การศึกษาประสิทธิผลทางคลินิกของยาประสะไพลแคปซูลต่อการฟื้นฟูสตรีหลังคลอดในโรงพยาบาลบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Item

ชื่อเรือง

การศึกษาประสิทธิผลทางคลินิกของยาประสะไพลแคปซูลต่อการฟื้นฟูสตรีหลังคลอดในโรงพยาบาลบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ชื่อเรื่องรอง

Clinical Efficacy Study of Prasaplai Capsules for Postpartum Rehabilitation at Bang Pa In Hospital, Phranakhon Si Ayutthaya Province

ผู้แต่ง

ชายศักดิ์ ถนนแก้ว

หัวเรื่อง

ประสะไพล
พืชสมุนไพร -- การใช้รักษา
การรักษาด้วยสมุนไพร
การพยาบาลสูติศาสตร์

รายละเอียดอื่นๆ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิผลทางคลินิกของยาประสะไพลแคปซูล ต่อการลดระดับของยอดมดลูก การเปลี่ยนแปลงของสีและปริมาณน้ำคาวปลา ในกลุ่มสตรีหลังคลอดของโรงพยาบาลบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ 2) ควบคุมคุณภาพของยาประสะไพลแคปซูลที่ใช้ในโรงพยาบาลบางปะอิน โดยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มเข้ากลุ่มทั้งหมดชนิดปกปิดสองฝ่าย ในสตรีหลังคลอดอายุ 20 – 35 ปี จำนวน 60 ราย ให้ยาเพิ่มแก่อาสาสมัครด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ทำการเก็บข้อมูลจากอาสาสมัครเป็นเวลา 10 วันหลังจากรับยา ทำการควบคุมคุณภาพยาประสะไพลแคปซูลด้วยเทคนิค UV-Visible Spectrophotometry โดยวิเคราะห์ หาปริมาณสารสำคัญในตำรับภายใต้อุณหภูมิห้องและสภาวะเร่งที่ 45 องศาเซลเซียสนาน 112 วัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ร้อยละการลงของระดับยอดมดลูกของอาสาสมัครทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน (P>0.05) ระดับสีน้ำคาวปลาในกลุ่มยาประสะไพลแคปซูลจางกว่ากลุ่มยาหลอก (P<0.05) ระดับปริมาณน้ำคาวปลาในกลุ่มยาประสะไพลแคปซูลมากกว่ากลุ่มยาหลอกในวันที่ 2 ถึงวันที่ 6 หลังรับยา (P<0.05) แต่ในวันที่ 7 ถึงวันที่ 10 ไม่แตกต่างกัน (P>0.05) จึงสรุปได้ว่ายาประสะไพลแคปซูลไม่มีผลช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้นแต่มีผลให้ระดับสีของน้ำคาวปลาจางลงและมีประสิทธิภาพในการขับน้ำคาวปลาได้อย่างมีนัยสำคัญในระยะเวลา 6 วันหลังรับยา 2. ผลการควบคุมคุณภาพของยาประสะไพลแคปซูลนาน 112 วัน พบว่ายาประสะไพลที่เก็บในอุณหภูมิห้องและในสภาวะเร่งมีปริมาณ curcumin คงเหลือเฉลี่ย 97.69% และ81.48% ตามลำดับ จึงสรุปได้ว่ายาประสะไพลแคปซูลที่ใช้ในโรงพยาบาลบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาสามารถเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิห้องได้เป็นระยะเวลาอย่างน้อยประมาณ 4 เดือน

คำสำคัญ: ประสะไพล, ไพล, ยาสมุนไพร, หลังคลอด

บทคัดย่อ

The purposes of this research were 1) to study the clinical efficacy of Prasaplai capsule on uterus contraction and changes in color and amount of lochia among the women after delivery at Bang Pa In Hospital, PhraNakhon Si Ayutthaya Province and 2) to control the quality of Prasaplai capsule and clinical efficacy. An experimental research design was adopted using randomized double blind controlled trial. It was conducted using placebo and Prasaplai capsules on 60 postpartum women (20-35 years old) who possessed normal vaginal delivery. The subjects were divided into 2 groups. Each subject was randomly given conventional medicines for postpartum added with either Prasaplai capsules or placebo. The observation was performed for 10 consecutive days. Quality control procedures were performed by stability study of Prasaplai capsule under accelerated condition at 45 ° C for 112 days. The stability testing was determined using UV-Visible spectroscopy technique to analyze total amount of active ingredient in sampling Prasaplai capsule. The findings revealed as follows. 1. The uterus contraction in both groups within 10 days were not different (P>0.05). For the color and darkness of lochia, it was found that Prasaplai treatment group had lighter lochia than the placebo group (P<0.05). For the amount of lochia, Prasaplai treatment group had greater amount of lochia than the placebo group in the 2 – 6 day (P<0.05), but no differences detected in the day 7-10 (P<0.05). It could be, therefore, concluded that Prasaplai capsules were not related to the earlier involution of uterus, but the change in color of lighter lochia and efficacy in lochia movement significantly for 6 consecutive days. 2. At day 112 of the stability testing, the remaining curcumin content in Prasaplai capsules were 97.69 % and 81.48 % for room temperature and accelerated condition, respectively. In conclusion, the stability of Prasaplai capsules could have last for minimum 4 months in room temperature.

Keywords: Prasaplai, Zingiber Cassumunar Roxb., Herbal Medicine, Postpartum

ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน

ปิลันธนา เลิศสถิตธนกร
บรรลือ สังข์ทอง

วันที่ ปีที่จัดพิมพ์

2560

วันที่ผลิต วันที่จัดทำ

2021-08-09 06:57:07

วันที่ปรับปรุงข้อมูล

2021-08-09 06:57:07

ประเภท

thesis

รูปแบบ

application/pdf

แหล่งที่มา

วน 615.321 ช523ก 2560

ภาษา

tha

รหัส

ลิขสิทธิ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Degree (name, level, descipline, grantor)

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
เภสัชกรรมไทย
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วันที่ใช้งาน

2560

คอลเลกชั่น

ชายศักดิ์ ถนนแก้ว . (2560). การศึกษาประสิทธิผลทางคลินิกของยาประสะไพลแคปซูลต่อการฟื้นฟูสตรีหลังคลอดในโรงพยาบาลบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed November 24, 2024, http://202.29.54.157/s/library/item/1524

นำออกข้อมูล :