วงเวียนใหญ่ (รถไฟวงเวียนใหญ่)
Item
ชื่อเรื่อง
วงเวียนใหญ่ (รถไฟวงเวียนใหญ่)
ประเภท
บทความ
ผู้แต่ง
ขวัญสรวง อติโพธิ
วันที่
2565-09-15
รายละเอียด
วงเวียนใหญ่ (รถไฟวงเวียนใหญ่)
"ถิ่นฐานบ้านเมือง" คราวที่แล้วเขียนถึงสะพานพระพุทธยอดฟ้าที่ล้นเกล้ารัชกาลที่ 7 ท่านโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นนอกจากจะเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองพระนครครบ 150 ปีและเพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์แก่องค์พระปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีแล้ว ยังมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาพระนครเพื่อเชื่อมโญงบ้านเมืองฝั่งนครและฝั่งธนฯนี้ จะพาเอาการสัญจรทางถนนและรถยนต์มาร่วมกันเปิดพื้นที่เมือง สร้างย่านและชุมชนหน้าใหม่ๆ ทางฝั่งธนฯ ขึ้น
เป็นการใหญ่ ..ฝั่งธนฯ ซึ่งเคยอยู่กับเรืออยู่กับคลองกับสวนจะค่อยๆ เพิ่มการอยู่ตึกอยู่บ้านที่ใช้รถใช้ถนนเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ถนนที่ตัดต่อจากสะพานพุทธลงมาฝั่งธนฯ เรียกว่าถนนประชาธิปก ถนนสายสั้นๆ ยาวประมาณ 1.2 กิโลเมตรกับวงเวียน 2 วงเวียนขนาดเล็กและใหญ่อย่างละวงนี่เองที่มีบทบาทอย่างสำคัญในการพัฒนาพื้นที่เมืองทางฝั่งธนฯ อยู่เป็นหลายทศวรรษ
ภาพที่ 1 เป็นแผนที่พระนครเมื่อปี พ.ศ.2475 ที่ผมได้ลากเส้นเป็นสะพานพุทธมาจากแนวถนนตรีเพชรทางฝั่งพระนครเมื่อลงมาฝั่งธนฯ ก็เป็นถนนประชาธิปก มาเจอแนวคลองสมเด็จก็ท าเป็นวงเวียนเล็กเลี้ยวซ้ายต่อไปจะเป็นถนนสมเด็จเจ้าพระยาตรงมาสัก 400 เมตรต่อไปจะกลายเป็นสี่แยกบ้านแขก เลยมาอีก 400 เมตร ก็จะกลายเป็นวงเวียนขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางร่วม 125 เมตร วงเวียนคู่นี้ ชาวบ้านเรียกขานกันง่ายๆ ติดปากกัน
ทั่วไปว่า วงเวียนเล็ก กับวงเวียนใหญ่
ที่มา : ขวัญสรวง อติโพธิ. (2557,23 พฤษภาคม). วงเวียนใหญ่ (รถไฟวงเวียนใหญ่). สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์, น.23.
"ถิ่นฐานบ้านเมือง" คราวที่แล้วเขียนถึงสะพานพระพุทธยอดฟ้าที่ล้นเกล้ารัชกาลที่ 7 ท่านโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นนอกจากจะเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองพระนครครบ 150 ปีและเพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์แก่องค์พระปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีแล้ว ยังมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาพระนครเพื่อเชื่อมโญงบ้านเมืองฝั่งนครและฝั่งธนฯนี้ จะพาเอาการสัญจรทางถนนและรถยนต์มาร่วมกันเปิดพื้นที่เมือง สร้างย่านและชุมชนหน้าใหม่ๆ ทางฝั่งธนฯ ขึ้น
เป็นการใหญ่ ..ฝั่งธนฯ ซึ่งเคยอยู่กับเรืออยู่กับคลองกับสวนจะค่อยๆ เพิ่มการอยู่ตึกอยู่บ้านที่ใช้รถใช้ถนนเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ถนนที่ตัดต่อจากสะพานพุทธลงมาฝั่งธนฯ เรียกว่าถนนประชาธิปก ถนนสายสั้นๆ ยาวประมาณ 1.2 กิโลเมตรกับวงเวียน 2 วงเวียนขนาดเล็กและใหญ่อย่างละวงนี่เองที่มีบทบาทอย่างสำคัญในการพัฒนาพื้นที่เมืองทางฝั่งธนฯ อยู่เป็นหลายทศวรรษ
ภาพที่ 1 เป็นแผนที่พระนครเมื่อปี พ.ศ.2475 ที่ผมได้ลากเส้นเป็นสะพานพุทธมาจากแนวถนนตรีเพชรทางฝั่งพระนครเมื่อลงมาฝั่งธนฯ ก็เป็นถนนประชาธิปก มาเจอแนวคลองสมเด็จก็ท าเป็นวงเวียนเล็กเลี้ยวซ้ายต่อไปจะเป็นถนนสมเด็จเจ้าพระยาตรงมาสัก 400 เมตรต่อไปจะกลายเป็นสี่แยกบ้านแขก เลยมาอีก 400 เมตร ก็จะกลายเป็นวงเวียนขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางร่วม 125 เมตร วงเวียนคู่นี้ ชาวบ้านเรียกขานกันง่ายๆ ติดปากกัน
ทั่วไปว่า วงเวียนเล็ก กับวงเวียนใหญ่
ที่มา : ขวัญสรวง อติโพธิ. (2557,23 พฤษภาคม). วงเวียนใหญ่ (รถไฟวงเวียนใหญ่). สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์, น.23.
รูปแบบ
application/pdf
ภาษา
tha
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
หัวเรื่อง
วงเวียนใหญ่
รถไฟวงเวียนใหญ่
พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสิน
สิ่งก่อสร้างและสถานที่
คอลเลกชั่น
ขวัญสรวง อติโพธิ .วงเวียนใหญ่ (รถไฟวงเวียนใหญ่). มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed November 24, 2024, http://202.29.54.157/s/library/item/2410