“บ้านสวนพลู” ชุมชนเชลยมลายูพลัดถิ่น สู่กำเนิด “ตลาดพลู”
Item
ชื่อเรื่อง
“บ้านสวนพลู” ชุมชนเชลยมลายูพลัดถิ่น สู่กำเนิด “ตลาดพลู”
ประเภท
บทความ
ผู้แต่ง
กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม
วันที่
07 ธ.ค.2566
รายละเอียด
ชุมชน “บ้านสวนพลู” มีรากฐานมาจากชุมชนของเชลยสงครามชาวมลายู ที่ลงหลักปักฐานทำสวน หมาก และ พลู ส่งตลาดค้าหมากพลูที่นิยมกันมากในหมู่ชาวสยาม ทั้งเป็นที่มาของชื่อ “ตลาดพลู” แหล่งของกินและร้านอร่อยของชาวฝั่งธนฯ ที่มาของชุมชนบ้านสวนพลู ต้องย้อนไปถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา ชาวมลายูซึ่งเป็นพลเมืองของรัฐสุลต่านในคาบสมุทรมลายูเผชิญการขยายอำนาจของรัฐสยามมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 22 แล้ว จึงมีการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของชาวมลายูสู่ที่ราบภาคกลาง บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา รวมถึงกลุ่มขุนนางและช่างฝีมือชาวมลายูบางส่วน ที่ไปตั้งถิ่นฐานแถบชานเมือง ไม่ไกลจากพระนครของกรุงศรีอยุธยา สืบเนื่องมาถึง กรุงธนบุรี และกรุงเทพฯ ปลายสมัยอยุธยา เชลยศึกชาวมลายูจำนวนมากถูกกวาดต้อนจากปาตานีและรัฐสุลต่านทางใต้มายังที่ราบทางใต้และตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะเมืองอยุธยา เพื่อเป็นแรงงานผลิตเสบียงเติมให้ยุ้งฉางหลวง กระทั่ง พ.ศ. 2310 ภายหลังเหตุการณ์เสียกรุงฯ ครั้งที่ 2 ครัวเรือนเชลยมลายูก็แตกกระสานซ่านเซ็น บางส่วนกลับถิ่นฐานทางใต้ ส่วนที่หลบหนีการจับกุมของทัพพม่าได้นั้น มีทั้งกลุ่มที่กลับมาอยู่บริเวณเดิมไม่ห่างจากกรุงเก่า และกลุ่มที่ตอบรับคำชวนของสมเด็จพระเจ้าตากสิน โยกย้ายไปยังพระนครแห่งใหม่ของรัฐสยาม คือ กรุงธนบุรี
ชาวมลายูเหล่านั้นได้รับคำมั่นสัญญาจากชนชั้นนำไทยว่า พวกเขาจะถูกปลดปล่อยจากสถานะเชลยสงคราม และอนุญาตให้เปิดพื้นที่ทำกินใหม่ ๆ ได้อย่างเสรี ครัวเรือนชาวมลายูบางส่วนจึงไปอาศัยอยู่ร่วมกับกลุ่มผู้อพยพชาวจามกับเปอร์เซีย ที่เป็นมุสลิมเหมือนกัน และผูกแพอยู่บริเวณคลองบางกอกใหญ่ ทั้งอยู่ภายใต้การคุ้มครองของกำแพงเมืองกรุงธนบุรี แต่เนื่องจากชาวมลายูมีสถานะอดีตเชลยศึก จึงถูกจัดให้อยู่หมู่บ้านที่ห่างออกไปทางเหนือของลำน้ำคลองบางกอกใหญ่ และไกลจากกำแพงเมืองไปอีกถึง 3 กิโลเมตร
ที่นั่น (อดีต) เชลยชาวมลายู ก่อตั้ง “บ้านสวนพลู” ทำสวนหมากและพลูส่งให้ตลาดหมากที่ได้รับความนิยมสูงลิ่วในสังคมสยาม อย่างไรก็ตาม การรับรู้เกี่ยวกับชุมชนบ้านสวนพลูอันห่างไกลมีไม่มากนัก กระทั่งชาวสวนและพ่อค้าชาวจีนเริ่มหลั่งไหลเข้าไปในพื้นที่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 25 แล้วยืมชื่อหมู่บ้านไปตั้งชื่อตลาดข้างลำคลองว่า “ตลาดพลู” และการเข้ามาของทางรถไฟที่รุกตัดผ่าหมู่บ้านกับมัสยิดของชาวมลายูพอดี ทางรถไฟได้เชื่อมศูนย์กลางของสยามสมัยรัชกาลที่ 5 กับจังหวัดชายทะเลตะวันตก หัวรถจักรเคลื่อนครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2447 โดยมีสถานีอยู่ที่ตลาดพลูด้วย
การ “เปิดพื้นที่” ดังกล่าว ทำให้ชุมชนบ้านสวนพลูดึงดูดพ่อค้าชาวอินเดียมุสลิมจากบ้านแขกและบ้านสมเด็จเข้ามาในพื้นที่ด้วย ย่านนี้จึงมีความหลากหลายมากขึ้นตามลำดับ แม้จะมีพัฒนาการของประชากร การรุกล้ำจากโครงสร้างพื้นฐานของเมือง พัฒนาการของธุรกิจการค้า และความหลากหลายทางชาติพันธุ์ แต่ “บ้านสวนพลู” ยังคงกลิ่นอายของวัฒนธรรมมลายูไว้อย่างเหนียวแน่น
ชาวมลายูเหล่านั้นได้รับคำมั่นสัญญาจากชนชั้นนำไทยว่า พวกเขาจะถูกปลดปล่อยจากสถานะเชลยสงคราม และอนุญาตให้เปิดพื้นที่ทำกินใหม่ ๆ ได้อย่างเสรี ครัวเรือนชาวมลายูบางส่วนจึงไปอาศัยอยู่ร่วมกับกลุ่มผู้อพยพชาวจามกับเปอร์เซีย ที่เป็นมุสลิมเหมือนกัน และผูกแพอยู่บริเวณคลองบางกอกใหญ่ ทั้งอยู่ภายใต้การคุ้มครองของกำแพงเมืองกรุงธนบุรี แต่เนื่องจากชาวมลายูมีสถานะอดีตเชลยศึก จึงถูกจัดให้อยู่หมู่บ้านที่ห่างออกไปทางเหนือของลำน้ำคลองบางกอกใหญ่ และไกลจากกำแพงเมืองไปอีกถึง 3 กิโลเมตร
ที่นั่น (อดีต) เชลยชาวมลายู ก่อตั้ง “บ้านสวนพลู” ทำสวนหมากและพลูส่งให้ตลาดหมากที่ได้รับความนิยมสูงลิ่วในสังคมสยาม อย่างไรก็ตาม การรับรู้เกี่ยวกับชุมชนบ้านสวนพลูอันห่างไกลมีไม่มากนัก กระทั่งชาวสวนและพ่อค้าชาวจีนเริ่มหลั่งไหลเข้าไปในพื้นที่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 25 แล้วยืมชื่อหมู่บ้านไปตั้งชื่อตลาดข้างลำคลองว่า “ตลาดพลู” และการเข้ามาของทางรถไฟที่รุกตัดผ่าหมู่บ้านกับมัสยิดของชาวมลายูพอดี ทางรถไฟได้เชื่อมศูนย์กลางของสยามสมัยรัชกาลที่ 5 กับจังหวัดชายทะเลตะวันตก หัวรถจักรเคลื่อนครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2447 โดยมีสถานีอยู่ที่ตลาดพลูด้วย
การ “เปิดพื้นที่” ดังกล่าว ทำให้ชุมชนบ้านสวนพลูดึงดูดพ่อค้าชาวอินเดียมุสลิมจากบ้านแขกและบ้านสมเด็จเข้ามาในพื้นที่ด้วย ย่านนี้จึงมีความหลากหลายมากขึ้นตามลำดับ แม้จะมีพัฒนาการของประชากร การรุกล้ำจากโครงสร้างพื้นฐานของเมือง พัฒนาการของธุรกิจการค้า และความหลากหลายทางชาติพันธุ์ แต่ “บ้านสวนพลู” ยังคงกลิ่นอายของวัฒนธรรมมลายูไว้อย่างเหนียวแน่น
ภาษา
tha
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
หัวเรื่อง
บ้านสวนพลู
ตลาดพลู
ชาวมลายู
วัฒนธรรมมลายู
ประวัติท้องถิ่น
อินเดียมุสลิม
บ้านแขก
บ้านสมเด็จ
คอลเลกชั่น
กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม . (2566). “บ้านสวนพลู” ชุมชนเชลยมลายูพลัดถิ่น สู่กำเนิด “ตลาดพลู”. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed February 11, 2025, http://202.29.54.157/s/library/item/3234