การพัฒนาไมโครพาร์ทิเคิลไขมันแข็งของน้ำมันไพลที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียสาเหตุแผลผิวหนัง

Item

ชื่อเรือง

การพัฒนาไมโครพาร์ทิเคิลไขมันแข็งของน้ำมันไพลที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียสาเหตุแผลผิวหนัง

ชื่อเรื่องรอง

Development of Zingiber Cassumunar poxb. essential oil loaded solid Lipid particlesfor use as antibactrials against wound causing bacteria

ผู้แต่ง

ณัฐนันท์ เจริญเลิศเดชกุล

หัวเรื่อง

น้ำมันไพล
น้ำมันไพล -- การใช้ประโยชน์
น้ำมันไพล -- การใช้รักษา
พืชสมุนไพร
ไพล -- การสกัด
ไพล -- วิเคราะห์และเคมี
ไพล -- ฤทธิ์ทางชีวภาพ

รายละเอียดอื่นๆ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความเข้มข้นที่เหมาะสมของน้ำมันไพลใน การต้านเชื้อแบคทีเรียสาเหตุของการเกิดแผลที่ผิวหนัง และ 2) เพื่อพัฒนาน้ำมันไพลให้อยู่ในรูป ไมโครพาร์ทิเคิลไขมันแข็ง ซึ่งมีศักยภาพต่อยอดเป็นสารออกฤทธิ์ (Active ingredient) ในตำรับยาใช้เฉพาะที่บริเวณแผลผิวหนังได้ มีวิธีการดังนี้ Disk diffusion Minimum Inhibitory Concentration (MIC) Minimum bactericidal concentration (MBC) Gas Chromatograph-Mass Spectrometry (GC-MS) Gas Chromatography - Flame Ionization. Detector (GC-FID) เตรียมไมโครพาร์ทิเคิลไขมันแข็งของน้ำมันไพลโดยวิธี Melt dispersion method หาร้อยละการกักเก็บของน้ำมันไพล ร้อยละการปลดปล่อยของน้ำมันไพล วัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของไมโครพาร์ทิเคิล และศึกษาความคงตัวของไมโครพาร์ทิเคิล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Mann Witney U test ผลการวิจัยพบว่า 1. น้ำมันไพลมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ Staphylococcus aureus, Staphylococcus epidermidis, Pseudomonas aeruginosa, Methicillin resistant Staphylococcus aureus (MRSA) DMST 20645, DMST 20649, DMST 20654 และ DMST 20651, Escherichia coli และ Pseudomonas aeruginosa 2. จากการพัฒนาน้ำมันไพลให้อยู่ในรูปไมโครพาร์ทิเคิลไขมันแข็ง พบว่าสูตรตำรับที่ดีที่สุด ที่ให้ร้อยละการกักเก็บน้ำมันไพลสูงสุด และให้ไมโครพาร์ทิเคิลที่มีลักษณะทางกายภาพดีที่สุดคือตำรับที่ประกอบด้วย Plai oil 7.2 + Cetyl alcohol 5.5 + Poloxamer + SDS 5.78 +water 81.50 (w/w) ทั้งนี้สูตรตำรับดังกล่าวมีการปลดปล่อยน้ำมันไพลแบบเนินนานภายใน 24 ชม. คำสำคัญ : น้ำมันหอมระเหยไพล, Zingiber cassumunar Roxb., ไมโครพาร์ทิเคิลไขมันแข็ง, แบคทีเรีย, แผลผิวหนัง

บทคัดย่อ

The purposes of this research were to 1) study the concentrations of Zingiber cassumunar Roxb. (Plai) oil for anti - wound causing bacteria and 2) to develop the Plai oil in the form of solid lipid microparticles for use as antibacterials against wound causing bacteria. There are methods as follows: Disk diffusion method, Minimum Inhibition Concentration (MIC), Minimum bactericidal concentration (MBC), Gas chromatograph-mass spectrometry (GC-MS), Gas Chromatography - Flame Ionization. Detector (GC-FID), solid lipid microparticles of Plai oil was prepared by melt dispersion method. Percentage of entrapment efficiency, diameter of solid lipid microparticles, percentage of Plai oil release, the diameter of the solid lipid microparticles and stability of the solid lipid microparticles were determined. The statistics used in data analysis were mean, standard deviation and Mann Witney U test. The finding revealed as follows: 1. Plai oil has antibacterial activity against Staphylococcus aureus, Staphylococcus epidermidis, Pseudomonas aeruginosa, Methicillin resistant Staphylococcus aureus (MRSA), DMST 20645, DMST 20649, DMST 20654 and DMST 20651, Escherichia coli and Pseudomonas aeruginosa 2. Development of Plai oil loaded solid lipid microparticles revealed that the best microparticles formulation, possessing highest percentage entrapment efficiency and physical stability, consisted of %w/w of Plai oil 7.2, of Cetyl alcohol 5.5, of Poloxamer 5.62, of SDS 0.16, of water 81.50. Plai oil was released of this formula with sustained release - manner for 24 hours. Keywords : Plai essential oil, Zingiber cassumunar Roxb., Microparticles, Bacteria , Wound

ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน

ปิลันธนา เลิศสถิตธนกร
เธียร ธีระวรวงศ์
วิลาสินี หิรัญพานิช ซาโตะ

วันที่ ปีที่จัดพิมพ์

2561

วันที่ผลิต วันที่จัดทำ

2021-08-09 06:57:07

วันที่ปรับปรุงข้อมูล

2021-08-09 06:57:07

รูปแบบ

Book

แหล่งที่มา

วน 615.321 ณ331ก 2561

ภาษา

Tha

รหัส

ลิขสิทธิ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Degree (name, level, descipline, grantor)

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
เภสัชกรรมไทย
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วันที่ใช้งาน

2561

คอลเลกชั่น

ณัฐนันท์ เจริญเลิศเดชกุล . (2561). การพัฒนาไมโครพาร์ทิเคิลไขมันแข็งของน้ำมันไพลที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียสาเหตุแผลผิวหนัง. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed November 24, 2024, http://202.29.54.157/s/library/item/1553

นำออกข้อมูล :