จิตรกรรมเหนือจริงเนื้อหาความเป็นเครื่องจักรกับมนุษย์กรณีศึกษาผลงานของ ฮานส์ รูดอล์ฟ กีเกอร์ระหว่างปี ค.ศ. 1972 - 1983
Item
ชื่อเรือง
จิตรกรรมเหนือจริงเนื้อหาความเป็นเครื่องจักรกับมนุษย์กรณีศึกษาผลงานของ ฮานส์ รูดอล์ฟ กีเกอร์ระหว่างปี ค.ศ. 1972 - 1983
ชื่อเรื่องรอง
Surrealistic Paining in subject of Biomachanical Human: A Case Study of Hans Rudolf Giger between 1972-1983 AD.
ผู้แต่ง
พรรณธร โภคสุวรรณ
หัวเรื่อง
จิตรกรรม
ฮานส์ รูดอล์ฟ กีเกอร์
รายละเอียดอื่นๆ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลงานจิตรกรรมเหนือจริงของฮานส์ รูดอล์ฟ กีเกอร์ เนื้อหาเกี่ยวกับเครื่องจักรมนุษย์ ที่สร้างขึ้นระหว่างปี คศ.1972–1983 ในประเด็นแนวความคิด ชุดสี การจัดภาพ และเทคนิคการสร้างผลงาน 2) นำข้อมูลการศึกษาวิเคราะห์มาสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมเหนือจริง เนื้อหาความเป็นเครื่องจักรมนุษย์ตามแนวคิดจากผลงานของฮานส์ รูดอล์ฟ กีเกอร์ ที่สร้างขึ้นระหว่างปี คศ. 1972–1983 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผลงานจิตรกรรมเรื่องเครื่องจักรกับความเป็นมนุษย์ของ ฮานส์ รูดอล์ฟ กีเกอร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวิเคราะห์ตารางกริด แบบสังเกตแบบมีโครงสร้าง แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและผลงานสร้างสรรค์ของผู้วิจัย เก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะโดยใช้เทคนิคเดลฟายประยุกต์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวความคิดที่พบมากที่สุดในผลงานจิตรกรรมของ ฮานส์ รูดอล์ฟ กีเกอร์ เนื้อหาเกี่ยวกับเครื่องจักรมนุษย์ของ ฮานส์ รูดอล์ฟ กีเกอร์ ที่สร้างขึ้นระหว่างปี คศ.1972–1983 เรียงตามลำดับได้แก่ แนวความคิดเครื่องจักรกับมนุษย์ เครื่องจักรกับความทุกข์ทรมานของเด็ก เครื่องจักรกับสตรีและความตาย ชุดสีที่พบตามลำดับได้แก่ สีดำอมน้ำตาล สีน้ำตาลอมเทา และสีขาว การจัดภาพที่พบมากที่สุดตามลำดับ ได้แก่ การจัดภาพแบบซ้ายขวาเหมือนกันแบบแผ่กระจาย การจัดภาพแบบซ้ายขวาไม่เหมือนกันทั้งในลักษณะไม่แผ่กระจายและแผ่กระจาย เทคนิคการสร้างผลงานที่พบมากที่สุดมี 3 เทคนิคได้แก่ เทคนิคการระบายสีเกลี่ยเรียบ ใช้พู่กันลม และปากกาเก็บรายละเอียด 2) ผู้วิจัยนำแนวคิดในเรื่องของเครื่องจักรกับมนุษย์และเครื่องจักรกับความทุกข์ทรมาน ของเด็กจากผลงานของฮานส์ รูดอล์ฟ กีเกอร์ ที่สร้างขึ้นระหว่างปี คศ. 1972–1983 มาใช้ในการสร้างผลงานจิตรกรรมเหนือจริงเนื้อหาการใช้แรงงานเด็กในอุตสาหกรรมประมงด้วยสีอคริลิคบนผ้าใบ โดยใช้การจัดภาพซ้ายขวาเท่ากันแบบแผ่กระจาย เทคนิคการระบายสีเกลี่ยเรียบ ใช้พู่กันลม และปากกาเก็บรายละเอียด คำสำคัญ: จิตรกรรม ลัทธิเหนือจริง ความเป็นเครื่องจักรกับมนุษย์
บทคัดย่อ
The purposes of this research were 1) to study the biomechanical surrealistic paintings of Hans Rudolf Giger between 1972-1983 AD. in terms of concepts, composition, and coloring, painting techniques and 2) to create the biomechanical surrealistic paintings based on those created by Hans Rudolf Giger between 1972-1983 AD. with acrylic on canvas. The sample included the biomechanical surrealistic paintings of Hans Rudolf Giger. The research instruments involved Grid table, structured observation checklist, structured interview, and the researcher’s paining. Data were collected using applied Delphi technique and were statistically analyzed in percentage and mean. The findings revealed as follows. 1) The concepts mostly found in the biomechanical surrealistic paintings of Hans Rudolf Giger between 1972-1983 AD. consisted of machines and human, machines and child’s sufferance, and machines and woman and death. The colour set involved dark brown, ash brown, and white. The paintings were composed with non-focus symmetrical balance, and either non-focus or focus asymmetrical balance. The three painting techniques, which were mostly used, delineated flat coloring, air brushing, and using pen. 2) The researcher’s paintings of child labors in fishery industry with acrylic on canvas based on biomechanical and machines and child’s sufferance concepts found in the paintings of Hans Rudolf Giger between 1972-1983 AD. The non-focus symmetrical balance and three painting techniques, i.e., flat coloring, air brushing, and using pen were also employed in painting creation. Keywords: Paintings, Surrealism, Biomechanical Concept
ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน
สมชาย พรหมสุวรรณ
พีระพงษ์ กุลพิศาล
ประไพ วีระอมรกุล
วันที่ ปีที่จัดพิมพ์
2559
วันที่ผลิต วันที่จัดทำ
2021-08-09 06:57:07
วันที่ปรับปรุงข้อมูล
2021-08-09 06:57:07
ประเภท
thesis
รูปแบบ
application/pdf
แหล่งที่มา
วน 750 พ262จ 2559
ภาษา
tha
ลิขสิทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Degree (name, level, descipline, grantor)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
ศิลปกรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
วันที่ใช้งาน
2559
คอลเลกชั่น
พรรณธร โภคสุวรรณ . (2559). จิตรกรรมเหนือจริงเนื้อหาความเป็นเครื่องจักรกับมนุษย์กรณีศึกษาผลงานของ ฮานส์ รูดอล์ฟ กีเกอร์ระหว่างปี ค.ศ. 1972 - 1983. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed November 24, 2024, http://202.29.54.157/s/library/item/1482