พลังของแสงในจิตรกรรมภาพทิวทัศน์แบบผสานจุดสี

Item

ชื่อเรือง

พลังของแสงในจิตรกรรมภาพทิวทัศน์แบบผสานจุดสี

ชื่อเรื่องรอง

Luminous Landscape Painting in Pointillistic Style

ผู้แต่ง

วาสนา ขรึมสันเทียะ

หัวเรื่อง

จิตรกรรม
ภาพทิวทัศน์

รายละเอียดอื่นๆ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลงานจิตรกรรมของ ชอร์จ เซอร์ร่า(Georges Seurat) จำนวน 8 ภาพในประเด็นวิธีจุด การผสานจุดสี 2) ศึกษาลักษณะค่าต่างแสงจากภาพถ่ายทิวทัศน์ต้นไม้แบบย้อนแสง จำนวน 7 ภาพในประเด็นตำแหน่งของแสง ปริมาณพื้นที่ความมืดและความสว่าง และ 3) สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม เรื่อง พลังของแสงในจิตกรรมภาพทิวทัศน์แบบผสานจุดสี ด้วยสีอะคริลิกบนผ้าใบ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผลงานจิตรกรรมของ ชอร์จ เซอร์ร่า จำนวน 8 ภาพและภาพถ่ายทิวทัศน์ต้นไม้แบบย้อนแสง จำนวน 7 ภาพ กำหนดวิธีการสุ่มแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ภาพจิตรกรรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจำนวน 4 ภาพ และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะโดยใช้เทคนิคเดลฟายประยุกต์ ผลการวิจัยพบว่า 1. การศึกษาผลงานจิตรกรรมของ ชอร์จ เซอร์ร่า จำนวน 8 ภาพ ประเด็นวิธีจุด พบว่า ใช้วิธีจุดวงรีขนาดเล็กมากที่สุด รองลงมาเป็นใช้วิธีจุดวงรีขนาดใหญ่ วิธีจุดกลมขนาดใหญ่กับวิธีจุดกลมขนาดเล็ก ใช้ในระดับปานกลางใกล้เคียงกัน ส่วนวิธีแต้มขีดมีปริมาณการใช้น้อยที่สุด ประเด็นการผสานจุดสี พบว่า ใช้วิธีผสานจุดสีเหลื่อมกันมากที่สุด รองลงมาเป็นการใช้วิธีผสานจุดสีแบบซ้อนกันในระดับปานกลาง และผสานแบบจุดสีติดกันใช้น้อยที่สุด 2. การศึกษาลักษณะค่าต่างแสงจากภาพถ่ายทิวทัศน์ต้นไม้แบบย้อนแสงจำนวน 7 ภาพ ประเด็นตำแหน่งของแสง พบว่า แสงส่องจากมุมขวาของภาพมากที่สุด สำหรับปริมาณพื้นที่ความมืดและความสว่าง พบว่า ปริมาณพื้นที่มืดสลัวมีมากที่สุด และปริมาณพื้นที่สว่างจ้ามีน้อยที่สุด 3. การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม เรื่อง พลังของแสงในจิตรกรรมภาพทิวทัศน์แบบผสานจุดสี ด้วยสีอะคริลิกบนผ้าใบ มีการใช้วิธีจุดวงรีขนาดเล็กมากที่สุด รองลงมาใช้วิธีจุดวงรีขนาดใหญ่ วิธีจุดกลมขนาดใหญ่ กับวิธีจุดกลมขนาดเล็ก ใช้ในระดับปานกลางใกล้เคียงกัน และใช้วิธีแต้มขีดน้อยที่สุด การผสานจุดสี วิธีผสานเหลื่อมกันใช้มากที่สุด วิธีผสานซ้อนกัน ใช้ในระดับปานกลาง และวิธีผสานจุดสีที่ใช้น้อยที่สุดคือแบบจุดสีติดกัน การจัดตำแหน่งของแสงให้ส่องจากมุมขวาของภาพ ใช้มากที่สุด ปริมาณพื้นที่มืดสลัว มีมากที่สุด และปริมาณพื้นที่สว่างจ้า มีน้อยที่สุด

คำสำคัญ : พลังของแสง, ภาพทิวทัศน์ ,แบบผสานจุดสี

บทคัดย่อ

The purposes of this research were 1) to study the 8 paintings of Georges Seurat in terms of pointillism 2) to study the chiaroscuro of 7 trees landscape silhouette photos in terms of luminaries and areas of darkness and brightness 3) to create the paining entitled “Luminous Landscape Painting in Pointillistic Style in acrylic on canvas”. The sample included eight paintings of Georges Seurat and 7 trees landscape silhouette photos. Data were collected using grid table, structured observation checklist, structured interview, including 4 paintings in the 1st time and 2nd time created by researcher. Delphi technique was applied to collected data from artistic specialist. Data was analyzed in percentage. The findings revealed as follows. 1. The small points of ellipse were mostly adopted for the 8 paintings of Georges Seurat followed by the bigger ones. The bigger ones and the smaller ones of circle points were nearly found in average while stippling was rarely used. Pointillist painting with colour fringing was mostly found while the overlapping was averagely found and adjacent style was rarely used. 2. The study of chiaroscuro of 7 trees silhouette photos in terms of luminaries revealed that the luminaries mostly started from the upper right corner of the painting. As for areas of darkness and brightness, the dark and dim areas was mostly shown whereas the brighter areas was rarely adopted. 3. The creation of paining entitled “Luminous Landscape Painting in Pointillistic Style” in acrylic on canvas. revealed that the small points of ellipse were mostly used followed by the bigger ones. The bigger ones and the smaller ones of circle points were used in average while stippling was rarely used. Pointillist painting with colour fringing was mostly used the overlapping was averagely adopted adjacent style was rarely used in some areas. the luminaries mostly started from the upper right corner of the painting. the dark and dim areas were more adopted than brighter areas.

Keywords: Luminous , Landscape Painting, Pointillistic

ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน

พีระพงษ์ กุลพิศาล
วรรณา พิเชฐพฤทธ์
พิเชษฐ์ พันธ์เทียน

วันที่ ปีที่จัดพิมพ์

2558

วันที่ผลิต วันที่จัดทำ

2021-08-09 06:57:07

วันที่ปรับปรุงข้อมูล

2021-08-09 06:57:07

ประเภท

thesis

รูปแบบ

application/pdf

แหล่งที่มา

วน 750 ว491พ 2558

ภาษา

tha

รหัส

ลิขสิทธิ์

มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Degree (name, level, descipline, grantor)

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
ศิลปกรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วันที่ใช้งาน

2558

คอลเลกชั่น

วาสนา ขรึมสันเทียะ . (2558). พลังของแสงในจิตรกรรมภาพทิวทัศน์แบบผสานจุดสี. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed November 24, 2024, http://202.29.54.157/s/library/item/1409

นำออกข้อมูล :