จิตรกรรมผสานจุดสีภาพทิวทัศน์สิ่งก่อสร้างสะท้อนในน้ำ: กรณีศึกษาผลงานปอล ซียัค ระหว่างปี ค.ศ. 1863 - 1935

Item

ชื่อเรือง

จิตรกรรมผสานจุดสีภาพทิวทัศน์สิ่งก่อสร้างสะท้อนในน้ำ: กรณีศึกษาผลงานปอล ซียัค ระหว่างปี ค.ศ. 1863 - 1935

ชื่อเรื่องรอง

The Pointillist Paintings of Water Reflection of Buildings Landscape A Case Study of Paul Signac During 1863-1935 A.D.

ผู้แต่ง

รัชพล ธัชรัตนสิริ

หัวเรื่อง

จิตรกรรมภาพทิวทัศน์
สิ่งก่อสร้างสะท้อนในน้ำ
องค์ประกอบศิลป์

รายละเอียดอื่นๆ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลงานจิตรกรรมผสานจุดสีภาพทิวทัศน์สิ่งก่อสร้างสะท้อนในน้ำของปอล ซียัค ระหว่างปี ค.ศ. 1863 – 1935 ในประเด็นกลวิธีแต้มสี ชุดสีและการจัดภาพ 2) นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาพัฒนาสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมผสานจุดสีภาพทิวทัศน์สิ่งก่อสร้างสะท้อนในน้ำด้วยสีอะคริลิกบนผ้าใบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผลงานจิตรกรรมของปอล ซียัค ที่ได้คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์ตารางกริด แบบสังเกตแบบมีโครงสร้าง แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแบบประเมินคุณภาพผลงานสร้างสรรค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลงานจิตรกรรมผสานจุดสีภาพทิวทัศน์สิ่งก่อสร้างสะท้อนในน้ำของปอล ซียัค กลวิธีแต้มสีที่ใช้มากเป็นอันดับแรกคือ แนวนอนสั้น รองลงมา คือ แนวนอนยาว จุด ชุดสีใช้มากเป็นอันดับแรกคือ สีน้ำเงิน รองลงมาคือสีขาว สีเหลือง สีส้ม สีม่วงน้ำเงิน สีม่วง สีเขียว เป็นหลักการจัดภาพอันดับแรกใช้แบบแสดงระยะหน้า ระยะกลาง ระยะหลัง รองลงมาคือการจัดแบบสมดุลแบบซ้าย-ขวาไม่เหมือนกันและเส้นขอบฟ้าอยู่เหนือกึ่งกลางภาพ 2. การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมผสานจุดสีภาพทิวทัศน์สิ่งก่อสร้างสะท้อนในน้ำ กลวิธีแต้มสีที่ใช้มากเป็นอันดับแรกคือแนวนอนสั้น รองลงมา คือ แนวนอนยาว จุด ส่วนชุดสีใช้มากเป็นอันดับแรกคือ สีน้ำเงิน รองลงมาคือสีขาว สีเหลือง สีส้ม สีม่วงน้ำเงิน สีม่วง สีเขียว และการจัดภาพใช้แบบแสดงระยะมากเป็นอันดับแรก รองลงมาคือสมดุลแบบซ้าย-ขวาไม่เหมือนกัน และเส้นขอบฟ้าอยู่เหนือกึ่งกลางภาพ

คำสำคัญ : ผสานจุดสี , ภาพทิวทัศน์ ,สิ่งก่อสร้างสะท้อนในน้ำ

บทคัดย่อ

The purposes of this research were: 1) to study the pointillist paintings of water reflection of buildings landscape created by Paul Signac During 1863-1935 AD. in terms of painting, colour set, and composition and 2) to create the pointillist paintings of water reflection of buildings landscape with acrylic on canvas based on the uncovered theory. The sample included the paintings of Paul Signac obtained through purposive random sampling. The research instruments involved Grid table analysis, structured observation checklist, structured interview and painting quality assessment form. Data were statistically analyzed in percentage and MEAN. The findings revealed as follows. 1. Most of the pointillist paintings of water reflection of buildings landscape created by Paul Signac employed short horizontal painting followed by long horizontal painting. The colours mostly used referred to blue followed by white, yellow, orange, blue-violet, violet and green. The preferable composition used in the paintings delineated front distance, middle distance, and back distance followed by asymmetrical composition, and horizon in the middle of the paintings. 2. The created pointillist paintings of water reflection of buildings landscape with acrylic on canvas based on the uncovered theory adopted short horizontal painting followed by long horizontal painting. The colours mostly used referred to blue followed by white, yellow, orange, blue-violet, violet and green. The painter used distance composition mostly followed by asymmetrical composition, and horizon in the middle of the paintings.

Keywords: Pointillism, Landscape, Water Reflection of Building

ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์

มหาวิทยาราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน

สมชาย พรหมสุวรรณ
พีระพงศ์ กุลพิศาล
ประไพ วีระอมรกุล

วันที่ ปีที่จัดพิมพ์

2560

วันที่ผลิต วันที่จัดทำ

2021-08-09 06:57:07

วันที่ปรับปรุงข้อมูล

2021-08-09 06:57:07

ประเภท

thesis

รูปแบบ

application/pdf

แหล่งที่มา

วน 785.1 ร345จ 2560

ภาษา

tha

รหัส

ลิขสิทธิ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Degree (name, level, descipline, grantor)

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
ศิลปกรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วันที่ใช้งาน

2560

คอลเลกชั่น

รัชพล ธัชรัตนสิริ . (2560). จิตรกรรมผสานจุดสีภาพทิวทัศน์สิ่งก่อสร้างสะท้อนในน้ำ: กรณีศึกษาผลงานปอล ซียัค ระหว่างปี ค.ศ. 1863 - 1935. มหาวิทยาราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed November 24, 2024, http://202.29.54.157/s/library/item/1512

นำออกข้อมูล :