วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร
Item
ชื่อเรื่อง
วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร
ผู้แต่ง
สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร
วันที่
2567-01-02
รายละเอียด
วัดหงส์รัตนารามตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของพระราชวังเดิม (กองบัญชาการกองทัพเรือในปัจจุบัน) เป็นวัดโบราณสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยา เดิมชาวบ้านเรียกวัดนี้ว่า วัดเจ๊สัวหงบ้าง วัดเจ้าสัวหงบ้าง หรือวัดเจ้าขรัวหงบ้าง โดยเรียกตามขื่อผู้สร้างคือ คหบดีชาวจีนชื่อ นายหง ดังปรากฏหลักฐานใน จดหมายเหตุรัชกาลที่ ๔ บันทึกไว้ว่า '...วัดหงส์รัตนารามนี้ วัดเดิมเป็นของโบราณมีมานานสำหรับเมืองธนบุรี คำคนแก่ เก่า ๆ เป็นอันมากเรียกว่า วัดเจ้าขรัวหง แลว่ากันว่าจีนเจ๊สัว มั่งมี บ้านอยู่กะดีจีน สร้างขึ้นไว้แต่ครั้งโน้น...
สมัยธนบุรี วัดหงส์รัตนารามนับเป็นวัดที่สำคัญแห่งหนึ่ง ด้วยตั้งอยู่ใกล้กับพระราชวัง (พระราชวังเดิม) อันเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จึงเป็นวัดที่อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์
พ.ศ. ๒๓๑๔ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดครั้งใหญ่ ด้วยการขยายพื้นที่วัดออกไปให้กว้างขว้าง ก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ขึ้นแทนที่หลังเดิม สร้างศาลาโรงธรรมขนาดเท่าอุโบสถและหันหน้าเข้าหาอุโบสถ รวมทั้งยังมีการสร้างกุฏิเสนาสนะต่างๆ จากนั้น พระราชทานชื่อ วัดแห่งนี้ว่า วัดหงส์อาวาสวิหาร สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงผูกพันกับพระอาราม แห่งนี้เป็นอันมาก ดังเห็นได้จากการที่โปรดเกล้าฯ ให้อาราธนาพระอาจารย์ชื่นจากเมืองแกลง (ปัจจุบัน เป็นอำเภอหนึ่ง ในจังหวัดระยอง) ผู้เคยให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลพระองค์ ตามสมควรแก่สมณวิสัยมาแต่ครั้งยังทรงดำรงตำแหน่ง พระยาวชิรปราการ มาครองวัด ภายหลังพระอาจารย์ชื่นได้รับ การสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช (ชื่น) พระอารามแห่งนี้จึงเป็นที่จำพรรษาของพระภิกษุสงฆ์ ผู้ทรงสมณศักดิ์ เป็นแหล่งการศึกษาใหญ่ และเป็นวัดที่เกี่ยวข้องกับพระบรมวงศานุวงศ์ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งมักจะเสด็จมาทรงบำเพ็ญพระกุศลและศึกษา หาความรู้อยู่เนืองนิตย์ เช่น เป็นสถานที่บำเพ็ญพระกุศลของ สมเด็จพระอัครมเหสี กรมหลวงบาทบริจา (สอน) หรือเจ้าหอกลางในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และกรมหลวงเทวินทรสุดา (อั๋น) พระน้านางเธอในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทั้งยังเป็นสถานที่ทรงผนวชของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ (เจ้าฟ้าจุ้ย) พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตลอดจนเป็นสถานที่ที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมักจะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงนั่งวิปัสสนากรรมฐานภายในพระอุโบสถเมื่อทรงว่างเว้นจากพระราชภารกิจอยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้ จึงมีผู้สันนิษฐานว่า ในสมัยธนบุรี วัดหงส์เป็นพระอารามสำคัญเปรียบได้กับวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธาราม) และวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ (วัดสลักหรือวัดนิพพานาราม) ในสมัยรัตนโกสินทร์ ด้วยเป็นพระอารามที่มีพระภิกษุสงฆ์จำพรรษาที่อยู่ใกล้กับพระบรมมหาราชวัง เป็นที่สถิตของสมเด็จพระสังฆราช และเป็นสำนักพระปริยัติธรรม ที่มีชื่อเสียง กล่าวกันว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงอุปถัมภ์พระอารามแห่งนี้ตลอดรัชสมัยของพระองค์ ชาวบ้านละแวกวัดจึงร่วมกันตั้งศาลสมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราชไว้ริมคลองดูวัด รู้จักกันในนามศาลเจ้าพ่อตากวัดหงส์ ซึ่งยังคงเป็นที่เคารพสักการะตราบจนทุกวันนี้
ที่มา : วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร. (๒๕๕๕). ในบางกอก บอกเล่า (เรื่อง) วัด. (หน้า ๖๓-๖๕). สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร.
สมัยธนบุรี วัดหงส์รัตนารามนับเป็นวัดที่สำคัญแห่งหนึ่ง ด้วยตั้งอยู่ใกล้กับพระราชวัง (พระราชวังเดิม) อันเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จึงเป็นวัดที่อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์
พ.ศ. ๒๓๑๔ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดครั้งใหญ่ ด้วยการขยายพื้นที่วัดออกไปให้กว้างขว้าง ก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ขึ้นแทนที่หลังเดิม สร้างศาลาโรงธรรมขนาดเท่าอุโบสถและหันหน้าเข้าหาอุโบสถ รวมทั้งยังมีการสร้างกุฏิเสนาสนะต่างๆ จากนั้น พระราชทานชื่อ วัดแห่งนี้ว่า วัดหงส์อาวาสวิหาร สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงผูกพันกับพระอาราม แห่งนี้เป็นอันมาก ดังเห็นได้จากการที่โปรดเกล้าฯ ให้อาราธนาพระอาจารย์ชื่นจากเมืองแกลง (ปัจจุบัน เป็นอำเภอหนึ่ง ในจังหวัดระยอง) ผู้เคยให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลพระองค์ ตามสมควรแก่สมณวิสัยมาแต่ครั้งยังทรงดำรงตำแหน่ง พระยาวชิรปราการ มาครองวัด ภายหลังพระอาจารย์ชื่นได้รับ การสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช (ชื่น) พระอารามแห่งนี้จึงเป็นที่จำพรรษาของพระภิกษุสงฆ์ ผู้ทรงสมณศักดิ์ เป็นแหล่งการศึกษาใหญ่ และเป็นวัดที่เกี่ยวข้องกับพระบรมวงศานุวงศ์ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งมักจะเสด็จมาทรงบำเพ็ญพระกุศลและศึกษา หาความรู้อยู่เนืองนิตย์ เช่น เป็นสถานที่บำเพ็ญพระกุศลของ สมเด็จพระอัครมเหสี กรมหลวงบาทบริจา (สอน) หรือเจ้าหอกลางในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และกรมหลวงเทวินทรสุดา (อั๋น) พระน้านางเธอในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทั้งยังเป็นสถานที่ทรงผนวชของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ (เจ้าฟ้าจุ้ย) พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตลอดจนเป็นสถานที่ที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมักจะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงนั่งวิปัสสนากรรมฐานภายในพระอุโบสถเมื่อทรงว่างเว้นจากพระราชภารกิจอยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้ จึงมีผู้สันนิษฐานว่า ในสมัยธนบุรี วัดหงส์เป็นพระอารามสำคัญเปรียบได้กับวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธาราม) และวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ (วัดสลักหรือวัดนิพพานาราม) ในสมัยรัตนโกสินทร์ ด้วยเป็นพระอารามที่มีพระภิกษุสงฆ์จำพรรษาที่อยู่ใกล้กับพระบรมมหาราชวัง เป็นที่สถิตของสมเด็จพระสังฆราช และเป็นสำนักพระปริยัติธรรม ที่มีชื่อเสียง กล่าวกันว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงอุปถัมภ์พระอารามแห่งนี้ตลอดรัชสมัยของพระองค์ ชาวบ้านละแวกวัดจึงร่วมกันตั้งศาลสมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราชไว้ริมคลองดูวัด รู้จักกันในนามศาลเจ้าพ่อตากวัดหงส์ ซึ่งยังคงเป็นที่เคารพสักการะตราบจนทุกวันนี้
ที่มา : วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร. (๒๕๕๕). ในบางกอก บอกเล่า (เรื่อง) วัด. (หน้า ๖๓-๖๕). สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร.
รูปแบบ
application/pdf
ภาษา
tha
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
หัวเรื่อง
วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร
สถาปัตยกรรมพุทธศาสนา -- ไทย
สมเด็จพระเจ้าตากสิน
ศาสนาสถาน
คอลเลกชั่น
สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร .วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed November 23, 2024, http://202.29.54.157/s/library/item/2813