ตำหนักทอง วัดไทร บนเส้นทางประวัติศาสตร์
Item
ชื่อเรื่อง
ตำหนักทอง วัดไทร บนเส้นทางประวัติศาสตร์
ประเภท
บทความ
ผู้แต่ง
สุจิตต์ วงษ์เทศ
วันที่
2566-06-26
รายละเอียด
ถนนพระราม 2 จากกรุงเทพฯ ไปเชื่อมถนนเพชรเกษม (จ. ราชบุรี) เข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ได้แก่ ชะอำ (จ.เพชรบุรี) และหัวหิน, ปราณบุรี, สามร้อยยอด (จ. ประจวบคีรีขันธ์) ช่วงพระราม 2 เชื่อมเพชรเกษม เลียบเส้นทางสายประวัติศาสตร์ของไทยไปตามแม่น้ำลำคลอง แต่สังคมไทยไม่ทรงจำความจริงเหล่านั้น จึงไม่เชื่อมโยงกันระหว่างของเก่าคือแม่น้ำลำคลอง กับของใหม่ คือถนนแม่น้ำลำคลองเส้นทางประวัติศาสตร์เชื่อมระหว่างลุ่มน้ำเจ้าพระยา ภาคกลาง กับดินแดนคาบสมุทรสุดแหลมมลายู ได้แก่
1. เริ่มจากแม่น้ำเจาพระยา ที่กรุงเทพฯ เข้าคลองด่าน แยกจากคลองบางกอกใหญ่ หรือคลองบางหลวงที่ตลาดพลู ลงไปทางทิศใต้ ผ่านคลองสนามชัย มีตำหนักทอง วัดไทร บางขุนเทียน จอมทอง กทม. ผ่านคลองมหาชัย มีศาลพันท้ายนรสิงห์ อ. เมืองฯ จ. สมุทรสาคร ทะลุแม่น้ำท่าจีน
2. ต่อจากแม่น้ำท่าจีน เข้าคลองสุนัขหอน ลอดสะพานถนนพระราม 2 เข้าเขตนาเกลือ จ. สมุทรสงคราม ผ่านคลองแม่กลอง ทะลุแม่น้ำแม่กลอง (ฝั่งเหนือวัดใหญ่ อยู่ทางใต้วัดหลวงพ่อบ้านแหลม อ.เมืองฯ จ. สมุทรสงคราม)
3. ต่อจากแม่น้ำแม่กลอง เข้าคลองบางเรือหัก ไปบ้านยี่สาร แล้วเชื่อมต่อไปบางตะบูน, บ้านแหลม เข้าแม่น้ำเพชรบุรี เส้นทางคลองบางเรือหักไปเมืองเพชร ได้ความรู้จากกิเลน ประลองเชิง (แห่งไทยรัฐ) ทำให้ผมตาสว่างมองเห็นหนทางเชื่อมโยงทะลุปรุโปร่ง หลังจากมะงุมมะงาหรานานหลายปีที่เที่ยวไปมาหาเส้นคมนาคมย่านนี้ซึ่งซับซ้อนมาก เปลี่ยนแปลงมาก ยากที่คนต่างถิ่นอย่างผมจะเข้าใจ จึงขอขอบพระคุณอีกหลายครั้ง เมืองเพชรบุรี อยู่ริมทะเลอ่าวไทย สมัยโบราณคุมช่องสิงขร (จ. ประจวบคีรีขันธ์) ไปเมืองมะริด ทะเลอันดามัน ทั้งฟากทะเลอ่าวไทยและฟากทะเลอันดามัน แล่นเรือเลียบชายฝั่งถึงปลายแหลมมลายู เส้นทางคมนาคมสายประวัติศาสตร์ผ่านแม่น้ำลำคลองที่บอกมานี้ มีร่องรอยหลักฐานเชื่อได้ว่าใช้งานแล้วตั้งแต่เรือน พ.ศ. 1000 (ที่มักเรียกสมัยทวารวดี) สืบเนื่องถึงสมัยสุพรรณภูมิกับละโว้-อโยธยาศรีรามเทพ
ที่มา : สุจิตต์ วงษ์เทศ. (12 กรกฎาคม 2561). ตำหนักทอง วัดไทร บนเส้นทางประวัติศาสตร์.
https://www.matichon.co.th/prachachuen/news_1040170.
1. เริ่มจากแม่น้ำเจาพระยา ที่กรุงเทพฯ เข้าคลองด่าน แยกจากคลองบางกอกใหญ่ หรือคลองบางหลวงที่ตลาดพลู ลงไปทางทิศใต้ ผ่านคลองสนามชัย มีตำหนักทอง วัดไทร บางขุนเทียน จอมทอง กทม. ผ่านคลองมหาชัย มีศาลพันท้ายนรสิงห์ อ. เมืองฯ จ. สมุทรสาคร ทะลุแม่น้ำท่าจีน
2. ต่อจากแม่น้ำท่าจีน เข้าคลองสุนัขหอน ลอดสะพานถนนพระราม 2 เข้าเขตนาเกลือ จ. สมุทรสงคราม ผ่านคลองแม่กลอง ทะลุแม่น้ำแม่กลอง (ฝั่งเหนือวัดใหญ่ อยู่ทางใต้วัดหลวงพ่อบ้านแหลม อ.เมืองฯ จ. สมุทรสงคราม)
3. ต่อจากแม่น้ำแม่กลอง เข้าคลองบางเรือหัก ไปบ้านยี่สาร แล้วเชื่อมต่อไปบางตะบูน, บ้านแหลม เข้าแม่น้ำเพชรบุรี เส้นทางคลองบางเรือหักไปเมืองเพชร ได้ความรู้จากกิเลน ประลองเชิง (แห่งไทยรัฐ) ทำให้ผมตาสว่างมองเห็นหนทางเชื่อมโยงทะลุปรุโปร่ง หลังจากมะงุมมะงาหรานานหลายปีที่เที่ยวไปมาหาเส้นคมนาคมย่านนี้ซึ่งซับซ้อนมาก เปลี่ยนแปลงมาก ยากที่คนต่างถิ่นอย่างผมจะเข้าใจ จึงขอขอบพระคุณอีกหลายครั้ง เมืองเพชรบุรี อยู่ริมทะเลอ่าวไทย สมัยโบราณคุมช่องสิงขร (จ. ประจวบคีรีขันธ์) ไปเมืองมะริด ทะเลอันดามัน ทั้งฟากทะเลอ่าวไทยและฟากทะเลอันดามัน แล่นเรือเลียบชายฝั่งถึงปลายแหลมมลายู เส้นทางคมนาคมสายประวัติศาสตร์ผ่านแม่น้ำลำคลองที่บอกมานี้ มีร่องรอยหลักฐานเชื่อได้ว่าใช้งานแล้วตั้งแต่เรือน พ.ศ. 1000 (ที่มักเรียกสมัยทวารวดี) สืบเนื่องถึงสมัยสุพรรณภูมิกับละโว้-อโยธยาศรีรามเทพ
ที่มา : สุจิตต์ วงษ์เทศ. (12 กรกฎาคม 2561). ตำหนักทอง วัดไทร บนเส้นทางประวัติศาสตร์.
https://www.matichon.co.th/prachachuen/news_1040170.
รูปแบบ
application/pdf
ภาษา
tha
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
หัวเรื่อง
ตำหนักทอง
วัดไทร
พระเจ้าเสือ
แหล่งท่องเที่ยว
คอลเลกชั่น
สุจิตต์ วงษ์เทศ .ตำหนักทอง วัดไทร บนเส้นทางประวัติศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed November 23, 2024, http://202.29.54.157/s/library/item/2678