สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) กับการสนับสนุนการแปลวรรณกรรมจีน
Item
ชื่อเรื่อง
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) กับการสนับสนุนการแปลวรรณกรรมจีน
ลิขสิทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ประเภท
บทความ
ผู้แต่ง
ปิยนาถ บุนนาค
วันที่
2567-03-26
รายละเอียด
วรรณกรรมจีนโดยเฉพาะพงศาวดารจีนนั้นนับได้ว่าเป็นตำราเรียน
ประเภทหนึ่งของคนไทยมานานแล้ว โดยถือกันว่าหากใครได้อ่านพงศาวดารจีน
เข้าใจและทราบอรรถรสเป็นอย่างดี ย่อมทำให้ผู้นั้นเป็นคนเฉลียวฉลาดรอบรู้
จิตใจคน รู้จักการทำงาน มีคติธรรม ตลอดจนรู้กลยุทธ์ในการสงครามจนถือได้ว่า
พงศาวดารจีนเป็นตำราพิชัยสงครามด้วย ดังนั้นพงศาวดารจีนจึงมีคุณค่าอย่างยิ่ง
โดยที่เป็นเครื่องประดับสติปัญญาของนักการเมืองนักการปกครอง
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ตระหนักถึงคุณค่าดังกล่าวของพงศาวดารจีน
ดังนั้นเมื่อท่านมีกำลังอำนาจอยู่ในฐานะ "อธิบดี" ของบ้านเมืองซึ่งสามารถให้
การสนับสนุนงานทำนุบำรุงวรรณกรรมได้อย่างเต็มที่แล้ว ท่านจึงเชิญนักปราชญ์
ผู้มีภูมิรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านภาษาจีนและภาษาไทยเป็นอย่างดีให้มาร่วมประชุม
แปลพงศาวดารจีนเป็นภาษาไทยตั้งแต่ในรัชกาลที่ ๔ และสนับสนุนให้มีการพิมพ์
ออกเผยแพร่ให้คนทั่วไปได้อ่าน เพราะนอกจากเพื่อความบันเทิงสนุกสนานแล้วยัง
ก่อให้เกิดความแตกฉานทางปัญญาด้วย
ที่มา : ปิยนาถ บุนนาค. (๒๕๖๗). สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) กับการสนับสนุนการแปลวรรณกรรมจีน . ใน ศรีสมเด็จ ๖๗ ((๖๒-๖๘). สมาคมศิษย์เก่าบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในพระบรมชูปถัมภ์.
ประเภทหนึ่งของคนไทยมานานแล้ว โดยถือกันว่าหากใครได้อ่านพงศาวดารจีน
เข้าใจและทราบอรรถรสเป็นอย่างดี ย่อมทำให้ผู้นั้นเป็นคนเฉลียวฉลาดรอบรู้
จิตใจคน รู้จักการทำงาน มีคติธรรม ตลอดจนรู้กลยุทธ์ในการสงครามจนถือได้ว่า
พงศาวดารจีนเป็นตำราพิชัยสงครามด้วย ดังนั้นพงศาวดารจีนจึงมีคุณค่าอย่างยิ่ง
โดยที่เป็นเครื่องประดับสติปัญญาของนักการเมืองนักการปกครอง
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ตระหนักถึงคุณค่าดังกล่าวของพงศาวดารจีน
ดังนั้นเมื่อท่านมีกำลังอำนาจอยู่ในฐานะ "อธิบดี" ของบ้านเมืองซึ่งสามารถให้
การสนับสนุนงานทำนุบำรุงวรรณกรรมได้อย่างเต็มที่แล้ว ท่านจึงเชิญนักปราชญ์
ผู้มีภูมิรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านภาษาจีนและภาษาไทยเป็นอย่างดีให้มาร่วมประชุม
แปลพงศาวดารจีนเป็นภาษาไทยตั้งแต่ในรัชกาลที่ ๔ และสนับสนุนให้มีการพิมพ์
ออกเผยแพร่ให้คนทั่วไปได้อ่าน เพราะนอกจากเพื่อความบันเทิงสนุกสนานแล้วยัง
ก่อให้เกิดความแตกฉานทางปัญญาด้วย
ที่มา : ปิยนาถ บุนนาค. (๒๕๖๗). สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) กับการสนับสนุนการแปลวรรณกรรมจีน . ใน ศรีสมเด็จ ๖๗ ((๖๒-๖๘). สมาคมศิษย์เก่าบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในพระบรมชูปถัมภ์.
รูปแบบ
application/pdf
แหล่งที่มา
อ 378.593 ม246ศ 2567
ภาษา
tha
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
หัวเรื่อง
บรมมหาศรีสุริยวงศ์, สมเด็จเจ้าพระยา, 2351-2425
บุคคลสำคัญ
คอลเลกชั่น
ปิยนาถ บุนนาค .สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) กับการสนับสนุนการแปลวรรณกรรมจีน. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed November 23, 2024, http://202.29.54.157/s/library/item/2896