การศึกษาการจัดการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการดนตรีสากล กรณีศึกษานักเรียนโครงการพิเศษ โรงเรียนสารสาสน์วิเทศบางบอน

Item

ชื่อเรือง

การศึกษาการจัดการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการดนตรีสากล กรณีศึกษานักเรียนโครงการพิเศษ โรงเรียนสารสาสน์วิเทศบางบอน

ชื่อเรื่องรอง

The Study of Educational Managent on Terching Music Practice a CaseStudy of Music Program Students in Sarasas Witaed Bangbon School

ผู้แต่ง

ยงยุทธ วรรณสาธพ

หัวเรื่อง

การจัดการเรียนการสอน
วิชาปฏิบัติการดนตรีสากล
ดนตรีศึกษา

รายละเอียดอื่นๆ

งานวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการจัดการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติดนตรีสากล นักเรียนโครงการพิเศษ แผนการเรียนอังกฤษ-ดนตรี ได้แก่ 1)ด้านหลักสูตร 2)ด้านผู้สอนและผู้เรียน 3)ด้านการจัดการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร 4)ด้านสื่อ อุปกรณ์ และสถานที่ และ 5)ด้านการวัดผลและประเมินผล ปัญหาอุปสรรคต่างๆ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร การสังเกตและมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เจาะลึก จากผู้บริหารด้านดนตรี 2 คน ครูผู้สอน 5 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 6 จำนวน 10 คน ผลการวิจัยพบว่า 1)ด้านหลักสูตรทั้งครูและนักเรียนมีความเห็นตรงกันว่าเหมาะสม เนื่องจากครูผู้สอนประเมินตามความสามารถและพัฒนาการของนักเรียน อีกทั้งมีการแสดงเดี่ยวทุกปลายภาคเรียน 2)ด้านครูผู้สอนและผู้เรียนพบว่าครูส่วนใหญ่มีประสบการณ์การสอน และจบปริญญาตรีสาขาดนตรีตรงตามเครื่องดนตรีที่สอนในขณะที่ผู้เรียนไม่มีพื้นฐานทางด้านการปฏิบัติดนตรีมาก่อน 3)ด้านการจัดการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรพบว่านักเรียนได้เรียนพื้นฐานการปฏิบัติที่ถูกต้องตั้งแต่การจับเครื่อง ท่าทางการปฏิบัติเครื่องดนตรี และการปฏิบัติเครื่องดนตรีที่ถูกต้องนอกจากนี้ยังมีกิจกรรมเสริมหลักสูตรโดยทางโรงเรียนมีการจัดตั้งวงดนตรีต่างๆและกำหนดให้ทุกคนต้องเป็นสมาชิกวงของโรงเรียน 1 วง 4)ด้านสื่อ อุปกรณ์และสถานที่พบว่า เครื่องดนตรีที่ใช้มีคุณภาพมาตรฐานและมีจำนวนเพียงพอต่อนักเรียน ครูใช้แบบฝึกหัดในการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะกับนักเรียน นอกจากนี้โรงเรียนยังมีห้องสมุดดนตรีเพื่อค้นคว้าความรู้ด้านดนตรี ห้องเรียนปฏิบัติดนตรีมีทั้งห้องปฏิบัติการเดี่ยวและกลุ่ม 5)ด้านการวัดและประเมินผลพบว่า มีการประเมินระหว่างเรียนจากแบบฝึกหัด และบทเพลง ที่ครูกำหนด และการแสดงเดี่ยวในช่วงปลายภาคเรียน ในขณะที่ปัญหาและอุปสรรคของการจัดการเรียนการสอน พบว่าปัญหาในด้านสถานที่และสภาพแวดล้อมของห้องเรียน เนื่องด้วยบางวิชามีการจัดการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติในห้องเรียนเดียวกัน ทำให้มีเสียงรบกวนระหว่างกันอาจต้องมีการปรับปรุงในจุดนี้ นอกจากนี้ในการวัดและประเมินผลเนื่องจากครูมีการวัดและประเมินผลตามพัฒนาการทำให้ในบางครั้งถูกมองว่า ไม่มีเกณฑ์มาตรฐานตายตัวแน่นอน ส่วนด้านอื่นๆ ไม่พบปัญหา ในการจัดการเรียนการสอน

คำสำคัญ: การจัดการเรียนการสอน, ปฏิบัติดนตรี, ดนตรีศึกษา

บทคัดย่อ

The Objective of this qualitative research is to study the instructional practices of performance music student (Music-English special program) about contents as follow: 1) Curriculum 2) Instructor and learner 3) Instructional practice and extra-curricular activities 4) Media, equipment, and facility 5) Measurement and evaluation. Problems and obstacles studied by related documents, observation and participation the event, and also in-depth interview with 2 music managers, 5 music instructors, and 10 senior high school students. (Mathayom 5 and 6). The result indicates that the instructors and students agree on the evaluation suitability because the instructors evaluate based on student development individually every semester. Mostly, the instructors are experience and own bachelor degree of music in related field of teaching requirements while students don’t have basic of music practice. The instructional format and extra-curricular found that students learn the correct way of practice, holding the instruments, and playing posture. There are also extra-curricular activities; the school has established various bands so students need to be in a band for developing other areas of skill as well. Media and music instrument meet requirement of the students. The instructional documents are appropriate and student can research and study those from local music library. Both solo and band music rehearsal facility is also acceptable for the amount of the student too. In measurement and evaluation found that there are assessments during the study from the exercises and songs that the teacher assigned and individual performances at the end of the semester. Problems and Obstacles in this instructional management is the facility when multiple classes happen at the same time, the noise is the main problem and need to be improve. Also, the quality of evaluation that based on student development sometime is not accurate. The others side, there was no problem in teaching and learning.

Keyword: Instructional Practice, Music Performance, Music Education

ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน

พิมลมาศ พร้อมสุขกุล
ปรีญานันท์ พร้อมสุขกุล
เอกชัย พุหิรัญ

วันที่ ปีที่จัดพิมพ์

2562

วันที่ผลิต วันที่จัดทำ

2021-08-09 06:57:07

วันที่ปรับปรุงข้อมูล

2021-08-09 06:57:07

ประเภท

thesis

รูปแบบ

application/pdf

แหล่งที่มา

วน 786.9 ย126ก 2562

ภาษา

tha

รหัส

ลิขสิทธิ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Degree (name, level, descipline, grantor)

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
ดนตรีตะวันตก
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วันที่ใช้งาน

2562

คอลเลกชั่น

ยงยุทธ วรรณสาธพ . (2562). การศึกษาการจัดการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการดนตรีสากล กรณีศึกษานักเรียนโครงการพิเศษ โรงเรียนสารสาสน์วิเทศบางบอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed November 24, 2024, http://202.29.54.157/s/library/item/1604

นำออกข้อมูล :