การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้การจัดกิจกรรมเกมการละเล่นพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมทักษะทางสังคมด้านการช่วยเหลือของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2
Item
ชื่อเรือง
การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้การจัดกิจกรรมเกมการละเล่นพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมทักษะทางสังคมด้านการช่วยเหลือของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2
ชื่อเรื่องรอง
The Development of Folk Plays-based Instruction to EnhanceSocial Skill in Terms of Assistance of Preschool 2 Children
ผู้แต่ง
รุ่งนภา จำปาเทศ
หัวเรื่อง
เกมการละเล่นพื้นบ้าน -- กิจกรรมการเรียนการสอน
เกม -- กิจกรรมการเรียนการสอน
ทักษะทางสังคม -- การศึกษาและการสอน (การศึกษาปฐมวัย)
ทักษะทางสังคมในเด็ก -- การศึกษาและการสอน (การศึกษาปฐมวัย)
สื่อการสอน
รายละเอียดอื่นๆ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้การจัดกิจกรรมเกมการละเล่นพื้นบ้าน เพื่อส่งเสริมทักษะทางสังคมด้านการช่วยเหลือของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 และ 2) เปรียบเทียบทักษะทางสังคมด้านการช่วยเหลือของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังทำกิจกรรมเกมการละเล่นพื้นบ้าน โดยใช้รูปแบการสอนที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 2 จำนวน 25 คนโดยใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ประกอบด้วย 1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 2) แบบทดสอบทักษะทางสังคมด้านการช่วยเหลือ เป็นแบบรูปภาพ 3 ตัวเลือก มีค่าความยากง่าย ระหว่าง 0.20 – 0.80 มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.20 - 0.09 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.78 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการสอนโดยใช้การจัดกิจกรรมเกมการละเล่นพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมทักษะทางสังคมด้านการช่วยเหลือของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีความเหมาะสม มีองค์ประกอบครบถ้วนประกอบด้วย 1) แนวคิดของรูปแบบการเรียนการสอน 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการสอน 3) กระบวนการเรียนการสอน และ 4) ผลที่ผู้เรียนได้รับรูปแบบการเรียนการสอน คือ ผู้เรียนมีทักษะทางสังคมความด้านการช่วยเหลือเพิ่มขึ้น 2. นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังจากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้มีทักษะทางสังคมด้านการช่วยเหลือสูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ความสำคัญ: รูปแบบการสอน ทักษะทางสังคมด้านการช่วยเหลือ
ความสำคัญ: รูปแบบการสอน ทักษะทางสังคมด้านการช่วยเหลือ
บทคัดย่อ
The purposes of this research were: 1) to develop folk plays-based instruction to enhance social skill in terms of assistance of preschool 2 children and 2) to compare social skill in terms of assistance of preschool 2 children between before and after learning through the developed instruction. The sample included twenty-five preschool 2 students of Tedsaban 2 School.The research instruments involved lesson plans and test of social skill in terms of assistance.Data were statistically analyzed in MEAN, standard deviation, and t-test. The findings revealed as follows. 1) The components of folk plays-based instruction to enhance social skill in terms of assistance of preschool 2 children was found to be appropriate and complete. It was composed of 1) concept 2) learning objectives 3) learning activities and 4) learning outcomes, i.e., the increase of students’ social skill in terms of assistance. 2) The social skill in terms of assistance of preschool 2 children was higher than that before the experiment at significance level .01.
Keywords: Instruction, Social Skill in Terms of Assistance
Keywords: Instruction, Social Skill in Terms of Assistance
ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน
วิโฬฏฐ์ วัฒนานิมิตรกูล
วิเชียร อินทรสมพันธ์
วันที่ ปีที่จัดพิมพ์
2560
วันที่ผลิต วันที่จัดทำ
2021-10-09
วันที่ปรับปรุงข้อมูล
2021-10-09
ประเภท
thesis
รูปแบบ
application/pdf
แหล่งที่มา
วน 371.397 ร623ก 2560
ภาษา
tha
ลิขสิทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Degree (name, level, descipline, grantor)
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
หลักสูตรและการสอน
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
รุ่งนภา จำปาเทศ . (2560). การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้การจัดกิจกรรมเกมการละเล่นพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมทักษะทางสังคมด้านการช่วยเหลือของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed November 24, 2024, http://202.29.54.157/s/library/item/1733