ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและสารประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยจากดอกกระดังงาสงขลาก่อนลนไฟและหลังลนไฟ
Item
ชื่อเรือง
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและสารประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยจากดอกกระดังงาสงขลาก่อนลนไฟและหลังลนไฟ
ชื่อเรื่องรอง
Antioxidant Activity and Chemical Compounds of the Essential Oils from Predistilled and Postdistilled Draw Ylang-ylang Flower
ผู้แต่ง
มารินี เบ็ญพาด
หัวเรื่อง
กระดังงาสงขลา -- การใช้ประโยชน์
ดอกกระดังงาสงขลา
พฤกษศาสตร์การแพทย์
สารต้านอนุมูลอิสระ
รายละเอียดอื่นๆ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของน้ำมันหอมระเหยจาก ดอกกระดังงาสงขลา Cananga odorata (Lam.) Hook.F.&Thomson var.fruticosa (Craib)J.Sinclair ก่อนลนไฟและหลังลนไฟด้วยวิธี DPPH assay วิเคราะห์สารประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยด้วยเทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟีและแมสสเปกโทสโกปีและทดสอบฤทธิ์การก่อกลายพันธุ์ด้วยวิธีเอมส์ (Ames test) จากการตรวจสอบสมบัติการต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH assay ผลพบว่า น้ำมันหอมระเหยกระดังงาสงขลาที่ไม่ผ่านการลนไฟมีค่าร้อยละการต้านอนุมูลอิสระ IC50 = 1,239.54 ± 48.81 ppm ซึ่งมากกว่าน้ำมันหอมระเหยดอกกระดังงาสงขลาลนไฟที่ มีค่า IC50 = 7,937.77 ± 375.34 ppm จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเคมีด้วยวิธีแก๊สโครมาโทกราฟีและแมสสเปกโทสโกฟีพบว่า น้ำมันหอมระเหยกระดังงาสงขลาที่ไม่ผ่านการลนไฟ มีสาร ที่เป็นองค์ประกอบหลัก คือ β – Caryophylene 14.10%, α - Copaene 9.0%, Humulene 5.32%, Eugenol 3.09%, linalool 2.34% ส่วนกระดังงาสงขลาลนไฟมีสารที่เป็นองค์ประกอบหลัก คือ α – Pinene 81.15%, Cyclopentanal 1.59%, D - Limenene 0.11%, α – Ocimene 0.10% จากการวิเคราะห์ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์โดยวิธีเอมส์ (Ames test) ของน้ำมันหอมระเหยจากทั้ง 2 ตัวอย่าง พบว่า กระดังงาสงขลาก่อนลนไฟและหลังลนไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ต่อเชื้อแบคทีเรีย Salmonella typhimurium สายพันธุ์ TA 100 ซึ่งการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่บ่งชี้ให้เห็นถึง ความปลอดภัยของกระดังงาสงขลาก่อนลนไฟและหลังลนไฟ
คำสำคัญ : กระดังงาสงขลา, ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, น้ำมันหอมระเหย, การลนไฟ
คำสำคัญ : กระดังงาสงขลา, ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, น้ำมันหอมระเหย, การลนไฟ
บทคัดย่อ
The aim of this research was to study the antioxidant activity of the essential oils from predistilled and postdistilled Draw Ylung-Ylung (Cananga odorata(Lam.) Hook.F.&Thomson var.fruticosa (Craib)J.Sinclair) using DPPH assay. The chemical compositions of the essential oils were analyzed by using gas chromatography mass spectrometry (GC-MS) and antimutagenic activity was tested by using Ames test. The results of DPPH assay indicated that the essential oils from predistilled Draw Ylung-ylung had higher antioxidant activity with the relative peak areas of IC50 = 1,239.54 ± 48.81 ppm than that from postdistilled one which had the relative peak areas of IC50= 7,937.77 ± 375.34 ppm. The results of GC-MS analysis showed that the essential oils from predistilled Draw Ylang-ylang contained 14.10% β-Caryophylene, 9.00% α-Copaene, 5.32% Humulene, 3.09% Eugenol, and 2.34% linalool; and the essential oils from postdistilled Draw Ylang-ylang contained 81.15% α–Pinene, 1.59% Cyclopentanal, 0.11% D-Limenene, and 0.10% α–Ocimene. The results of the direct mutagenic potential with the Ames test of the essential oils of predistilled and postdistilled Draw Ylang-ylang on the bacteria tester strain Salmonella typhimurium TA100 showed no mutagenesis to S. typhimurium TA100. This research provides preliminary data indicating the safety of predistilled and postdistilled Draw Ylang-ylang.
Keywords: Draw Ylang-ylang Flower, Antioxidant Activity, Essential Oil, Distillation
Keywords: Draw Ylang-ylang Flower, Antioxidant Activity, Essential Oil, Distillation
ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน
อัจฉรา แก้วน้อย
อรุณ ชาญชัยเชาวน์วิวัฒน์
สุชาดา มานอก
วันที่ ปีที่จัดพิมพ์
2562
วันที่ผลิต วันที่จัดทำ
2021-08-09 06:57:07
วันที่ปรับปรุงข้อมูล
2021-08-09 06:57:07
รูปแบบ
thesis
แหล่งที่มา
วน 615.321 ม497ฤ 2562
ภาษา
tha
ลิขสิทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Degree (name, level, descipline, grantor)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
เภสัชกรรมไทย
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
วันที่ใช้งาน
2562
คอลเลกชั่น
มารินี เบ็ญพาด . (2562). ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและสารประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยจากดอกกระดังงาสงขลาก่อนลนไฟและหลังลนไฟ. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed November 24, 2024, http://202.29.54.157/s/library/item/1587