การศึกษาการจัดการเรียนการสอน วิชาปฏิบัติเครื่องสายสากล กรณีศึกษา : นักเรียนโครงการพิเศษโรงเรียนสารสาสน์วิเศษบางบอน
Item
ชื่อเรือง
การศึกษาการจัดการเรียนการสอน วิชาปฏิบัติเครื่องสายสากล กรณีศึกษา : นักเรียนโครงการพิเศษโรงเรียนสารสาสน์วิเศษบางบอน
ชื่อเรื่องรอง
The Study of Music Instruction for String Instruments a Case Study : Scholarship Students at Sarasas Witaed Bangbon School
ผู้แต่ง
อัญชลี สิริวงษ์สุวรรณ
หัวเรื่อง
การจัดการเรียนการสอน--ปัญหาและอุปสรรค
ดนตรีศึกษา
ปฏิบัติเครื่องสายสากล
รายละเอียดอื่นๆ
งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพี่อศึกษาการจัดการเรียนการสอนในวิชาปฏิบัติเครื่องสายสากล สำหรับนักเรียนโครงการพิเศษ สายการเรียนอังกฤษ - ดนตรี และ 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการจัดการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติเครื่องสายสำหรับนักเรียนโครงการพิเศษ สายการเรียนอังกฤษ - ดนตรี โรงเรียนสารสาสน์วิเทศบางบอน ใน 5 ด้าน 1) ด้านหลักสูตร 2) ด้านผู้สอนและผู้เรียน 3) ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตร 4) ด้านสื่อ อุปกรณ์และสถานที่ 5) ด้านการวัดผลและประเมินผล โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและการสังเกตแบบมีส่วนร่วม จากผู้อำนวยการโรงเรียน 1 คน ผู้บริหาร 3 คน ครูผู้สอน 4 สอน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 12 คน ผลการวิจัยพบว่า ครูผู้สอนส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีทางด้านดนตรีมีประสบการณ์ในการสอน 7-14 ปี นักเรียนท้ังหมดไม่มีพื้นฐานทางดนตรีมาก่อน จัดการเรียนการสอนจัดแบบกลุ่มย่อยและแบบเดี่ยว โดยมุ่งเน้นการพัฒนานักเรียนเป็นรายบุคคล มีการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรให้นักเรียนได้แสดงความสามารถทุกปี สื่อและอุปกรณ์ดนตรีโรงเรียนจัดหาให้นักเรียนครบถ้วนและมีคุณภาพดี มีห้องเรียนแยกตามเครื่องดนตรี มีการวัดผลในกระบวนการเรียนการสอนตลอดปี การศึกษา และใช้การประเมินแบบอิงเกณฑ์ ปัญหาและอุปสรรค พบว่าครูกำหนดเนื้อหาการเรียนการสอนมีความยืดหยุ่นเกินไปนักเรียนจึงขาดความกระตือรือร้นในการเรียนและการฝึกซ้อม การจัดตารางเรียนพร้อมกันทำให้มีเวลาเรียนน้อย ปัจจุบันไม่มีการอบรมเชิงปฏิบัติการและการชมการแสดงคอนเสิร์ตซึ่งเป็นการสร้าง แรงบันดาลใจให้นักเรียน ห้องเรียนมีเสียงดังรบกวน คับแคบ และไม่เพียงพอ การวัดผลมีครูผู้สอนให้คะแนนเพียงคนเดียวทำให้เกณฑ์การวัดอาจไม่เท่าเทียมกัน ข้อเสนอแนะจากครูผู้สอนและนักเรียนในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติเครื่องสายสากลสำหรับนักเรียนโครงการพิเศษ สายการเรียนอังกฤษ - ดนตรี โรงเรียนสารสาสน์วิเทศบางบอน พบว่า ครูผู้สอนมีความต้องการติดตามกระตุ้นนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ เพิ่มเติมเวลาเรียนหรือจัดตารางเรียนให้เหมาะสมกับจำนวนนักเรียน ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมเสริมหลักสูตรอันจะนำมาซึ่งการสร้างแรงบันดาลใจในการเรียน วางแนวทางการประเมินของครูแต่ละท่านให้เป็นไปทิศทางเดียวกัน
คำสำคัญ : การจัดการเรียนการสอน,ปัญหาและอุปสรรค,ปฏิบัติเครื่องสายสากล
คำสำคัญ : การจัดการเรียนการสอน,ปัญหาและอุปสรรค,ปฏิบัติเครื่องสายสากล
บทคัดย่อ
This qualitative research aimed to study the teaching process and problems and obstacles at Sarasas Witaed Bangbon school with scholarship students who studied in English - Music Program in string instruments. The researcher represents and categorize into 5 aspects. 1) The curriculum 2) teachers and students 3) learning process management and extra-curricular activities 4) media instruments and places 5) measurements and evaluations. The research methodology are 1) literature reviews 2) semi-structural interviews 3) participating observation. The keys informants as followed: 3 executives, 4 teachers and 12 students at senior high school grades 10-12.
The results of this study were found that most of the teachers graduated in music bachelor’s degree and experienced teaching for 7-14 years. All students did not have any knowledge in music before. Teaching management was dividing into small groups or a single student, which focused on individual students’ developments. There were extra-curricular activities for the students to show their skills every year. The school supplied media and good qualities musical instruments for all students. The classrooms were divided according to musical instruments type. There were measurements and evaluations on the teaching process throughout the academic year by the criterion basis. The problems and obstacles were found that the teachers set too flexible teaching contents, which affected the students’ enthusiasm in learning and practices. The schedules of learning were overlapped. Also, the hour of the music class is too short for them to focus and learn. Importantly, there was no opportunity for student to attend the concert, which really good resource for music inspiration. The quality of classrooms is not acceptable. The lassrooms were narrow, insufficient, and too many noise. The evaluations were done by a single teacher then the criteria might not be comparable. The developing guidelines were found that the teachers should regularly follow-up and stimulate the students, increase studying hours, or schedule learning periods appropriately to the number of students, promote and support extra-curricular activities, which will be inspirited for learning, and should have specific guidelines for teachers to evaluate the students in the same directions.
Keywords: Teaching Process, Problems and Obstacles in Learning, StringInstruments
The results of this study were found that most of the teachers graduated in music bachelor’s degree and experienced teaching for 7-14 years. All students did not have any knowledge in music before. Teaching management was dividing into small groups or a single student, which focused on individual students’ developments. There were extra-curricular activities for the students to show their skills every year. The school supplied media and good qualities musical instruments for all students. The classrooms were divided according to musical instruments type. There were measurements and evaluations on the teaching process throughout the academic year by the criterion basis. The problems and obstacles were found that the teachers set too flexible teaching contents, which affected the students’ enthusiasm in learning and practices. The schedules of learning were overlapped. Also, the hour of the music class is too short for them to focus and learn. Importantly, there was no opportunity for student to attend the concert, which really good resource for music inspiration. The quality of classrooms is not acceptable. The lassrooms were narrow, insufficient, and too many noise. The evaluations were done by a single teacher then the criteria might not be comparable. The developing guidelines were found that the teachers should regularly follow-up and stimulate the students, increase studying hours, or schedule learning periods appropriately to the number of students, promote and support extra-curricular activities, which will be inspirited for learning, and should have specific guidelines for teachers to evaluate the students in the same directions.
Keywords: Teaching Process, Problems and Obstacles in Learning, StringInstruments
ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน
พิมลมาศ พร้อมสุขกุล
ชาลินี คุณาเทียน
นัฏฐิกา สุนทรธนผล
วันที่ ปีที่จัดพิมพ์
2561
วันที่ผลิต วันที่จัดทำ
2021-10-11
วันที่ปรับปรุงข้อมูล
2021-10-11
ประเภท
thesis
รูปแบบ
application/pdf
แหล่งที่มา
วน 786.9 อ525ก 2561
ภาษา
tha
ลิขสิทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Degree (name, level, descipline, grantor)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
ดนตรีตะวันตก
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
อัญชลี สิริวงษ์สุวรรณ . (2561). การศึกษาการจัดการเรียนการสอน วิชาปฏิบัติเครื่องสายสากล กรณีศึกษา : นักเรียนโครงการพิเศษโรงเรียนสารสาสน์วิเศษบางบอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed November 24, 2024, http://202.29.54.157/s/library/item/2075