พิพิธภัณฑ์โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา
Item
ชื่อเรื่อง
พิพิธภัณฑ์โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา
วันที่
2566-02-10
รายละเอียด
สถาบันจิตเวชศาสตร์ สมเด็จเจ้าพระยาเป็นโรงพยาบาลจิตเวชแห่งแรกในประเทศไทย ก่อตั้ง
โดยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๒ โดยมีชื่อเดิมว่า โรงพยาบาลคนเสียจริต สถานที่ตั้งแห่งแรกอยู่บริเวณ ปากคลองสาน ฝั่งธนบุรี เป็นอาคารแบบ จีนขนาดใหญ่ในเนื้อที่ประมาณ ๔-๕ ไร่ ซึ่งเดิมเป็นบ้านของพระยาภักดีภัทรากร (เจ้าสัวเกงซัว) ดีตเจ้าภาษีสินค้าต่าง ๆ หลายรายการ ซึ่งยกให้ หลวงเป็นการชำระค่าภาษีที่ติดค้างอยู่ ในระยะแรกโรงพยาบาลคนเสียจริตได้รักษาผู้ป่วยโดยแพทย์ประจำและแพทย์แผนไทย เมื่อจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นประกอบกับสถานที่คับแคบ นายแพทย์ไฮเอ็ด ผู้อำนวยการคนแรกของโรงพยาบาล ต่อมาพยาบาล ได้เสนอให้รัฐบาลซื้อที่ดินและบ้านของเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) หรือ เจ้าคุณทหาร ที่ดินของนายเปีย ราชานุประพันธ์ และที่ดินใกล้เคียงของราษฎรอื่น ๆ รวมเนื้อที่ ๔๔ ไร่ครึ่ง เพื่อ สร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถาบัน ฯ ในปัจจุบัน คืออยู่ที่ริมคลองสานด้านตะวันตกตอนใต้ ห่างจากสถานที่เดิมประมาณ ๖๐๐ เมตร เมื่อแรกก่อตั้งนั้นในประเทศไทยยังไม่มีผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการรักษาทางด้านจิตเวชอย่าง เป็นทางการ จึงได้จ้างนายแพทย์ชาวตะวันตกหลายท่านเพื่อเข้ามาเป็นแพทย์ใหญ่ และทำการรักษาที่โรงพยาบาลแห่งนี้ อาทิ เช่น นายแพทย์ไฮเอ็ด หมอคาร์ทิว นายแพทย์เมนเดลสันภายหลังมีแพทย์แผนปัจจุบันคนไทยจบ การศึกษามารับราชการแทนชาวต่างประเทศ ศาสตราจารย์หลวงวิเชียรแพทยาคม (เถียร ตูวิเชียร) ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาล คนแรกที่เป็นคนไทย ท่านได้ไปศึกษาวิชาโรคจิตเพิ่มเติมจากประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นเวลา ๒ ปี จน กระทั่งปลายปี พ.ศ. ๒๔๗๔ ท่านก็ได้เดินทางกลับมา เพื่อพัฒนางานด้านต่าง ๆ และเปลี่ยนชื่อโรงพยาบาล คนเสียจริตมาเป็นโรงพยาบาลโรคจิตต์ธนบุรี ถือเป็นก้าวสำคัญในการรักษาผู้ป่วยจิตเวชในสังคมไทย ศาสตราจารย์นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว ผู้อำนวยการในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๘๕-๒๕๐๒ ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งจิตเวชศาสตร์ไทย ท่านได้พัฒนาโรงพยาบาลโดยรื้อลูกกรงเหล็กแล้วเปลี่ยนเป็นมุ้งลวดแทน เปลี่ยนชื่อเรือนที่พักของผู้ป่วยเป็นชื่อดอกไม้เพื่อให้มีความหมายน่าชื่นใจ ในด้านการดูแลผู้ป่วยใช้หลักของความรักความเอาใจใส่ประดุจพ่อแม่ดูแลลูก ในด้านวิชาการท่าน เป็นผู้วางรากฐานวิชาจิตเวชศาสตร์และสุขภาพจิตในการศึกษาก่อนและหลังปริญญา นอกจากนั้นท่านได้ เปลี่ยนชื่อโรงพยาบาลมาเป็น "โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา" ต่อมา ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สถาบันจิตเวชศาสตร์ สมเด็จเจ้าพระยา " โดยมีภารกิจหลักในการบำบัดรักษาผู้ป่วยจิตเวช ประสาทจิตเวขศาสตร์ และเป็นสถาบัน ฝึกอบรมทางด้านจิตเวชศาสตร์ สุขภาพจิต และศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในระดับก่อนและหลังปริญญา ตลอดจน พัฒนางานวิชาการด้านจิตเวชศาสตร์และประสาทจิตเวชศาสตร์ ที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
ที่มา : สำนักงานเขตคลองสาน. (๒๕๕๔).พิพิธภัณฑ์โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา . ใน สมโภช ๑๐๐ ปี เขตคลองสาน. (น. ๙๖- ๙๙). ม.ป.พ.
โดยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๒ โดยมีชื่อเดิมว่า โรงพยาบาลคนเสียจริต สถานที่ตั้งแห่งแรกอยู่บริเวณ ปากคลองสาน ฝั่งธนบุรี เป็นอาคารแบบ จีนขนาดใหญ่ในเนื้อที่ประมาณ ๔-๕ ไร่ ซึ่งเดิมเป็นบ้านของพระยาภักดีภัทรากร (เจ้าสัวเกงซัว) ดีตเจ้าภาษีสินค้าต่าง ๆ หลายรายการ ซึ่งยกให้ หลวงเป็นการชำระค่าภาษีที่ติดค้างอยู่ ในระยะแรกโรงพยาบาลคนเสียจริตได้รักษาผู้ป่วยโดยแพทย์ประจำและแพทย์แผนไทย เมื่อจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นประกอบกับสถานที่คับแคบ นายแพทย์ไฮเอ็ด ผู้อำนวยการคนแรกของโรงพยาบาล ต่อมาพยาบาล ได้เสนอให้รัฐบาลซื้อที่ดินและบ้านของเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) หรือ เจ้าคุณทหาร ที่ดินของนายเปีย ราชานุประพันธ์ และที่ดินใกล้เคียงของราษฎรอื่น ๆ รวมเนื้อที่ ๔๔ ไร่ครึ่ง เพื่อ สร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถาบัน ฯ ในปัจจุบัน คืออยู่ที่ริมคลองสานด้านตะวันตกตอนใต้ ห่างจากสถานที่เดิมประมาณ ๖๐๐ เมตร เมื่อแรกก่อตั้งนั้นในประเทศไทยยังไม่มีผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการรักษาทางด้านจิตเวชอย่าง เป็นทางการ จึงได้จ้างนายแพทย์ชาวตะวันตกหลายท่านเพื่อเข้ามาเป็นแพทย์ใหญ่ และทำการรักษาที่โรงพยาบาลแห่งนี้ อาทิ เช่น นายแพทย์ไฮเอ็ด หมอคาร์ทิว นายแพทย์เมนเดลสันภายหลังมีแพทย์แผนปัจจุบันคนไทยจบ การศึกษามารับราชการแทนชาวต่างประเทศ ศาสตราจารย์หลวงวิเชียรแพทยาคม (เถียร ตูวิเชียร) ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาล คนแรกที่เป็นคนไทย ท่านได้ไปศึกษาวิชาโรคจิตเพิ่มเติมจากประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นเวลา ๒ ปี จน กระทั่งปลายปี พ.ศ. ๒๔๗๔ ท่านก็ได้เดินทางกลับมา เพื่อพัฒนางานด้านต่าง ๆ และเปลี่ยนชื่อโรงพยาบาล คนเสียจริตมาเป็นโรงพยาบาลโรคจิตต์ธนบุรี ถือเป็นก้าวสำคัญในการรักษาผู้ป่วยจิตเวชในสังคมไทย ศาสตราจารย์นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว ผู้อำนวยการในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๘๕-๒๕๐๒ ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งจิตเวชศาสตร์ไทย ท่านได้พัฒนาโรงพยาบาลโดยรื้อลูกกรงเหล็กแล้วเปลี่ยนเป็นมุ้งลวดแทน เปลี่ยนชื่อเรือนที่พักของผู้ป่วยเป็นชื่อดอกไม้เพื่อให้มีความหมายน่าชื่นใจ ในด้านการดูแลผู้ป่วยใช้หลักของความรักความเอาใจใส่ประดุจพ่อแม่ดูแลลูก ในด้านวิชาการท่าน เป็นผู้วางรากฐานวิชาจิตเวชศาสตร์และสุขภาพจิตในการศึกษาก่อนและหลังปริญญา นอกจากนั้นท่านได้ เปลี่ยนชื่อโรงพยาบาลมาเป็น "โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา" ต่อมา ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สถาบันจิตเวชศาสตร์ สมเด็จเจ้าพระยา " โดยมีภารกิจหลักในการบำบัดรักษาผู้ป่วยจิตเวช ประสาทจิตเวขศาสตร์ และเป็นสถาบัน ฝึกอบรมทางด้านจิตเวชศาสตร์ สุขภาพจิต และศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในระดับก่อนและหลังปริญญา ตลอดจน พัฒนางานวิชาการด้านจิตเวชศาสตร์และประสาทจิตเวชศาสตร์ ที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
ที่มา : สำนักงานเขตคลองสาน. (๒๕๕๔).พิพิธภัณฑ์โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา . ใน สมโภช ๑๐๐ ปี เขตคลองสาน. (น. ๙๖- ๙๙). ม.ป.พ.
รูปแบบ
application/pdf
ภาษา
tha
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
หัวเรื่อง
พิพิธภัณฑ์โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา
โรงพยาบาลจิตเวช
สิ่งก่อสร้างและสถานที่
คอลเลกชั่น
พิพิธภัณฑ์โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed November 23, 2024, http://202.29.54.157/s/library/item/2618