การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อเสริมทักษะการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
Item
ชื่อเรือง
การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อเสริมทักษะการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ผู้แต่ง
สุทธิพงศ์ นาคทรัพย์
หัวเรื่อง
คอมพิวเตอร์ -- การศึกษาการใช้
คอมพิวเตอร์ -- การศึกษาและการสอน
ทักษะการเรียน
การสอนด้วยสื่อ
รายละเอียดอื่นๆ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสอนเพื่อเสริมทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2) เปรียบเทียบทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ของนักเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบการสอน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดทองใน สำนักงานเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร จำนวน 20 คน โดยใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ และ 2) แบบทดสอบวัดทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ เป็นแบบฝึกปฏิบัติ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบทีแบบกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มสัมพันธ์กัน ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการสอนเพื่อเสริมทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ประกอบด้วย 1) ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์โดยการปฏิบัติจริง 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ เพื่อเสริมทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ให้ผู้เรียนมีความชำนาญยิ่งขึ้น 3) กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ มี 7 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นนำและวิเคราะห์งาน ขั้นที่ 2 ขั้นเตรียมความพร้อม ขั้นที่ 3 ขั้นสาธิตและปฏิบัติตามคำสั่ง ขั้นที่ 4 ขั้นลงมือปฏิบัติ ขั้นที่ 5 ขั้นประเมินและปรับปรุง ขั้นที่ 6 ขั้นปฏิบัติอย่างชำนาญ ขั้นที่ 7 ขั้นสรุปและประเมินผล และ 4) ผลที่ผู้เรียนได้รับตามรูปแบบ คือ ผู้เรียนมีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ 2. นักเรียนที่เรียนตามรูปแบบการสอนเพื่อเสริมทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ มีทักษะ การใช้คอมพิวเตอร์ในภาพรวมแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยทักษะการใช้คอมพิวเตอร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อเสริมทักษะการใช้คอมพิวเตอร์
คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อเสริมทักษะการใช้คอมพิวเตอร์
บทคัดย่อ
The purposes of this quasi-experimental research were 1) to develop supplementary computer using skill instruction for Prathomsuksa 1 students and 2) to compare the students’ computer using skill between before and after learning through the developed instruction. The sample included twenty of Prathomsuksa 1 students from Wat Thong Nai School in the 1st semester of academic year 2014. The research instruments involved lesson plans and test of computer using skill. Data were statistically analyzed in percentage, MEAN, standard deviation and t-test. The findings revealed as follows. 1. The components of supplementary computer using skill instruction for Prathomsuksa 1 students delineated 1) theory/principle/concept 2) learning objectives 3) learning activities consisting of step 1: introduction and task analysis, step 2: preparation, step 3: demonstration and following the given command, step 4: practicing, step 5: evaluation and improvements, step 6: proficient operation and step 7: summary and assessment and 4) learning outcomes. 2. After the experiment, the students’ computer using skill was higher than that before the experiment at significance level .01.
Keywords: Instruction Model, Supplementary Computer Using Skill
Keywords: Instruction Model, Supplementary Computer Using Skill
ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน
เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง
สุภรณ์ ลิ้มบริบูรณ์
วันที่ ปีที่จัดพิมพ์
2560
วันที่ผลิต วันที่จัดทำ
2021-08-09 06:57:07
วันที่ปรับปรุงข้อมูล
2021-08-09 06:57:07
รูปแบบ
thesis
แหล่งที่มา
วน 371.393 ส773ก 2560
ภาษา
Tha
ลิขสิทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Degree (name, level, descipline, grantor)
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
หลักสูตรและการสอน
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
วันที่ใช้งาน
2560
คอลเลกชั่น
สุทธิพงศ์ นาคทรัพย์ . (2560). การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อเสริมทักษะการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed November 24, 2024, http://202.29.54.157/s/library/item/1541