การศึกษาการจัดการเรียนการสอน หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น สาขาวิชาดนตรี ในวิทยาลัยสารพัดช่าง เขตกรุงเทพมหานคร

Item

ชื่อเรือง

การศึกษาการจัดการเรียนการสอน หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น สาขาวิชาดนตรี ในวิทยาลัยสารพัดช่าง เขตกรุงเทพมหานคร

ชื่อเรื่องรอง

Study of Learning Management in A Vocational Short-Course Program, Faculty of Music,Vocational Music At Polytechnic Colleges in the Bangkok Metropolitan Area

ผู้แต่ง

ภานุพงศ์ เพ็งเรือง

หัวเรื่อง

การจัดการเรียนการสอน ปัญหาและอุปสรรค หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น

รายละเอียดอื่นๆ

งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น สาขาวิชาดนตรี ในวิทยาลัยสารพัดช่าง เขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น สาขาวิชาดนตรี ในวิทยาลัยสารพัดช่าง เขตกรุงเทพมหานคร ใน 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านหลักสูตร 2) ด้านผู้สอนและผู้เรียน 3) ด้านการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตร 4) ด้านสื่อ อุปกรณ์และสถานที่ 5) ด้านการวัดผลและประเมินผล โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมจากผู้สอนสาขาวิชาดนตรี ในวิทยาลัยสารพัดช่าง เขตกรุงเทพมหานครจำนวนทั้งหมด 3 คน และผู้เรียนจำนวน 12 คน โดยมีเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้เรียนจากการลงทะเบียนเรียนไม่น้อยกว่า 2 คอร์สเรียนขึ้นไป
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้สอนส่วนใหญ่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีทางด้านดนตรีมีประสบการณ์ ในการสอนระหว่าง 20ปี-30ปี ผู้สอนมีการจัดการเรียนการสอนแบบรายบุคคล โดยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ทั้งเนื้อหาสาระต่าง ๆ รวมทั้งได้ฝึกปฏิบัติทักษะต่าง ๆ จนสามารถปฏิบัติได้ดีและประสบผลสำเร็จได้ในเวลาเรียนที่จำกัดเพราะผู้เรียนส่วนมากไม่มีพื้นฐานความรู้ทางด้านดนตรีมาก่อน ผู้สอนเริ่มสอนจากทฤษฎีดนตรีสากลที่ผู้สอนได้จัดทำขึ้นมาไว้ในเอกสารประกอบการเรียนและลงสู่การปฏิบัติ มีกิจกรรมเสริมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้แสดงความสามารถในกิจกรรมต่าง ๆ ภายในสถานศึกษา สื่อและอุปกรณ์ดนตรีมีให้ผู้เรียนครบถ้วนมีคุณภาพได้มาตรฐาน มีการวัดผลและประเมินผลในกระบวนการเรียนการสอนตลอดการเรียน 2) ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการเรียนการสอนพบว่า การเรียนการสอนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นมีความยืดหยุ่นสูง เพราะหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้ารับการฝึกอบรมได้โดยไม่จำกัดวัยวุฒิและคุณวุฒิ ผู้เรียนส่วนมากไม่มีเครื่องดนตรีส่วนตัวจึงใช้เวลาฝึกซ้อมส่วนใหญ่ในชั่วโมงเรียน เครื่องดนตรีที่ใช้ในการสอนในปัจจุบันไม่มีความทันสมัยเพราะใช้ในการเรียนการสอนเป็นเวลานานแล้ว ห้องที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนไม่เหมาะสมกับเครื่องดนตรีบางประเภท ห้องเรียนเดี่ยวแยกตามเครื่องดนตรีไม่มีเพราะสถานที่ของสถานศึกษามีจำนวนจำกัด ผู้สอนวัดผลและประเมินผลผู้เรียนเป็นรายบุคคล ทั้งนี้ในการสอบและการให้คะแนนแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้สอน

คำสำคัญ : การจัดการเรียนการสอน, ปัญหาและอุปสรรค, หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น

บทคัดย่อ

The purpose of this qualitative research to 1). Study teaching management of short-term vocational program, major in music at Polytechnic College in Bangkok. 2).Study the problems and obstacles of teaching management of short-term vocational program , major in music at Polytechnic College in Bangkok for 5 sides included 1)Teaching program 2)Teachers and learners 3)Teaching activities 4)Media, equipment and location 5)Evaluation By studying the information from the document, semi-structural interview and uninterrupted observation from a music teacher at Phra Nakhon Polytechnic College and 4 students, 2 music teachers at Thon Buri Polytechnic College and 8 students.
The result of study found that 1). Teaching management, most of teachers graduated in Bachelor degree major in music, teaching experience during 20-30 years. Teachers arrange teaching individually, use Learning by Doing. Most of learners without any basic knowledge of music so the teachers start teaching from theory according to the topic in the study papers and into action later. By focusing on the development of individual students with teaching activities to demonstrate competence in activities at the college. Media and music equipment have a complete and standard quality learners with evaluation all of teaching process. With the exam conditions grading at the discretion of teachers by testing the development of individual practice skills. 2). The problems and obstacles of teaching management found that the teaching management of short-term vocational program is highly flexible. Because the short-term vocational program is open to the general public able to learn regardless of age and gender. Most of students will spend time of training in class, the students do not have personal instruments. The musical instruments currently used in teaching management are not up date because too old, teaching room not suitable for some types of musical instruments and no single classroom for instruments because the place of study is limited, teachers test and evaluation the students individually. In each examination and grading depend on the discretion of teachers.

Keywords: teaching management, problems and obstacles, short-term vocational program

ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน

พิมลมาศ พร้อมสุขกุล
ชาลินี สุริยนเปล่งแสง
รุ่งเกียรติ สิริวงษ์สุวรรณ

วันที่ ปีที่จัดพิมพ์

2562

วันที่ผลิต วันที่จัดทำ

2021-08-09 06:57:07

วันที่ปรับปรุงข้อมูล

2021-08-09 06:57:07

ประเภท

thesis

รูปแบบ

application/pdf

แหล่งที่มา

วน 786.9 ภ446ก 2562

ภาษา

tha

รหัส

ลิขสิทธิ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Degree (name, level, descipline, grantor)

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
ดนตรีตะวันตก
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วันที่ใช้งาน

2562

คอลเลกชั่น

ภานุพงศ์ เพ็งเรือง . (2562). การศึกษาการจัดการเรียนการสอน หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น สาขาวิชาดนตรี ในวิทยาลัยสารพัดช่าง เขตกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed November 24, 2024, http://202.29.54.157/s/library/item/1601

นำออกข้อมูล :