การพัฒนารูปแบบสุขภาวะเพื่อความอยู่ดีมีสุขโดยประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของตำบลนาข่า อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
Item
ชื่อเรือง
การพัฒนารูปแบบสุขภาวะเพื่อความอยู่ดีมีสุขโดยประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของตำบลนาข่า อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
ชื่อเรื่องรอง
The Development of Model for Well-being Community Using Sufficiency Economy Philosophy, Naka Sub-district, Wapipathum District, Mahasarakham Province.
ผู้แต่ง
สุภาเพ็ญ เตชะเพิ่มผล
หัวเรื่อง
การพัฒนาชุมชน
รายละเอียดอื่นๆ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนารูปแบบสุขภาวะชุมชนเพื่อความอยู่ดีมีสุขโดยประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบสุขภาวะชุมชนเพื่อความอยู่ดีมีสุขโดยประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3) ศึกษาความพึงพอใจการดำเนินงานสุขภาวะชุมชนอยู่ดีมีสุขในระดับตำบล และ 4 ) ศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จผลการใช้รูปแบบสุขภาวะชุมชนเพื่อความอยู่ดีมีสุขในระดับตำบล กำหนดพื้นที่เป้าหมายในการวิจัย เป็นพื้นที่ที่เคยเข้าร่วมโครงการพัฒนาและวิจัยสุขภาวะชุมชนเพื่อความอยู่ดีมีสุขจังหวัดมหาสารคาม กำหนดเป็นพื้นที่ดำเนินการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 2 ตำบล คือ ตำบลนาข่า และตำบลประชาพัฒนา รวมทั้งหมด 27 ชุมชน สุ่มพื้นที่ในการวิจัย ใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย (Simple Random Sampling) โดยวิธีการจับสลากได้ตำบลนาข่า อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม เป็นตำบลในการวิจัย มีจำนวน 16 หมู่บ้าน เลือกหมู่บ้านในการพัฒนารูปแบบสุขภาวะชุมชนเพื่อความอยู่ดีมีสุขโดยประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในตำบลนาข่า อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Random Sampling ) โดยให้หมู่บ้านในตำบลอาสาสมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้หมู่บ้านที่เป็นกลุ่มตัวอย่างการวิจัย จำนวน 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 4 บ้านวังจาน หมู่ 13 บ้านวังใหม่ และหมู่16 บ้านวังเหนือ ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีรูปแบบสุขภาวะชุมชนเพื่อความอยู่ดีมีสุขโดยประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2 องค์ประกอบหลัก คือ 1) การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 6 ขั้นตอน และแผนการดำเนินงานจัดกิจกรรมการเรียนรู้สุขภาวะชุมชนเพื่อความอยู่ดีมีสุข 17 กิจกรรมย่อย เครื่องมือในการวิจัยมี 2 ประเภท ประเภทที่ 1 คือ 1) เครื่องมือในการพัฒนางาน ได้แก่ คู่มือการดำเนินงานสุขภาวะชุมชนเพื่อความอยู่ดีมีสุขโดยประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2) ตัวชี้วัดความสำเร็จสุขภาวะชุมชนอยู่ดีมีสุข ประเภทที่ 2 คือ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) บันทึกการปฏิบัติทั้งก่อนดำเนินพัฒนา ระหว่างดำเนินการพัฒนา และหลังดำเนินการพัฒนา 2) แบบสอบถามความพึงพอใจการดำเนินสุขภาวะชุมชนเพื่อความอยู่ดีมีสุข มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .86 และ 3) ประเด็นการสนทนากลุ่มในการวิเคราะห์ปัจจัยแห่งความสำเร็จผลการใช้รูปแบบสุขภาวะชุมชนเพื่อความอยู่ดีมีสุข ปรับปรุงจากฉลาด จันทรสมบัติ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบค่า t-test แบบ Dependent ในส่วนของตัวชี้วัดความสำเร็จระหว่างหลังดำเนินการพัฒนากับก่อนดำเนินการพัฒนา ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบสุขภาวะชุมชนเพื่อความอยู่ดีมีสุขโดยประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมประกอบด้วย 6 ขั้นตอนและ 17 กิจกรรม 2) ผลการใช้รูปแบบสุขภาวะชุมชนเพื่อความอยู่ดีมีสุขโดยประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมี 2 องค์ประกอบ คือการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 6 ขั้นตอน 19 กิจกรรม และการใช้ควบคู่กับแผนการดำเนินงานจัดกิจกรรมการเรียนรู้สุขภาวะชุมชนเพื่อความอยู่ดีมีสุข 3) ความพึงพอใจการดำเนินงานรูปแบบสุขภาวะชุมชนเพื่อความอยู่ดีมีสุขโดยประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของผู้ร่วมวิจัย โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก 4) ปัจจัยแห่งความสำเร็จของผลการดำเนินงานจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบสุขภาวะชุมชนเพื่อความอยู่ดีมีสุขโดยประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมี 6 ปัจจัย ข้อเสนอแนะจากการวิจัยคือ ควรมีการนำขั้นตอนการวิจัยที่ค้นพบไปทดสอบในพื้นที่ชุมชนหรือระดับอำเภอเพื่อประเมินผลในเชิงลึกและกว้างกว่าระดับตำบล
คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบสุขภาวะชุมชน ความอยู่ดีมีสุข ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบสุขภาวะชุมชน ความอยู่ดีมีสุข ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
บทคัดย่อ
The purposes of this participatory action research were 1) to develop the model for well-being community using sufficiency economy philosophy 2) to investigate the results of implementation of such a model 3) to study satisfaction towards the implementation of community health conditions at sub-district level and 4) to examine the factors affecting the success in implementing the developed model at sub-district level. The targeted areas included those which participated in the Project of Development and Research of Well-being Community Health in Mahasarakham Province, i.e., two sub-district located in Wapipathum District: Naka Sub-district and Prachapattana Sub-district with twenty-seven communities obtained through simple random sampling. After drawing lots, sixteen villages from Naka Sub-district in Wapipathum District were selected. Within these villages, three villages were selected through purposive random sampling for the research implementation, including Moo 4 Banwangjan, Moo 13 Banwangmai, and Moo 16 Banwangneau. Research and development design was adopted two components of the model for well-being community using sufficiency economy philosophy were designated – 1) six processes of participatory action research and 2) seventeen sub-action plans. Two types of research instruments were employed, i.e., 1) developmental instruments – implementation manual and success indicators and 2) data collection instruments – pre-implementation, during implementation, and post-implementation journal, satisfaction questionnaire with reliability at .86, and focus group for analysis of success factors adapted from Chalard Chantarasombat Data were statistically analyzed in percentage, mean, standard deviation, t-test for dependent group. The findings revealed as follows. 1) The model for well-being community using sufficiency economy philosophy was based on participatory action research with six processes and seventeen activities. 2) The implementation of the developed model required two components – participatory action research with six processes and nineteen activities, and the implementation in line with operational plans. 3) The participants’ satisfaction towards the implementation of community health conditions was generally found at the high level. 4) There were six factors affecting the success in implementing the developed model. The further suggestions from the research included testing the discovered processes in the district level communities for extensive assessment.
Keywords: Development of Community Health Model, Well-being, Sufficiency Economy Philosophy
Keywords: Development of Community Health Model, Well-being, Sufficiency Economy Philosophy
ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน
ฉลาด จันทรสมบัติ
วรรณรา ชื่นวัฒนา
วันที่ ปีที่จัดพิมพ์
2558
วันที่ผลิต วันที่จัดทำ
2021-08-09 06:57:07
วันที่ปรับปรุงข้อมูล
2021-08-09 06:57:07
ประเภท
thesis
รูปแบบ
application/pdf
แหล่งที่มา
วน 307.14 ส838ก 2558
ภาษา
tha
ลิขสิทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Degree (name, level, descipline, grantor)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
ปริญญาเอก
สาขาวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
วันที่ใช้งาน
2558
คอลเลกชั่น
สุภาเพ็ญ เตชะเพิ่มผล . (2558). การพัฒนารูปแบบสุขภาวะเพื่อความอยู่ดีมีสุขโดยประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของตำบลนาข่า อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed November 24, 2024, http://202.29.54.157/s/library/item/1461