จิตรกรรมภาพทิวทัศน์สิ่งก่อสร้างไทยแบบไลโอเนลไฟนิงเงอร์
Item
ชื่อเรือง
จิตรกรรมภาพทิวทัศน์สิ่งก่อสร้างไทยแบบไลโอเนลไฟนิงเงอร์
ชื่อเรื่องรอง
Thai Architectural Landscape Paintings in the Style of Lyonel Feininger
ผู้แต่ง
กฤษฎา ลิ้มภักดีสถาพร
หัวเรื่อง
จิตรกรรมภาพทิวทัศน์
รายละเอียดอื่นๆ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิธีการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมภาพ ทิวทัศน์สิ่งก่อสร้างของไลโอเนล ไฟนิงเงอร์ ระหว่างปี ค.ศ. 1909-1956 ในประเด็น ลักษณะสิ่ง ก่อสร้างและวัตถุประกอบ รูปแบบการตัดทอน การสร้างจุดสนใจ ชุดสีและเทคนิคการระบายสี 2) สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมภาพทิวทัศน์สิ่งก่อสร้างไทยแบบไลโอเนล ไฟนิงเงอร์ ด้วย สีอะคริลิกบนผืนผ้าใบ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผลงานจิตรกรรมของไลโอเนล ไฟนิงเงอร์ เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเกตแบบมีโครงสร้าง แบบวิเคราะห์ตารางกริด แบบสัมภาษณ์แบบ มีโครงสร้าง ผลงานสร้างสรรค์ของผู้วิจัยและแบบประเมินคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเทคนิค เดฟายประยุกต์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละและค่าเฉลี่ยร่วมกับการวิเคราะห์ เชิงสาระ ผลการวิจัยพบว่า 1. ลักษณะสิ่งก่อสร้างเป็นอาคารหลายหลังติดกันมากที่สุด วัตถุประกอบ ได้แก่ พื้นหญ้า พื้นดิน ท้องฟ้า พื้นน้ำ มนุษย์และต้นไม้ตามลำดับ รูปแบบการตัดทอนเป็นรูปทรงเรขาคณิตสี่เหลี่ยมและสามเหลี่ยมเป็น 3 มิติ มากกว่า 2 มิติ การสร้างจุดสนใจอยู่บริเวณกลางภาพค่อนไปทางด้านซ้ายมากที่สุด วิธีสร้างจุดสนใจใช้วิธีทำให้สีของรูปกับสีของพื้นต่างกันด้วยค่าน้ำหนักของสี รองลงมาได้แก่ ทำให้รายละเอียดของรูปทรงมากกว่าบริเวณอื่น ทำให้สีของรูปกับสีของพื้นต่างกันด้วยโทนสี ทำให้สีของรูปกับสีของพื้นต่างกันด้วยค่าน้ำหนักของสีและทำให้ขอบคมชัดเจนมากกว่าบริเวณอื่นตามลำดับ ชุดสี ได้แก่ สีดำ สีน้ำตาลแก่ สีเขียวคล้ำ สีส้ม สีน้ำเงินคล้ำ สีเหลือง สีขาว สีเทา สีม่วง สีน้ำเงิน สีน้ำตาล สีเหลืองคล้ำ สีส้มแดง สีชมพู สีเขียวสดและสีเขียวอ่อนตามลำดับ เทคนิคการระบายสีที่ใช้มากคือไล่น้ำหนักกลมกลืนขอบคม รองลงมา คือ ไล่น้ำหนักสีหนาทับซ้อนขอบคมระบายขอบรูปทรงประสานกลมกลืน ระบายเรียบไล่น้ำหนัก ระบายเรียบขอบคมและขูดหรือเช็ดพื้นภาพตามลำดับ 2. การสร้างสรรค์ผลงาน ผู้วิจัยแสดงลักษณะของสิ่งก่อสร้างเป็นอาคารหลายหลังติดกันวัตถุประกอบ ได้แก่ พื้นหญ้า พื้นดิน ท้องฟ้า พื้นน้ำ มนุษย์และต้นไม้ตามลำดับ รูปแบบการตัดทอนเป็นรูปทรงเรขาคณิตทั้งสี่เหลี่ยมและสามเหลี่ยมเป็น 3 มิติมากกว่า 2 มิติ จุดสนใจอยู่บริเวณกลางภาพค่อนไปทางด้านซ้ายโดยใช้วิธีทำให้สีของรูปกับสีของพื้นต่างกันด้วยค่าน้ำหนักของสีมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ทำให้รายละเอียดของรูปทรงมากกว่าบริเวณอื่น ทำให้สีของรูปกับสีของพื้นต่างกันด้วยโทนสีและทำให้ขอบคมชัดเจนมากกว่าบริเวณอื่นตามลำดับ ชุดสีคือ สีดำ สีน้ำตาลแก่ สีเขียวคล้ำ สีส้ม สีน้ำเงินคล้ำ สีเหลือง สีขาว สีเทา สีม่วง สีน้ำเงิน สีน้ำตาล สีเหลืองคล้ำ สีส้มแดง สีเขียวสดและสีเขียวอ่อนตามลำดับ เทคนิคการระบายสีใช้การระบายไล่น้ำหนักกลมกลืนขอบคมมากที่สุด รองลงมา คือ การระบายไล่น้ำหนักสีหนาทับซ้อนขอบคมและการระบายให้ขอบรูปทรงประสานกลมกลืนและขูดหรือเช็ดพื้นภาพตามลำดับ
คำสำคัญ : ภาพทิวทัศน์สิ่งก่อสร้าง, ลักษณะของสิ่งก่อสร้าง, วัตถุประกอบ
คำสำคัญ : ภาพทิวทัศน์สิ่งก่อสร้าง, ลักษณะของสิ่งก่อสร้าง, วัตถุประกอบ
บทคัดย่อ
The purposes of this research were: 1) to study the painting method of architectural landscape created by Lyonel Feininger during 1909-1956 AD. in terms of architectural characteristics and the other objects, abstraction, point of focus, color set and painting technique and 2) to created Lyonel Feininger’s concept-based on Thai architectural landscape with acrylic on canvas. The sample included Lyonel Feininger’s paintings. The research instruments involved structured observation checklist, Grid Table Analysis Form, structured interview, and paintings’ quality assessment form. Data were collected using Del-phi technique, were statistically analyzed in percentage and MEAN and were also descriptively analyzed. The findings revealed as follows. 1. Most of the architectures found in Lyonel Feininger’s paintings were attached construction with lawn, land, sky, water man and tree as objects respectively. The abstractions are geometric figures, such as, three-dimensional squares and triangles rather than two dimensions. The focus was put in the middle of the painting or left-hand oriented using grade painting to form contrast between painting and the background. Also, the shapes were detailed prior to other areas with the contrast of tones and shades and edge cutting. The color set referred to black, dark brown, orange, dark blue, yellow, white, grey, violet, blue, brown, dark yellow, reddish orange, bright green, and light green. Soft edge painting was adopted mostly followed by hard edge painting, blending painting, flat painting, and frottage. 2. The paintings created by the researcher in the present study were presented in forms of attached construction with lawn, land, sky, water, man and tree as objects. The abstractions are geometric figures, such as, three-dimensional squares and triangles rather than two dimensions. The focus was put in the middle of the painting or left-hand oriented using grade painting to form contrast between painting and the background. Also, the shapes were detailed prior to other areas with the contrast of tones and shades and edge cutting. The color set referred to black, dark brown, orange, dark blue, yellow, white, grey, violet, blue, brown, dark yellow, reddish orange, bright green, and light green. Soft edge painting was adopted mostly followed by hard edge painting, blending painting, flat painting, and frottage.
Keywords: Architectural Landscape, Characteristics of Architectures, Other Objects
Keywords: Architectural Landscape, Characteristics of Architectures, Other Objects
ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน
สมชาย พรหมสุวรรณ
พีระพงษ์ กุลพิศาล
นิโรจน์ จรุงจิตวิทวัส
วันที่ ปีที่จัดพิมพ์
2560
วันที่ผลิต วันที่จัดทำ
2021-08-09 06:57:07
วันที่ปรับปรุงข้อมูล
2021-08-09 06:57:07
ประเภท
thesis
รูปแบบ
application/pdf
แหล่งที่มา
วน 758.1 ก279จ 2560
ภาษา
tha
ลิขสิทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Degree (name, level, descipline, grantor)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
ศิลปกรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
วันที่ใช้งาน
2560
คอลเลกชั่น
กฤษฎา ลิ้มภักดีสถาพร . (2560). จิตรกรรมภาพทิวทัศน์สิ่งก่อสร้างไทยแบบไลโอเนลไฟนิงเงอร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed November 24, 2024, http://202.29.54.157/s/library/item/1504