ซุ้มประตูไทยซิกข์ เฉลิมพระเกียรติ
Item
ชื่อเรื่อง
ซุ้มประตูไทยซิกข์ เฉลิมพระเกียรติ
วันที่
2566-02-13
รายละเอียด
ซุ้มประตูไทยซิกข์ เฉลิมพระเกียรติ จัดสร้างขึ้นโดยความร่วมมือร่วมใจของคนไทยที่นับถือ
ศาสนาซิกข์ในย่านคลองสาน ตั้งอยู่บริเวณกลางสวนหย่อมที่ถนนท่าดินแดงมาบรรจบกับถนนลาดหญ้า
(สามเหลี่ยมลาดหญ้า) เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณขององค์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่มีต่อพสกนิกรทุกหมู่เหล่าและยังเผื่อแผ่ไปถึงบรรดาชาวไทยซิกข์ ที่เดินทาง
เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารและอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขด้วยพระบารมีเสมอมา ซุ้มประตูแห่งนี้เริ่มจัดสร้างตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ในวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙ และเป็นการเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา ในวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยได้ รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธาน ในพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ตัวซุ้มประตูเป็นสถาปัตยกรรมผสมผสานระหว่างไทยกับซิกข์ ออกแบบโดย นายสุทธิพงศ์ โอฬารสฤษดิ์กุล สถาปนิกชาวไทย โดยใช้วัสดุหลักที่ตัวซุ้มประตูเป็นหินอ่อน สีขาวบริสุทธิ์ส่วนยอดโดมประดับด้วยทองคำเปลวอย่างงดงาม หินอ่อนสีขาวบริสุทธ์นั้นมีความหมายถึงความจงรักภักดีอันบริสุทธิ์ ที่พสกนิกรชาวไทยซิกข์มีต่อองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ส่วนสีทองด้านบนยอดโดมนั้น มีความหมายถึงพระบารมีแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่แผ่ปกคลุมให้ความร่มเย็นเป็นสุข แก่พสกนิกรทุกหมู่เหล่าเสมอมา
นอกจากนี้ตัวซุ้มประตูยังออกแบบให้ความกว้างยาวในส่วนต่าง ๆ สอดรับกับตัวเลขที่มีความหมาย
ต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อาทิเช่น ความสูงจากพื้นถึงยอดสุดของโดม ๙.๙ เมตร มีความหมาย
ถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรี ระยะห่างระหว่างเสาของซุ้มประตู ๖ เมตร มีความหมายถึงการเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ความลึกของฐานโดม ๘ มตร มีความหมายถึงกรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญ พระชนมายุ ๘๐ พรรษา
ที่มา : สำนักงานเขตคลองสาน. (๒๕๕๔).ซุ้มประตูไทยซิกข์ เฉลิมพระเกียรติ. ใน สมโภช ๑๐๐ ปี เขตคลองสาน. (น. ๑๐๘- ๑๐๙). ม.ป.พ.
ศาสนาซิกข์ในย่านคลองสาน ตั้งอยู่บริเวณกลางสวนหย่อมที่ถนนท่าดินแดงมาบรรจบกับถนนลาดหญ้า
(สามเหลี่ยมลาดหญ้า) เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณขององค์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่มีต่อพสกนิกรทุกหมู่เหล่าและยังเผื่อแผ่ไปถึงบรรดาชาวไทยซิกข์ ที่เดินทาง
เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารและอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขด้วยพระบารมีเสมอมา ซุ้มประตูแห่งนี้เริ่มจัดสร้างตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ในวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙ และเป็นการเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา ในวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยได้ รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธาน ในพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ตัวซุ้มประตูเป็นสถาปัตยกรรมผสมผสานระหว่างไทยกับซิกข์ ออกแบบโดย นายสุทธิพงศ์ โอฬารสฤษดิ์กุล สถาปนิกชาวไทย โดยใช้วัสดุหลักที่ตัวซุ้มประตูเป็นหินอ่อน สีขาวบริสุทธิ์ส่วนยอดโดมประดับด้วยทองคำเปลวอย่างงดงาม หินอ่อนสีขาวบริสุทธ์นั้นมีความหมายถึงความจงรักภักดีอันบริสุทธิ์ ที่พสกนิกรชาวไทยซิกข์มีต่อองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ส่วนสีทองด้านบนยอดโดมนั้น มีความหมายถึงพระบารมีแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่แผ่ปกคลุมให้ความร่มเย็นเป็นสุข แก่พสกนิกรทุกหมู่เหล่าเสมอมา
นอกจากนี้ตัวซุ้มประตูยังออกแบบให้ความกว้างยาวในส่วนต่าง ๆ สอดรับกับตัวเลขที่มีความหมาย
ต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อาทิเช่น ความสูงจากพื้นถึงยอดสุดของโดม ๙.๙ เมตร มีความหมาย
ถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรี ระยะห่างระหว่างเสาของซุ้มประตู ๖ เมตร มีความหมายถึงการเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ความลึกของฐานโดม ๘ มตร มีความหมายถึงกรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญ พระชนมายุ ๘๐ พรรษา
ที่มา : สำนักงานเขตคลองสาน. (๒๕๕๔).ซุ้มประตูไทยซิกข์ เฉลิมพระเกียรติ. ใน สมโภช ๑๐๐ ปี เขตคลองสาน. (น. ๑๐๘- ๑๐๙). ม.ป.พ.
รูปแบบ
application/pdf
ภาษา
tha
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
หัวเรื่อง
ซุ้มประตูไทยซิกข์ เฉลิมพระเกียรติ
สิ่งก่อสร้างและสถานที่
คอลเลกชั่น
ซุ้มประตูไทยซิกข์ เฉลิมพระเกียรติ. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed November 23, 2024, http://202.29.54.157/s/library/item/2626