ปัจจัยที่ส่งผลประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
Item
ชื่อเรือง
ปัจจัยที่ส่งผลประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
ชื่อเรื่องรอง
Factors Affecting Effectiveness of Secondary Schools under Chaiyaphum Provincial Administrative Organization
ผู้แต่ง
ธนัญญพัฒน์ ฤาชา
หัวเรื่อง
โรงเรียนมัธยมศึกษา--การบริหาร--ชัยภูมิ
รายละเอียดอื่นๆ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ 2) ศึกษาปัจจัยระดับผู้บริหาร ระดับครูผู้สอนและระดับนักเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิและ 3) สร้างโมเดลพหุระดับของปัจจัยระดับผู้บริหาร ระดับครูผู้สอนและระดับนักเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่าง คือผู้บริหาร ครูผู้สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ จำนวน 26 โรงเรียน ปีการศึกษา 2555 จำนวน 1,797 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร 55 คน ครูผู้สอน 416 คน และนักเรียน 1,326 คน โดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสอบถามสำหรับผู้บริหาร 2) แบบสอบถามครูผู้สอน และ 3) แบบสอบถามนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์พหุระดับ ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมินักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ 50 รายวิชาสุขศึกษาและพลศึกษามีคะแนนเฉลี่ยร้อยละสูงที่สุด ร้อยละ 52.64และ 54.67 ตามลำดับ ส่วนรายวิชาคณิตศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละต่ำที่สุด ร้อยละ 20.65 และ15.04 ตามลำดับ และครูมีความพึงพอใจในงานอยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยระดับผู้บริหาร พบว่าความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารส่งผลทางบวกต่อค่าเฉลี่ยประสิทธิผลของโรงเรียนรายโรงเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และพฤติกรรม การบริหารการเปลี่ยนแปลงกับพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารส่งผลทางบวกต่อค่าเฉลี่ยประสิทธิผลของโรงเรียนรายโรงเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับอายุ ระดับการศึกษาประสบการณ์การบริหารและวัฒนธรรมโรงเรียนไม่ส่งผลต่อค่าเฉลี่ยประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิรายโรงเรียน 3. ปัจจัยระดับครูผู้สอน พบว่า คุณภาพการสอนของครูส่งผลทางบวกต่อค่าเฉลี่ยประสิทธิผลของโรงเรียนรายห้องเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และพฤติกรรมการสอนของครูกับแรงจูงใจในการทำงานของครูส่งผลทางบวกต่อค่าเฉลี่ยประสิทธิผลของโรงเรียนรายห้องเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับการได้รับการสนับสนุนทางสังคมของครูไม่ส่งผลต่อค่าเฉลี่ยประสิทธิผลของโรงเรียนรายห้องเรียน 4. ปัจจัยระดับนักเรียน พบว่า พฤติกรรมการเรียนของนักเรียนส่งผลทางบวกต่อประสิทธิผลของโรงเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเจตคติต่อการเรียนของนักเรียน กับส่งเสริมการเรียนของผู้ปกครองส่งผลทางบวกต่อประสิทธิผลของโรงเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับระดับการศึกษาของผู้ปกครองกับฐานะทางเศรษฐกิจของผู้ปกครองไม่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน 5. โมเดลพหุระดับ พบว่า ปัจจัยระดับผู้บริหาร ปัจจัยระดับครูผู้สอนและปัจจัยระดับนักเรียนสามารถอธิบายค่าเฉลี่ยประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ ดังนี้ ปัจจัยระดับผู้บริหาร ร้อยละ 48.7 ระดับครูผู้สอนร้อยละ 54.3 และระดับนักเรียนร้อยละ 60.3
คำสำคัญ : ประสิทธิผลของโรงเรียน,ปัจจัยระดับผู้บริหาร, ปัจจัยระดับครูผู้สอน, ปัจจัยระดับนักเรียน
คำสำคัญ : ประสิทธิผลของโรงเรียน,ปัจจัยระดับผู้บริหาร, ปัจจัยระดับครูผู้สอน, ปัจจัยระดับนักเรียน
บทคัดย่อ
The objectives of this research were to : 1) study the effectiveness level of secondary schools under Chaiyaphum Provincial Administrative Organization 2) study the factors at school administrator level, teacher level, and student level affecting the effectiveness of secondary schools under Chaiyaphum Provincial Administrative Organization and 3) build a multi-level model of the factors at school administrator level, teacher level and student level affecting the effectiveness of secondary schools under Chaiyaphum Provincial Administrative Organization. The total 1,797 samples gained from multi-stage random sampling included fifty-five school administrators, 416 Matayomsuksa 3 and Matayomsuksa 6 teachers and 1,326 Matayomsuksa 3 and Matayomsuksa 6 students from twenty-six secondary schools under Chaiyaphum Provincial Administrative Organization, 2012 academic year. Data were collected using questionnaire for school administrators, for teachers and for Matayomsuksa 3 and Matayomsuksa 6 students and were statistically analyzed in percentage, mean, standard deviation and multi-level analysis. The research findings were as follows. 1. The effectiveness of secondary schools under Chaiyaphum Provincial Administrative Organization in terms of Matayomsuksa 3 and Matayomsuksa 6 students’ learning achievement by overall was below 50%. The highest mean score was found in Health and Physical Education subjects of 52.64 % and 54.67% respectively, and the lowest mean score was found in Mathematics subject of 20.65 % and 15.04% respectively. The teachers’ satisfaction towards their job by overall was found at the high level. 2. The school administrators’ academic leadership affected positively the mean scores of school effectiveness at school level at .01 level of significance, and school administrators’ change management behaviors and leader behavior affected positively the mean scores of school effectiveness at school level at .05 level of significance. Age, education level, administrative experience, and school cultures did not affect school effectiveness of secondary schools under Chaiyaphum Provincial Administrative Organization at school level. 3. The teachers’ teaching quality affected positively the school effectiveness at classroom level at .01 level of significance, and teachers’ teaching behaviors and teachers’ work motivation affected positively the mean scores of school effectiveness at classroom level at .05 level of significance. Teacher social support did not affect the school effectiveness at classroom level. 4. The students’ learning behaviors affected positively the school effectiveness at .01 level of significance, and students attitudes toward learning and parent learning support affected positively the school effectiveness at .05 level of significance. Parents’ education level and parents’ economic status did not affect the school effectiveness. 5. The school administrator level factors affected school effectiveness of secondary schools under Chaiyaphum Provincial Administrative Organization at 48.7%, teacher level factors were at 54.3%, and student level factors were at 60.3%.
Keywords : School Effectiveness, School Administrator Level Factors, Teacher Level Factors, Student Level Factors
Keywords : School Effectiveness, School Administrator Level Factors, Teacher Level Factors, Student Level Factors
ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน
สรายุทธ์ เศรษฐขจร
ทัศนา แสวงศักดิ์
ราชันย์ บุญธิมา
วันที่ ปีที่จัดพิมพ์
2559
วันที่ผลิต วันที่จัดทำ
2021-08-09 06:57:07
วันที่ปรับปรุงข้อมูล
2021-08-09 06:57:07
ประเภท
thesis
รูปแบบ
application/pdf
แหล่งที่มา
วน 373.1 ธ211ป 2559
ภาษา
tha
ลิขสิทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Degree (name, level, descipline, grantor)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
ปริญญาเอก
การบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
วันที่ใช้งาน
2559
คอลเลกชั่น
ธนัญญพัฒน์ ฤาชา . (2559). ปัจจัยที่ส่งผลประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed November 24, 2024, http://202.29.54.157/s/library/item/1475