การพัฒนายาเม็ดอมแก้ไอจากผงแห้งของสารสกัดสมอไทย
Item
ชื่อเรือง
การพัฒนายาเม็ดอมแก้ไอจากผงแห้งของสารสกัดสมอไทย
ชื่อเรื่องรอง
Development of Cough Tablets From Dried Powder of Terminalia Chebula Retz. Fruit Extract
ผู้แต่ง
บุษบามินตรา ดิฐประวรรตน์
หัวเรื่อง
สมอไทย
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
สมุนไพร
สารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด
ยาเม็ดอมแก้ไอ
รายละเอียดอื่นๆ
งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนายาเม็ดอมแก้ไอจากผงแห้งของสารสกัดสมอไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบและวิธีการสกัดที่เหมาะสมในการผลิตยาเม็ดอมแก้ไอจากผงแห้งของสารสกัด สมอไทย 2) ศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดหยาบสมอไทย 3) ศึกษาวิธีการเตรียมยาเม็ดในรูปแบบการทำแกรนูลเปียก 4) ศึกษาคุณภาพของยาเม็ดอมแก้ไอจากผงแห้งของสารสกัดสมอไทยตามวิธีมาตรฐานของยาเม็ด USP 40 (2017) และมาตรฐานโรงงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ one-way analysis of variance (ANOVA, p<0.01) และ Least significant difference procedure (LSD= 1.0% allowance, α=0.01, 2-tailed) ผลการวิจัยพบว่า 1. วิธีการสกัดหยาบจากผลสมอไทย 3 วิธี คือ การต้ม (decoction), การชง (infusion) และการหมัก (maceration) พบว่าให้ร้อยละผลผลิตเท่ากับ 19.31, 21.51 และ 19.08 ตามลำดับ 2. การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบสมอไทย พบว่าสารสกัดสมอไทยโดยการต้มมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด มีค่า IC50 เท่ากับ 8.881±0.710 µg/ml เทียบเท่ากับสารมาตรฐาน Ascorbic acid และเมื่อวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดหยาบสมอไทย พบว่า การต้มให้ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดมากที่สุดเทียบกับสารมาตรฐานกรดแกลลิก เท่ากับ 148.250±41.518 µg GE/mg 3. การนำผงแห้งของสารสกัดสมอไทยที่สกัดโดยการต้มไปพัฒนายาเม็ดอมแก้ไอ โดยวิธีทำ แกรนูลเปียก 8 ตำรับ พบว่ายาเม็ดอมแก้ไอจากผงแห้งของสารสกัดสมอไทยตำรับที่ 7 และ 8 อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานความแปรปรวนน้ำหนัก และการแตกตัวของยาเม็ดอมแก้ไอตามข้อกำหนด Dietary Supplements, USP 40 (2017) ความกร่อนยาเม็ดของ USP 40 (2017) และมาตรฐานโรงงานด้านความแข็งและความหนายาเม็ด 4. การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจากยาเม็ดอมแก้ไอตำรับที่ 7 และ 8 ที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของยาเม็ด USP 40 และมาตรฐานโรงงาน ดังกล่าวเทียบกับยาหลอกจะให้ค่าเท่ากับร้อยละ 94.869±0.128 และ 95.205±0.456 ตามลำดับ และมากกว่ายาหลอก เมื่อวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดเทียบกับยาหลอก จะให้ค่าเท่ากับ 3.987±0.224 µg GE/mg และ 3.249±0.285 µg GE/mg ตามลำดับ และมากกว่ายาหลอก จากผลการศึกษายังพบว่า สมอไทยที่สกัดด้วยวิธีการต้มใช้ความร้อนในการสกัดมากกว่าวิธีการชง สารสำคัญจะออกมาได้ดีเมื่อใช้เวลานานและมีความหนืด วิธีการต้มจึงระเหยตัวทำละลายด้วยเครื่องทำให้แห้งแบบเยือกแข็ง (freeze dry) และวิธีการชงระเหยตัวทำละลายด้วยเครื่องระเหยสุญญากาศแบบหมุน (rotary evaporator) นอกจากนี้ยังพบว่ายาเม็ดอมแก้ไอจากผงแห้งของสารสกัดสมอไทย ตำรับที่ 7 และ 8 มีศักยภาพในการนำไปพัฒนาทางเภสัชตำรับต่อไป
คำสำคัญ: สมอไทย, ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, สารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด ,ยาเม็ดอมแก้ไอสมุนไพร
คำสำคัญ: สมอไทย, ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, สารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด ,ยาเม็ดอมแก้ไอสมุนไพร
ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน
อัจฉรา แก้วน้อย
อ้อมบุญ วัลลิสุต
วันที่ ปีที่จัดพิมพ์
2563
วันที่ผลิต วันที่จัดทำ
2021-08-09 06:57:07
วันที่ปรับปรุงข้อมูล
2021-08-09 06:57:07
ประเภท
thesis
รูปแบบ
application/pdf
แหล่งที่มา
วน 615.58 บ675ก 2563
ภาษา
tha
ลิขสิทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Degree (name, level, descipline, grantor)
การแพทย์แผนไทยมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
เภสัชกรรมไทย
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
วันที่ใช้งาน
2563
คอลเลกชั่น
บุษบามินตรา ดิฐประวรรตน์ . (2563). การพัฒนายาเม็ดอมแก้ไอจากผงแห้งของสารสกัดสมอไทย. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed November 24, 2024, http://202.29.54.157/s/library/item/1606