การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดจิตตปัญญาเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Item

ชื่อเรือง

การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดจิตตปัญญาเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

ชื่อเรื่องรอง

The Development of Contemplative Education-based Instruction to Enhance Critical Thinking of Mattayomsuksa 6 Students

ผู้แต่ง

คุณัญญา กัญจนา

หัวเรื่อง

การคิด -- การศึกษาและการสอน
ความคิดและการคิด
จิตตปัญญาศึกษา
ทักษะทางการคิด

รายละเอียดอื่นๆ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลองโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสอน ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย จำนวน 30 คนซึ่งได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ และแบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ การทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการสอนตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประกอบด้วย 1) หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ 2) จุดมุ่งหมาย ของรูปแบบ 3) กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ ซึ่งมี 5 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 ขั้นเสริมสร้าง ขั้นที่ 2 ขั้นส่งเสริมขั้นที่ 3 ขั้นสาระขั้นที่ 4 ขั้นสรุป และขั้นที่ 5 ขั้นสะท้อนแนวความคิด 4) ผลที่ผู้เรียน จะได้รับจากการเรียนรู้ตามรูปแบบ 2. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01โดยความสามารถในการคิดวิเคราะห์มีค่าเฉลี่ยสูงกว่า ก่อนเรียน

คำสำคัญ: รูปแบบการสอน, จิตตปัญญาศึกษา, การคิดวิเคราะห์

บทคัดย่อ

The purposes of this quasi-experimental research were 1) to developcontemplative education-based instruction to enhance critical thinking of Mattayomsuksa 6 Students and 2) to compare critical thinking of Mattayomsuksa 6 Students between before and after using the developed instruction. The sample included thirty of Mattayomsuksa 6 students from Isalamwittayalai School obtained through cluster random sampling. The research instruments involved lesson plans and critical thinking test. Data were collected in the 2nd semester of academic year 2016 and were statistically analyzed in percentage, MEAN, standard deviation, and t-test. The findings revealed as follows. 1. The components of contemplative education-based instruction to enhance critical thinking of Mattayomsuksa 6 Students delineated 1) principles, or concepts 2) objectives 3) instructional process, i.e., stage 1: reinforcement; stage 2: enhancement; stage 3: contents; stage 4: conclusions and stage 5: conceptual reflection and 4) learning outcomes. 2. The critical thinking of Mattayomsuksa 6 Students after using the contemplative education-based instruction was generally higher than that before the experiment at significance level .01.

Keywords: Instruction, Contemplative Education, Critical Thinking

ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน

บังอร เสรีรัตน์
เพ็ญพร ทองคำสุก

วันที่ ปีที่จัดพิมพ์

2559

วันที่ผลิต วันที่จัดทำ

2021-08-09 06:57:07

วันที่ปรับปรุงข้อมูล

2021-08-09 06:57:07

ประเภท

thesis

รูปแบบ

application/pdf

แหล่งที่มา

วน 370.152 ค632ก 2559

ภาษา

tha

รหัส

ลิขสิทธิ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Degree (name, level, descipline, grantor)

ครุศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
หลักสูตรและการสอน
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วันที่ใช้งาน

2559

คอลเลกชั่น

คุณัญญา กัญจนา . (2559). การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดจิตตปัญญาเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed November 24, 2024, http://202.29.54.157/s/library/item/1525

นำออกข้อมูล :