สมเด็จเจ้าพระยาฯกับการพัฒนาท้องถิ่น
Item
ชื่อเรื่อง
สมเด็จเจ้าพระยาฯกับการพัฒนาท้องถิ่น
ลิขสิทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ประเภท
บทความ
ผู้แต่ง
ปิยนาถ บุนนาค
วันที่
2566-04-04
รายละเอียด
การขุดคลองภาษีเจริญ
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาบ้านเมืองสยามตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓ ถึงต้นรัชกาลที่ ๕ รวมถึงการพัฒนาท้องถิ่นซึ่งในบทความนี้จะนำเสนอ
เฉพาะในช่วงรัชกาลที่ ๔ สมเด็จเจ้าพระยาฯ ขณะเป็นเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นที่ปรึกษาสำคัญในการขุดคลองภาษีเจริญซึ่งเป็นคลองแรก ที่ทางการจะให้เป็นทางค้าขายในสมัยรัชกาลที่ ๔ โดยมีการพิจารณาว่าจะขุดคลองกว้าง ๖ วาหรือ ๘ วาดี สมเด็จเจ้าพระยาๆ เห็นว่า "ที่จะขุดคลองให้กว้างนั้น ไม่สามารถที่จะทำให้ประโยชน์ยืนยาวได้อย่างเช่น คลองมหาไขย แรกลงมือขุด
๘ วา สายน้ำ ดินไม่พอก็ชักตื้น ถ้าขุดแต่คลองแคบ ๆ ให้ต้องสายน้ำก็จะกัดกว้างออกไปเอง" ด้วยเหตุนี้คลองภาษีเจริญจึงถูกขุดเป็นคลองขนาด ๔ วา ปรากฎว่าเรือเดินไปมามีประโยชน์มาก สมเด็จเจ้าพระยาฯ จึงได้คิดขุดคลองตั้งแต่แม่น้ำเมืองนครไชยศรี (แม่น้ำท่าจีน) มาออกแม่น้ำเมืองราชบุรี (แม่น้ำแม่กลอง) โดยขุดขนาด ๖ วา เงินส่วนพระมหากษัตริย์ ๔๐๐ ชั่ง และเป็นส่วนของสมเด็จเจ้าพระยาฯ อีก ๑,๐๐๐ ชั่ง" เปิดใช้ใน พ.ศ. ๒๔๑๑ ได้รับพระราชทานชื่อว่า คลองดำเนินสะดวก ปรากฎว่าคลองดำเนินสะดวกนี้สายน้ำท่าจีนไหลขึ้นลงทะเลแรงกัดปากคลองข้าง
ตะวันออกกว้างได้เร็ว จึงเป็นจริงดังความเห็นของสมเด็จเจ้าพระยาฯ ที่ว่า ขุดเล็กก็ใหญ่ออกไป รัชกาลที่ ๕ ทรงกล่าวว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ "ท่านยกขึ้นพูดอยู่เสมอ" เรื่องนี้เป็นตัวอย่างย้ำให้เห็นความเป็น "พ่อค้า" ของสมเด็จเจ้าพระยาฯ คือก่อนจะลงทุนทำอะไรต้องคิดอย่างรอบคอบเสียก่อนว่า จะได้ผลประโยชน์หรือกำไรคุ้มค่า กับการลงทุนหรือไม่ เมื่อพิจารณาไตร่ตรองดีแล้วจึงจะลงทุนทำสิ่งนั้น สำหรับข้อเสนอแนะของท่านเกี่ยวกับการขุดคลองให้แคบแต่ในที่สุดจะกว้างเองนั้นเป็นการประหยัดการลงทุนและเวลา แต่ได้ผลประโยชน์มาก...
ที่มา : ปิยนาถ บุนนาค. (๒๕๖๓). สมเด็จเจ้าพระยาฯกับการพัฒนาท้องถิ่น.ใน ศรีสมเด็จ ๖๓ (๘๕-๘๐). สมาคมศิษย์เก่าบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในพระบรมชูปถัมภ์.
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาบ้านเมืองสยามตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓ ถึงต้นรัชกาลที่ ๕ รวมถึงการพัฒนาท้องถิ่นซึ่งในบทความนี้จะนำเสนอ
เฉพาะในช่วงรัชกาลที่ ๔ สมเด็จเจ้าพระยาฯ ขณะเป็นเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นที่ปรึกษาสำคัญในการขุดคลองภาษีเจริญซึ่งเป็นคลองแรก ที่ทางการจะให้เป็นทางค้าขายในสมัยรัชกาลที่ ๔ โดยมีการพิจารณาว่าจะขุดคลองกว้าง ๖ วาหรือ ๘ วาดี สมเด็จเจ้าพระยาๆ เห็นว่า "ที่จะขุดคลองให้กว้างนั้น ไม่สามารถที่จะทำให้ประโยชน์ยืนยาวได้อย่างเช่น คลองมหาไขย แรกลงมือขุด
๘ วา สายน้ำ ดินไม่พอก็ชักตื้น ถ้าขุดแต่คลองแคบ ๆ ให้ต้องสายน้ำก็จะกัดกว้างออกไปเอง" ด้วยเหตุนี้คลองภาษีเจริญจึงถูกขุดเป็นคลองขนาด ๔ วา ปรากฎว่าเรือเดินไปมามีประโยชน์มาก สมเด็จเจ้าพระยาฯ จึงได้คิดขุดคลองตั้งแต่แม่น้ำเมืองนครไชยศรี (แม่น้ำท่าจีน) มาออกแม่น้ำเมืองราชบุรี (แม่น้ำแม่กลอง) โดยขุดขนาด ๖ วา เงินส่วนพระมหากษัตริย์ ๔๐๐ ชั่ง และเป็นส่วนของสมเด็จเจ้าพระยาฯ อีก ๑,๐๐๐ ชั่ง" เปิดใช้ใน พ.ศ. ๒๔๑๑ ได้รับพระราชทานชื่อว่า คลองดำเนินสะดวก ปรากฎว่าคลองดำเนินสะดวกนี้สายน้ำท่าจีนไหลขึ้นลงทะเลแรงกัดปากคลองข้าง
ตะวันออกกว้างได้เร็ว จึงเป็นจริงดังความเห็นของสมเด็จเจ้าพระยาฯ ที่ว่า ขุดเล็กก็ใหญ่ออกไป รัชกาลที่ ๕ ทรงกล่าวว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ "ท่านยกขึ้นพูดอยู่เสมอ" เรื่องนี้เป็นตัวอย่างย้ำให้เห็นความเป็น "พ่อค้า" ของสมเด็จเจ้าพระยาฯ คือก่อนจะลงทุนทำอะไรต้องคิดอย่างรอบคอบเสียก่อนว่า จะได้ผลประโยชน์หรือกำไรคุ้มค่า กับการลงทุนหรือไม่ เมื่อพิจารณาไตร่ตรองดีแล้วจึงจะลงทุนทำสิ่งนั้น สำหรับข้อเสนอแนะของท่านเกี่ยวกับการขุดคลองให้แคบแต่ในที่สุดจะกว้างเองนั้นเป็นการประหยัดการลงทุนและเวลา แต่ได้ผลประโยชน์มาก...
ที่มา : ปิยนาถ บุนนาค. (๒๕๖๓). สมเด็จเจ้าพระยาฯกับการพัฒนาท้องถิ่น.ใน ศรีสมเด็จ ๖๓ (๘๕-๘๐). สมาคมศิษย์เก่าบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในพระบรมชูปถัมภ์.
รูปแบบ
application/pdf
แหล่งที่มา
อ 378.593 ม246ศ 2563
ภาษา
tha
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
หัวเรื่อง
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
คลองภาษีเจริญ
คลองดำเนินสะดวก
พระนครคีรี
พระนารายณ์ราชนิเวศน์
บุคคลสำคัญ
คอลเลกชั่น
ปิยนาถ บุนนาค .สมเด็จเจ้าพระยาฯกับการพัฒนาท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed November 23, 2024, http://202.29.54.157/s/library/item/2650