202.29.54.157/s/library/item/1405

นำออกข้อมูล :