การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดพหุปัญญาเพื่อพัฒนาความสามารถด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดใหญ่
Item
ชื่อเรือง
การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดพหุปัญญาเพื่อพัฒนาความสามารถด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดใหญ่
ชื่อเรื่องรอง
The Development of Multiple Intelligence-based Instruction to Enhance Intellects of the Pre-childhood Students
ผู้แต่ง
มะลิดา เพ็งวงษา
หัวเรื่อง
พหุปัญญา -- กิจกรรมการเรียนการสอน
เด็ก -- ระดับสติปัญญา
แผนการสอน
การศึกษาปฐมวัย
การศึกษาขั้นก่อนประถม
รายละเอียดอื่นๆ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดพหุปัญญาเพื่อพัฒนาความสามารถด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย และ 2) เปรียบเทียบความสามารถด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิดพหุปัญญา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้เรียนระดับชั้นเตรียมอนุบาล 2 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดพหุปัญญา และแบบประเมินความสามารถด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการสอนตามแนวคิดพหุปัญญาเพื่อพัฒนาความสามารถด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และองค์ประกอบมีความสอดคล้องกับทุกประเด็น ประกอบด้วย หลักการของรูปแบบการสอน จุดมุ่งหมายของรูปแบบการสอน กระบวนการเรียนการสอน และ ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากรูปแบบ 2. ความสามารถด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยหลังการใช้รูปแบบการสอนสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการสอน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ: รูปแบบการสอน ,แนวคิดพหุปัญญา, เด็กปฐมวัย
คำสำคัญ: รูปแบบการสอน ,แนวคิดพหุปัญญา, เด็กปฐมวัย
บทคัดย่อ
The purposes of this research were: 1) to develop multiple intelligence-based instruction to enhance intellects of the pre-childhood students and 2) to compare between the intellects of the pre-childhood students before and after using the developed instruction. The sample included twenty of pre-childhood students level 2. The research instruments were multiple intelligence-based lesson plan and intellectual test for pre-childhood students. Data were statistically analyzed in percentage, MEAN, standard deviation, and t-test. The findings revealed as follows. 1. The appropriateness of the multiple intelligence-based instruction to enhance intellects of the pre-childhood students was found at the highest level. The components were complying to all issues, i.e., principles, objectives, learning activities, and learning outcomes. 2. The intellects of the pre-childhood students after using the multiple intelligence-based instruction were higher than those before the experiment at significance level .05.
Keywords: Instruction, Multiple Intelligence, Pre-childhood Students
Keywords: Instruction, Multiple Intelligence, Pre-childhood Students
ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ.
ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน
บังอร เสรีรัตน์
อารีวรรณ เอี่ยมสะอาด
วันที่ ปีที่จัดพิมพ์
2560
วันที่ผลิต วันที่จัดทำ
2021-08-09 06:57:07
วันที่ปรับปรุงข้อมูล
2021-08-09 06:57:07
ประเภท
thesis
รูปแบบ
application/pdf
แหล่งที่มา
วน 370.1523 ม271ก 2560
ภาษา
tha
ลิขสิทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Degree (name, level, descipline, grantor)
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
หลักสูตรและการสอน
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
วันที่ใช้งาน
2560
คอลเลกชั่น
มะลิดา เพ็งวงษา . (2560). การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดพหุปัญญาเพื่อพัฒนาความสามารถด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดใหญ่. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed November 24, 2024, http://202.29.54.157/s/library/item/1529